Blog

เรียนรู้อาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ OCD ที่มีมากกว่านิสัยที่เราคิดว่าเป็นเรื่องตลก

OCD ไม่ใช่เพียงแค่นิสัยย้ำคิดย้ำทำ แต่เป็นโรคทางสุขภาพจิตที่ไม่ใช่เรื่องตลก

เช่นเดียวกับปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ ภาพจำของโรคย้ำคิดย้ำทำที่คนทั่วไปมอง มักจะลดทอนความร้ายแรงของโรค ให้กลายเป็นนิสัยเพี้ยนๆ หรือแปลกประหลาดที่ดูน่าขัน ทั้งที่ความจริงแล้วโรคย้ำคิดย้ำทำร้ายแรงกว่านั้น และหากปล่อยไว้โดยไม่รักษา ก็สามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ได้อย่างมากมาย คุณอาจเคยได้ยินมาบ้างเกี่ยวกับ โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder หรือ OCD) แต่คุณรู้จักกันจริงๆ หรือเปล่าว่า โรคนี้เป็นอย่างไร ซึ่งหากเราเชื่อภาพของโรคย้ำคิดย้ำที่ได้เห็นผ่านสื่อต่างๆ เราอาจคิดว่ามันเป็นเพียงนิสัยประหลาดๆ หรือเป็นความเพี้ยนที่ดูน่าขำ ไม่ว่าจะเป็นความพยายามในการทำให้ทุกอย่างรอบตัวดู “เป๊ะ” ที่สุดอยู่เสมอ ความรักสะอาดอย่างหนัก ต้องเช็ดทำความสะอาดทุกจุดอยู่ซ้ำๆ หรือชอบล้างมือบ่อยๆ แต่ในขณะที่โรคย้ำคิดย้ำทำดูเหมือนจะเป็นเพียงนิสัยประหลาดๆ ที่ดูน่าขำในสายตาของสังคมทั่วไป ความเป็นจริงและผลกระทบของโรคนี้กลับเป็นสิ่งที่น้อยคนนักจะเข้าใจ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (Personality disorders) เป็นโรคที่ทำให้เกิดผลกระทบในแง่ลบที่รุนแรงต่อชีวิตประจำวัน สัมพันธภาพกับผู้อื่น และความปรารถนาที่จะทำสิ่งต่างๆ ของคนเรา โรคย้ำคิดย้ำทำก็ไม่แตกต่างกัน ด้วยพฤติกรรมแบบซ้ำๆ ซากๆ และหยุดไม่ได้ซึ่งครอบงำกิจวัตรประจำวัน ส่งผลให้ผู้ที่เป็นโรคนี้เต็มไปด้วยความรู้สึกอึดอัดขับข้องใจ โดดเดี่ยว และละอาย ในการทำความเข้าใจกับอาการอันซับซ้อนของโรคนี้ สิ่งที่ต้องเน้นย้ำอย่างหนักแน่นก็คือ โรคย้ำคิดย้ำทำไม่ใช่เรื่องตลก และการรักษาสามารถช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคนี้สามารถควบคุมชีวิตตนเองให้กลับมาปกติสุขได้อีกครั้ง โรคย้ำคิดย้ำทำคืออะไร โรคย้ำคิดย้ำทำเป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ที่ทำให้เกิดความคิดหรือแรงกระตุ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าที่จะกระทำอะไรบางอย่าง ทั้งที่ไม่ได้อยากทำอย่างนั้น ผู้ที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำจะพบว่าความคิดที่รุกล้ำเข้าไปอยู่ในหัวหรือการกระทำที่ห้ามไม่ได้นั้น เป็นสิ่งที่รบกวน ทำให้ตัวเองรู้สึกอ่อนล้า และเป็นเรื่องยากอย่างยิ่งที่จะปล่อยวาง …

OCD ไม่ใช่เพียงแค่นิสัยย้ำคิดย้ำทำ แต่เป็นโรคทางสุขภาพจิตที่ไม่ใช่เรื่องตลก Read More »

ทำความเข้าใจทำไมผู้เสพติดถึงพยายามออกจากสถานบำบัดยาเสพติดก่อนกำหนด

เมื่อคนที่คุณรักเรียกร้องที่จะออกจากสถานบำบัดยาเสพติดก่อนกำหนด คุณจะทำอะไรได้บ้าง

หากเสียงโทรศัพท์จากคนที่คุณรักดังขึ้น พร้อมกับเสียงเรียกร้องและข้ออ้างมากมายที่จะออกจากสถานบำบัดยาเสพติดก่อนกำหนด คุณอย่าเพิ่งรู้สึกใจเสียหรือหมดหวัง ต่อไปนี้คือเทคนิคบางอย่างที่จะช่วยรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้ และทำให้คนที่คุณรักยังคงอยู่รักษาตัวต่อไปในสถานบำบัด สำหรับผู้เสพติดส่วนใหญ่ เส้นทางของการบำบัดนั้นเป็นเสมือนการเดินทางอันยาวไกล ที่ต้องผ่านอารมณ์อันหลากหลายและความคิดที่จะล้มเลิกอยู่หลายครั้ง ซึ่งมาจากกลไกปกติของสมองในการป้องกันตัวเอง จนกว่าพวกเขาจะสามารถยอมรับได้ว่า ตัวเองมีปัญหาและต้องการความช่วยเหลือ ในฐานะเพื่อนสนิทหรือสมาชิกในครอบครัว คุณมีแนวโน้มที่จะได้เห็นกระบวนการอันแสนเจ็บปวดเหล่านี้ไปพร้อมกับคนที่คุณรัก ได้ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของพวกเขา และยินดีไปกับการเข้าสู่สถานบำบัดยาเสพติดของพวกเขา ด้วยความโล่งอกผสมผสานไปกับความหวัง ดังนั้น เมื่อคนที่คุณรักหรือเจ้าหน้าที่ของสถานบำบัดยาเสพติดโทรมา และบอกว่าพวกเขาเรียกร้องอยากจะกลับบ้านก่อนกำหนด การจะบอกว่าควรคิดอย่างไรดี หรือควรต้องตอบสนองกับการเรียกร้องนี้อย่างไร จึงเป็นเรื่องยากสำหรับคุณ การทำความเข้าใจการเสพติด รวมถึงการตอบสนองทั้งทางร่างกายและทางอารมณ์ต่อการกำจัดสารเสพติดออกจากร่างกาย เป็นสิ่งที่จะสามารถช่วยคุณประเมินได้ว่า สิ่งที่ผู้เสพติดจะพูดเพื่อโน้มน้าวให้คุณเชื่อเพื่อนำพวกเขาออกจากสถานบำบัดก่อนกำหนดนี้เกิดมาจากอะไร และหาวิธีการรับมือกับปัญหานี้อย่างสร้างสรรค์ เผชิญหน้ากับความจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น คุณอาจรู้สึกปวดหัวจนเหมือนจะระเบิด หัวใจเต้นแรง และความคิดก็กระเจิดกระเจิงไปหมด เมื่อได้ยินคนที่คุณรักโทรหา และบอกอย่างแน่วแน่ว่าต้องการออกจากสถานบำบัดเดี๋ยวนี้ โดยเหตุผลที่ผู้เสพติดมักยกมาพูดในการเรียกร้องที่จะออกจากสถานบำบัดก่อนกำหนดนั้นมีทั้ง… “ฉันทำไม่ได้” “ฉันยังไม่พร้อม” “ที่นี่สถานที่ไม่สะอาดเลย” “อาหารที่นี่แย่มาก” “เจ้าหน้าที่ ที่นี่ทำงานไม่ได้เรื่อง” “คนที่อยู่ที่นี่ใจร้ายมาก แล้วก็ทำกับฉันไม่ดีเลย” “ทุกคนที่นี่ยังใช้ยากันอยู่เลย” “ฉันเลิกยาได้แล้ว ฉันอยากกลับบ้าน” แล้วก็อื่นๆ อีกมากมาย… ส่วนใหญ่แล้วการล้างพิษยาเสพติดออกจากร่างกาย (drug detox) นั้น ทำให้เกิดการตอบสนองทางอารมณ์ที่รุนแรงหลายอย่าง ซึ่งผลักดันให้เกิดความต้องการที่จะออกจากสถานบำบัด สิ่งที่พบกันบ่อยก็คือ ความกลัวและอาการเนื่องจากการถอนยา  …

เมื่อคนที่คุณรักเรียกร้องที่จะออกจากสถานบำบัดยาเสพติดก่อนกำหนด คุณจะทำอะไรได้บ้าง Read More »

มาทำความเข้าใจถึงเหตุผลที่ผู้เสพติดมักเชื่อว่าพวกเค้าไม่จำเป็นต้องเข้ารับการบำบัดได้จากบทความนี้

ทำไมผู้ตกเป็นทาสยาเสพติดจึงไม่ยอมรับการบำบัดรักษา — เหตุผลที่คุณควรเข้าใจเพื่อที่จะช่วยพวกเขา

ยาเสพติดสามารถบ่อนทำลายชีวิตคนเราได้ในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะชีวิตครอบครัว หน้าที่การงาน หรือสุขภาพ และถึงแม้ผู้ที่มีปัญหาการเสพติดจะรู้ดีถึงอันตรายของมัน หากผู้เสพติดจำนวนไม่น้อยมักไม่ยอมเข้ารับการบำบัดรักษา วันนี้เรามาทำความเข้าใจถึงเหตุผลที่ผู้เสพติดมักเชื่อว่าพวกเค้าไม่จำเป็นต้องเข้ารับการบำบัด สำหรับผู้คนที่มีปัญหาการเสพติดแล้ว พวกเขาเข้าใจดีว่า การเสพติดยาหรือเสพติดสุรา มักจะมีผลเสียและทำลายชีวิตของพวกเขา และส่วนใหญ่แล้วพวกเขาก็เกลียดการเสพติดของตัวเอง และแม้กระทั่งเกลียดตัวเอง แต่กระนั้นก็ตาม ผู้ที่มีปัญหาการเสพติดจำนวนมากก็ปฎิเสธที่จะเข้ารับการบำบัดรักษา จากรายงานยาเสพติดโลกประจำปี 2019 โดยสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ ระบุว่า ในแต่ละปีมีผู้ที่ใช้ยาเสพติดได้รับการรักษาเพียง 1 ใน 7 เท่านั้น ในประเทศไทย สถานการณ์ผู้ใช้สารเสพติดของประเทศไทย จากรายงานในปี 2562 พบว่าผู้ใช้สารเสพติดชนิดใดชนิดหนึ่งภายในหนึ่งปีมีจำนวนถึง 1.4 ล้านคน แต่สถิติของผู้เข้ารับการบำบัดในปี 2562 มีผู้เข้ารับการบำบัดรักษาเพียง 240,547 ราย และในปี 2563 สถิติของผู้เข้ารับการบำบัดรักษาก็ลดลงเหลือ 194,184 ราย ถึงแม้การเสพติดจะทำให้เกิดความเจ็บปวดและผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตมากเพียงใดก็ตาม และถึงแม้ตัวเลือกในการบำบัดรักษาในปัจจุบันจะดีขึ้นกว่าแต่ก่อนเป็นอย่างมาก แต่ทำไมผู้เสพติดจำนวนมากถึงยังไม่ยอมรับการช่วยเหลืออีก  การศึกษาวิจัยชี้ว่า ผู้ที่ไม่เข้ารับการบำบัดการเสพติดมีอยู่ 3 ประเภทใหญ่ก็คือ  ผู้ที่ไม่คิดว่าตัวเองจำเป็นต้องรับการบำบัด  ผู้ที่เชื่อว่าตัวเองจำเป็นต้องบำบัดแต่ไม่ยอมแสวงหาความช่วยเหลือ และผู้ที่ต้องการรับการบำบัดแต่ไม่ได้รับการบำบัด  การทำความเข้าใจเหตุผลของการไม่ยอมรับความช่วยเหลือของคนเหล่านี้ อาจทำให้เราสามารถช่วยเหลือพวกเขาได้  1. ผู้เสพติดที่ไม่คิดว่าตัวเองจำเป็นต้องรับการบำบัดรักษา …

ทำไมผู้ตกเป็นทาสยาเสพติดจึงไม่ยอมรับการบำบัดรักษา — เหตุผลที่คุณควรเข้าใจเพื่อที่จะช่วยพวกเขา Read More »

เรียนรู้สัญญาณการป่วยทางจิตที่ซ่อนอยู่ ทำอย่างไรหากคนที่คุณรักอยู่ในข่ายของการโกหกจนเป็นนิสัย

การโกหกจนหยุดไม่ได้ สัญญาณที่ต้องตระหนักของอาการเจ็บป่วยทางจิตใจที่ซ่อนอยู่

การโกหกในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เป็นครั้งคราว ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น แต่การโกหกซ้ำแล้วซ้ำเล่าหรือ “มโน” แต่งเรื่องราวจนเกินเลย สร้างความทุกข์ทรมานในการดำเนินชีวิตของคุณเองเพราะคุณได้ทำลายความเชื่อใจของคนรอบข้าง แม้อยากจะหยุดก็หยุดไม่ได้ แต่คุณจะทำอย่างไร เมื่อคุณรู้ว่าคุณเองหรือคนที่คุณรักกำลังมีพฤติกรรมเช่นนี้ ความไม่ซื่อสัตย์โดยการโกหกอย่างต่อเนื่องเป็นสัญญาณที่ชัดเจนมากว่า มีบางสิ่งผิดปกติในการสร้างความสัมพันธ์รูปแบบเพื่อนหรือการเป็นคนรัก เนื่องจากความไว้วางใจถือเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญยิ่งของสัมพันธภาพทุกรูปแบบ และการทำผิดต่อความไว้วางใจซ้ำแล้วซ้ำอีกก็เป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงปัญหาที่ร้ายแรงที่ซ่อนอยู่ภายในจิตใจเบื้องลึก การโกหกอาจเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุผลหลายอย่าง และการสืบเสาะเจาะลึกลงไปถึงปัญหาที่เป็นรากเหง้าของความไม่ซื่อสัตย์ เป็นสิ่งสำคัญมากในการรับรู้และยอมรับถึงปัญหา และเริ่มต้นสร้างสัมพันธภาพที่ดีกว่าขึ้นมาใหม่ การโกหกจนเป็นนิสัย (Pathological lying) เป็นความผิดปกติทางจิตใจอย่างหนึ่ง ที่มักเกิดขึ้นร่วมกับปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ การทำความเข้าใจลักษณะเฉพาะของความผิดปกตินี้ จะสามารถช่วยให้คุณรับรู้ได้เมื่อคนที่คุณรักกำลังมีปัญหากับเรื่องนี้ รวมถึงหาวิธีที่จะช่วยเหลือคนเหล่านั้นได้  การโกหกจนหยุดไม่ได้คืออะไร การโกหกจนหยุดไม่ได้สามารถอธิบายอย่างกว้างๆ ได้ว่า คือการโกหกอย่างต่อเนื่องจนเป็นนิสัย และยกระดับการโกหกขึ้นไปเรื่อยๆ โดยคำโกหกเหล่านี้อาจมีหน้าที่แตกต่างกันไป บางครั้งอาจเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของตัวตนให้ดูดีหรือดูน่าเห็นใจ แต่บางครั้งก็ไม่มีจุดประสงค์ที่ชัดเจน โดยลักษณะที่พบกันได้ทั่วไป ได้แก่ การโกหกโดยปราศจากเหตุผลหรือประโยชน์ใดๆ ถ้าคุณเคยสังเกตเห็นว่าเพื่อนของคุณโกหกเพียงเพราะอยากโกหก นี่ก็ถือเป็นลักษณะที่พบกันได้บ่อยของโรคหลอกตัวเอง และเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าการโกหกนั้นกลายเป็นนิสัย หรือเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแบบทันที การโกหกเต็มไปด้วยรายละเอียดอันซับซ้อน สับสน หรือเกินจริง ถึงแม้บางเรื่องราวจะดูเกินกว่าจะเชื่อได้ แต่สำหรับผู้ที่กำลังเผชิญกับภาวะหลอกตัวเอง พวกเขาก็จะมักพยายามบอกเล่าเรื่องราวในแบบที่น่าเชื่อถือที่สุด  เชื่อ (หรือดูเหมือนว่าจะเชื่อ) ในคำโกหกของตัวเองว่าเป็นความจริง ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าเพราะผู้ประสบกับภาวะโรคหลอกตัวเอง สามารถสร้างคำโกหกขึ้นมาบ่อยครั้งในแบบที่ไม่ต้องพยายาม พวกเขาอาจจำไม่ได้เสมอไปว่าเรื่องไหนเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องไหนที่ตัวเอง “มโน” …

การโกหกจนหยุดไม่ได้ สัญญาณที่ต้องตระหนักของอาการเจ็บป่วยทางจิตใจที่ซ่อนอยู่ Read More »

เรียนรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มเหล้าและความวิตกกังวลได้จากบทความนี้

ดื่มเหล้าคลายกังวล..หรือยิ่งดื่มยิ่งกังวล?

บ่อยครั้งที่คนเราใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อบรรเทาความรู้สึกวิตกกังวล แต่การดื่มเหล้าช่วยลดความวิตกกังวลได้จริงๆหรือ คำตอบในทางวิทยาศาตร์ให้ภาพที่แตกต่างออกไปไกลลิบจากสิ่งที่หลายๆคนอาจเชื่อเกี่ยวกับการดื่มเหล้า “คงต้องดื่มสักหน่อยแล้ว” ไม่ว่าคุณจะพูดประโยคนี้แบบติดตลก หรือพูดอย่างจริงจัง โดยปกติแล้วคพูดนี้มักจะหลุดออกมาหลังจากต้องพบเจอกับความตึงเครียดบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแย่ๆ ในวันทำงาน การรับมือกับลูกๆ ที่งอแงกวนทั้งวัน โทรศัพท์แจ้งข่าวร้ายที่ไม่คาดคิด หรืออาจจะเพียงแค่การเฝ้ารอผลลัพธ์อะไรบางอย่าง ทุกสถานการณ์สามารถกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวลขึ้นมาได้ทั้งนั้น และก็รวมถึงความปรารถนาที่จะปัดเป่าความรู้สึกเหล่านี้ออกไปด้วย ดังนั้น คุณก็เลยดื่มเหล้าสักแก้วหนึ่ง หรือสองแก้ว หรืออีกหลายๆ แก้ว ในตอนแรก แอลกอฮอล์ดูเหมือนจะได้ผลอย่างที่ต้องการ ทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายและใจเย็นลง แต่อีกหลายชั่วโมงหลังจากนั้น หรือเมื่อคุณตื่นขึ้นมาในตอนเช้า ความวิตกกังวลก็กลับมาอีก และอาจจะแย่ยิ่งกว่าเดิม หากคุณสงสัยว่าทำไมการดื่มกลับทำให้คุณรู้สึกเครียดยิ่งกว่าเดิม โดยเฉพาะในวันถัดมา สิ่งสำคัญก็คือต้องเข้าใจให้ดีถึงความเชื่อมโยงระหว่างแอลกอฮอล์และความวิตกกังวล — ซึ่งคุณอาจเข้าใจผิดมาตลอด รู้จักกับความวิตกกังวลและโรควิตกกังวล ความวิตกกังวลเป็นอารมณ์อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองกับความเครียดที่เกิดขึ้น และสามารถส่งผลให้เกิดอาการหลายอย่างทางร่างกายได้ เช่น เหงื่อออก ชีพจรเต้นเร็ว คลื่นไส้หรือ มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร หายใจหอบถี่ ปวดศีรษะหรือมีอาการปวดอื่นๆ ที่อธิบายไม่ได้ ร่างกายสั่นเทา มีปัญหาการนอน ความวิตกกังวลอาจเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นชั่วคราวต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง หรืออาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นต่อเนื่องและยาวนานจนกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิตได้ คนที่เป็นโรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) ประเภทใดประเภทหนึ่งอาจรู้สึกตระหนกหรือหงุดหงิดเกือบตลอดเวลา เกิดอาการแพนิคแอทแทค (Panic attacks) หรืออาการตื่นตระหนกอย่างกะทันหัน …

ดื่มเหล้าคลายกังวล..หรือยิ่งดื่มยิ่งกังวล? Read More »

เรียนรู้สัญญาณเตือนที่จะช่วยบอกว่าคุณกำลังเผชิญกลับโรคซึมเศร้าอีกครั้งและการรับมือ

10 สัญญาณเตือนว่า..โรคซึมเศร้ากำลังจะกลับมาเยือน

หากคุณเคยเอาชนะโรคซึมเศร้ามาได้แล้ว คุณจะรู้ว่าโรคนี้น่ากลัวเพียงไหน และเมื่อคุณเริ่มรู้สึกถึงอาการซึมเศร้าอีกครั้ง ความกลัวที่ว่าคุณจะกลับไปสู่ “หลุมดำ” เช่นนั้นอีก สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ มาเรียนรู้วิธีสังเกตเมื่ออาการซึมเศร้าเกิดขึ้นอีก และป้องกันและจัดการเพื่อไม่ให้เกิดอาการที่หนักหนาสาหัสเช่นที่เคยเป็นมา คนจำนวนมากที่เคยทนทรมานกับช่วงเวลาของโรคซึมเศร้าที่หนักหนาสาหัส และทุกคนต่างไม่มีใครอยากกลับไปสู่ช่วงเวลาเช่นนั้นอีก เห็นได้จาก ในเว็บบอร์ดชื่อดังของไทยอย่าง pantip.com ในห้องสุขภาพจิต เรามักจะได้เห็นผู้ที่เคยเป็นโรคซึมเศร้ามาโพสต์ระบายออกถึงโรคซึมเศร้าที่กลับมาอีกครั้งหนึ่งในลักษณะต่างๆกัน แต่ในความเป็นจริงนั้น งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า ร้อยละ 50 ของผู้ที่เคยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน จะสามารถฟื้นตัวในเรื่องของสุขภาพจิต และกลับมาใช้ชีวิตที่ค่อนข้างปกติได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ครึ่งหนึ่งของผู้ที่เคยเป็นโรคซึมเศร้าอย่างรุนแรงอาจพบว่าตัวเองสามารถดำดิ่งสู่อาการซึมเศร้าที่สร้างความทุกข์และอุปสรรคในการดำเนินชีวิตได้อีก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้มากกว่าหนึ่งครั้ง ตลอดช่วงชีวิตของพวกเขา แต่ข่าวดีก็คือ หากคุณสามารถสังเกตเห็นสัญญาณอันตรายของอาการซึมเศร้าที่กลับมาอีกได้ คุณจะมีโอกาสที่ดีกว่าในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคซึมเศร้าแบบรุนแรง หรืออย่างน้อยก็สามารถรับมือกับอาการซึมเศร้าได้ดีกว่าเมื่อมันจู่โจมคุณ โรคซึมเศร้าคืออะไร เราทุกคนต่างสามารถรู้สึกเศร้าได้เป็นครั้งคราว หลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตเราล้วน สามารถทำให้เราจิตตกได้ ยกตัวอย่างเช่น การสูญเสียคนที่รักหรือถูกไล่ออกจากงาน แต่หากความรู้สึกสิ้นหวังนั้นกินเวลานานกว่าสองสัปดาห์ และเริ่มที่จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน คุณก็อาจกำลังเผชิญกับโรคซึมเศร้าอยู่ก็เป็นไปได้ อะไรทำให้เกิดโรคซึมเศร้า จากเกณฑ์วินิจฉัยโรคในกลุ่มความผิดปกติทางอารมณ์ (Mood Disorder) ที่เรียกว่า DSM-5 (Diagnostic and Statistical Manual of Mental disorders) ชี้ว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่สามารถส่งผลต่อการวินิจฉัยอาการซึมเศร้า ทั้งปัจจัยทางพันธุกรรม …

10 สัญญาณเตือนว่า..โรคซึมเศร้ากำลังจะกลับมาเยือน Read More »

เรียนรู้แนวคิดการสร้างขอบเขตตัวตน เพื่อการเลิกสิ่งเสพติดได้จากบทความนี้

ขอบเขตของตัวตนและการเคารพขีดจำกัดของตัวเอง…ช่วยในการฟื้นฟูจากการเสพติดได้อย่างไร

คุณเป็นคนขี้เกรงใจรึปล่าว หรือคุณยอมทำในสิ่งที่คุณไม่เห็นด้วยเพียงเพราะเค้าอาวุโสกว่าคุณ นี่เป็นตัวอย่างของขอบเขตของตัวตน (Personal Boundaries) ที่ไม่เหมาะสม  หรือการไม่มีขอบเขตของตัวตนเอาซะเลย การสร้างขอบเขตของตัวตนที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด ในระยะแรกของการเลิกสิ่งเสพติด เมื่อคุณอยู่ในช่วงของการฟื้นฟูตัวเองจากการเลิกเสพติด คุณกำลังให้โอกาสตัวเองในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ปราศจากการพึ่งพิงสิ่งเสพติด ซึ่งเป็นความท้าทายที่อาจไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณเริ่มลงมือจัดการกับบางปัญหาที่เป็นรากเหง้าของการเสพติดของตัวเอง และทดสอบสิ่งที่ได้เรียนรู้จากสถานบำบัดยาเสพติดพร้อมทั้งปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้คุณฟื้นฟูตัวเองจากการเสพติด และทำให้คุณมีชีวิตที่ดีต่อไป คุณจะต้องสร้างความคุ้นเคยกับขอบเขตรูปแบบใหม่ของตัวเองขึ้นมาอีกครั้ง คุณอาจไม่เคยมีขอบเขต หรือมีขอบเขตของตัวตนที่ไม่เหมาะสม ก่อนที่คุณจะติดยาเสพติด เช่น การไม่สามารถที่จะปฎิเสธ เมื่อมีคนใกล้ตัวชวนให้เสพยาเสพติด ทั้งๆที่คุณรู้ว่ายาเสพติดเป็นสิ่งไม่ดี หรือการที่คุณใช้ยาเสพติดในจำนวนน้อยๆแล้วคิดว่า ตัวเองไม่ได้ติดยาเสพติด สามารถควบคุมการใช้ได้ และใช้เพื่อตอบสนองความต้องการเป็นครั้งคราวเท่านั้น ซึ่งห้วงเวลาของการฟื้นฟูตัวเองจากการเสพติดก็เป็นช่วงที่เหมาะสมอย่างยิ่ง ในการสำรวจขอบเขตของคุณ พร้อมทั้งเรียนรู้ที่จะสื่อสารสิ่งนี้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อที่คุณจะได้รับมือกับชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุขไปได้อย่างยาวนาน ความสัมพันธ์ของบาดแผลในวัยเด็ก การเสพติด และขอบเขตของตัวตน การขาดขอบเขตของตัวตนที่เหมาะสม อาจมาจากความต้องการที่จะเอาใจคนอื่นหรือยึดเอาความต้องการของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง เพราะความกลัวที่จะถูกปฏิเสธหรือถูกทรยศ สำหรับบางคนปัญหาเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้จากประสบการณ์แง่ลบในวัยเด็ก เช่น การถูกทอดทิ้งหรือความสัมพันธ์ทางอารมณ์ที่ไม่เหมาะสมในช่วงต้นของชีวิต ซึ่งสามารถทำให้คนเราไม่สามารถแสดงอารมณ์ สื่อสารความต้องการ หรือตัดสินว่าสัมพันธภาพของตัวเองเป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่ สำหรับผู้ที่เคยถูกจำกัดและเข้มงวดมากเกินไปจากครอบครัว ในช่วงของการเจริญเติบโต หรือครอบครัวที่มีการทำร้ายกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายร่างกายหรือการทำร้ายกันผ่านคำพูด คนที่มีความสัมพันธ์ลักษณะนี้ พวกเขาอาจพบว่าตัวเองมีปัญหาในการพึ่งพิงคนอื่น หรือโหยหาการยอมรับอย่างไม่เหมาะสมเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ นอกจากนี้ การเสพติดยังมีแนวโน้มที่จะทำลายขอบเขตของตัวตนเพิ่มยิ่งขึ้นไปอีก เช่น เมื่อคุณต้องการใช้สารเสพติดเพื่อทำให้รู้สึกเฉื่อยชาลงและลืมความเจ็บปวด …

ขอบเขตของตัวตนและการเคารพขีดจำกัดของตัวเอง…ช่วยในการฟื้นฟูจากการเสพติดได้อย่างไร Read More »

อ่านบทความนี้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของโรคแพนิคและวิธีการรักษา ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

คุณแค่ตื่นตระหนกหรือเป็น “โรคแพนิค” กันแน่? ทำความเข้าใจกับอาการ “แพนิค” ที่จู่โจมโดยไร้สัญญาณเตือน

ถึงแม้ว่าคุณจะเป็นคนที่สามารถจัดการความเครียดได้ดี ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ แต่ถ้าคุณต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานเป็นประจำจากอาการวิตกกังวลและความตื่นกลัวที่พุ่งทะยานขึ้นมาอย่างกะทันหันโดยไร้สาเหตุ จนทำให้คุณรู้สึกถึงความผิดปกติทางร่างกาย คุณอาจกำลังถูกจู่โจมจากภาวะที่เรียกว่า “Panic Disorder” ก็เป็นได้ ถึงแม้โดยทั่วไปแล้ว การจู่โจมของอาการแพนิคหรือความตื่นตระหนกแบบกะทันหัน จะไม่มีผลกระทบต่อร่างกายที่ยาวนาน แต่ก็เป็นเรื่องปกติที่อาการเช่นนี้จะทำให้คุณรู้สึกเป็นกังวลกับความคิดที่ว่ามันจะเกิดขึ้นมาอีกเมื่อไร ซึ่งมันจะรบกวนต่อการใช้ชีวิตของคุณ และหากอาการที่คุณเป็นเกิดขึ้นบ่อยครั้งแบบไร้สาเหตุ นั้นอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพจิตที่เรียกว่า “โรคแพนิค (Panic Disorder)” แต่ข่าวดีก็คือ คุณสามารถรับมือกับการจู่โจมของอาการแพนิคได้ ด้วยการทำความเข้าใจกับสาเหตุ อาการ และเรียนรู้เคล็ดลับในแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อเกิดอาการ รวมไปถึงแนวทางรักษาที่จะช่วยคุณได้ อาการแพนิคคืออะไรและเกิดขึ้นได้อย่างไร คำว่า “แพนิค” อาจหมายถึงอาการตื่นตระหนก แต่ในทางการแพทย์แล้ว อาการแพนิคเป็นมากกว่าความตื่นตระหนกธรรมดาที่ทุกคนอาจรู้สึกได้ เมื่ออยู่ในภาวะที่มีความเครียดสูงจนทำให้มีความวิตกกังวลมากเป็นพิเศษ แต่อาการแพนิคเป็นความตื่นตระหนกและความกลัวอย่างรุนแรง ที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ที่ส่งผลให้เกิดอาการทางร่างกายที่รุนแรงหลายอย่าง อาการแพนิคมักเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดแบบไร้สาเหตุ โดยไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า เช่น คุณถูกปลุกตื่นขึ้นมาด้วยเสียงบางอย่างกลางดึก ที่ไม่ได้มีอันตรายใดๆ แต่คุณกลับถูกจู่โจมโดยอาการแพนิคอย่างหนัก เพียงเพราะคุณคิดไปว่าจะมีใครเข้ามาทำร้ายคุณ โรคนี้สามารถเกิดร่วมกับโรคอื่นได้ เช่น โรคซึมเศร้า โดยสาเหตุที่แน่นอนของอาการแพนิคยังไม่เป็นที่เข้าใจกันอย่างชัดเจน แต่การศึกษาชี้ว่ามันอาจสัมพันธ์กับพันธุกรรม ระดับความเครียด การทำงานของสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุล การทำงานผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nervous system) ซึ่งควบคุมการทำงานหลายอย่างของร่างกาย หรืออาจเป็นความอ่อนไหวของแต่ละบุคคลที่มีต่ออารมณ์ในแง่ลบ …

คุณแค่ตื่นตระหนกหรือเป็น “โรคแพนิค” กันแน่? ทำความเข้าใจกับอาการ “แพนิค” ที่จู่โจมโดยไร้สัญญาณเตือน Read More »

เรียนรู้วิธีการเลิกเหล้าอย่างได้ผลด้วยวิธีการ 6 ขั้นตอนในบทความนี้

เหล้าติดได้ แต่ต้องเลิกให้เป็น ด้วย 6 ขั้นตอนสู่การ “เลิกเหล้า” อย่างได้ผล

การเอาชนะการติดเหล้าเป็นกระบวนการที่ต้องก้าวไปทีละขั้นทีละตอน และต้องให้เวลากับแต่ละขั้นตอน การทำความเข้าใจว่าในแต่ละขั้นตอนของการเลิกเหล้านั้น อาจมีบางครั้งที่คุณหยุดอยู่กับที่หรือแม้แต่ถอยหลัง สามารถช่วยให้คุณมีความคาดหวังที่สมเหตุสมผลว่า คุณจะเอาชนะการพึ่งพิงสิ่งเสพติดอย่างไร และเอาชนะมันอย่างได้ผลและยั่งยืน สำหรับผู้ที่มีปัญหาการพึ่งพิงแอลกอฮอล์ การก้าวสู่การพึ่งพิงสิ่งเสพติดใช้เวลาในการพัฒนาขึ้นมา กระบวนการเอาชนะการเสพติดและฟื้นฟูตัวเองให้มีชีวิตที่ปกติสุขอีกครั้งก็อาจยาวนานเช่นกัน โดยนักวิจัยได้ระบุถึง 6 ขั้นตอนหลักบนเส้นทางสู่การฟื้นฟูตัวเองจากการเสพติด เพื่อให้ผู้ที่กำลังก้าวออกจากเส้นทางการเสพติดได้เห็นว่า ตัวเองกำลังอยู่ตรงไหนในขั้นตอนเหล่านั้น ซึ่งได้แก่ ระยะเมินเฉย (pre-contemplation) ระยะลังเล (contemplation) ระยะเตรียมการ (preparation) ระยะลงมือ (action) ระยะคงที่ (maintenance) และระยะหลุดพ้น (transcendence) อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้ก็คือ ไม่ว่าจะเป็นตัวคุณเองที่มีปัญหาการพึ่งพิงสิ่งเสพติด หรือเป็นปัญหาของคนที่คุณรัก กระบวนการฟื้นฟูตัวเองจากการเสพติดนั้นไม่ใช่เส้นทางที่เป็นเส้นตรงเสมอไป เป็นเรื่องปกติมากที่คุณหรือคนที่คุณรักอาจจะติดอยู่กับขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง ถอยหลังกลับไปกลับมาระหว่างแต่ละขั้นตอน หรือแม้แต่กลับไปเสพติดซ้ำและเริ่มต้นกระบวนการนี้อีกครั้ง การจัดการกับความคาดหวังของตัวเองว่าจะฟื้นฟูตัวเองจากการเสพติดได้เมื่อไร จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก จงให้เวลากับตัวเองหรือคนที่คุณรักในการก้าวไปในแต่ละขั้นตอน การยอมรับกระบวนการนี้และสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ในแต่ละขั้นตอน รวมถึงการช่วยสนับสนุนให้กำลังใจ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การฟื้นฟูจากการเสพติดประสบผลสำเร็จและยั่งยืนมีดังนี้ 1. ระยะเมินเฉย (Pre-Contemplation) — “ฉันดื่มแค่ตอนออกสังสังคมเท่านั้น” ในช่วงระยะเมินเฉย ผู้ที่มีปัญหากับการดื่มแอลกอฮอล์จะไม่ยอมรับความจริงโดยสิ้นเชิง เกี่ยวกับความรุนแรงของปัญหาตัวเอง ถึงแม้จะเห็นสัญญาณของการติดเหล้าอย่างชัดเจนก็ตาม โดยอาการของการติดเหล้าที่พบได้ก็อย่างเช่น อาการสั่นเทา คลื่นไส้ อาการบวม …

เหล้าติดได้ แต่ต้องเลิกให้เป็น ด้วย 6 ขั้นตอนสู่การ “เลิกเหล้า” อย่างได้ผล Read More »

เรียนรู้เบื้องลึกความผูกพันอันเจ็บปวดของชีวิตรักที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของคุณ

“ความผูกพันอันเจ็บปวด” พิษรักพิษร้ายที่อาจเกิดกับใครก็ได้และทำอย่างไรให้หลุดพ้น

หากคุณรู้สึกอ่อนล้า คับข้องใจ และซึมเศร้าเนื่องมาจากความรักของคุณ ก็อาจเป็นสัมพันธภาพที่เรียกว่า “ความผูกพันอันเจ็บปวด (Trauma Bonding)” ซึ่งจะค่อยๆ กลืนกินความเป็นตัวตนของคุณจนทำให้คุณรู้สึกสิ้นหวัง และไม่มั่นใจว่าจะทำอย่างไรต่อไป การเรียนรู้ว่าความสัมพันธ์เช่นนี้พัฒนาขึ้นมาอย่างไร และวิธีไหนที่จะช่วยคุณได้ เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะถอนพิษร้ายจากความรักอันเจ็บปวดนี้ หลายคนกล่าวว่าความรักเป็นสิ่งสวยงาม แต่ก็ไม่ใช่ทุกความสัมพันธ์ที่จะลงเอยด้วยดี หลายๆ ความสัมพันธ์อาจจบลงเพียงเพราะนิสัยใจคอของพวกคุณเข้ากันไม่ได้ และไม่สามารถทำให้คุณมีความสุขได้อีกต่อไป แต่สิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นกันก็คือ ถึงแม้คุณจะพบว่าอยู่กับความสัมพันธ์ที่ไม่ทำให้ตัวเองมีความสุข และบ่อยครั้งก็ทำร้ายจิตใจคุณ แต่คุณก็กลับยืนยันที่จะอยู่ตรงนั้นต่อไป โดยไม่สามารถที่จะเดินจากมาได้ คุณอาจเคยได้ยินคำว่า “รักเป็นพิษ (Toxic Relationship)” ที่มักใช้อธิบายความสัมพันธ์แย่ๆ ที่ทำให้คุณไร้ความสุข แต่อาจไม่คุ้นเคยเท่าไหร่กับแนวคิดที่เรียกว่า “ความผูกพันอันเจ็บปวด (Trauma Bonding)” ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ทำให้คุณไร้ความสุข แต่ยังสามารถบ่อนทำลายตัวตนของคุณ จนอาจพัฒนาเป็นปัญหาสุขภาพจิตได้ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับความผูกพันอันเจ็บปวดจะช่วยแยกแยะว่า คุณกำลังอยู่ในความสัมพันธ์ประเภทนี้หรือเปล่า และเริ่มต้นหาวิธีที่จะพาตัวเองให้หลุดพ้นออกมาให้ได้ ความผูกพันอันเจ็บปวด..คืออะไรกันแน่ สาระสำคัญของความสัมพันธ์ที่เรียกได้ว่าเป็น “ความผูกพันอันเจ็บปวด” ก็คือ ความจงรักภักดีในความสัมพันธ์ต่อใครบางคนซึ่งเป็นภัยต่อตัวคุณเอง  ความสัมพันธ์เช่นนี้อาจเกิดขึ้นได้หลังจากเกิดเหตุการณ์ชีวิตอันตึงเครียดหรือเกิดบาดแผลทางใจ (Trauma) อันเจ็บปวด แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกันในการคบหาแบบปกติทั่วไป ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่เข้มแข็งหรือมั่นใจในตัวเองแค่ไหน ก็อาจพบว่าตัวเองพ่ายแพ้ให้กับความผูกพันอันเจ็บปวดได้ทั้งสิ้น เนื่องมาจากลักษณะของการเกิดและพัฒนาการของความสัมพันธ์ประเภทนี้ รวมถึงการที่มันกระตุ้นบางส่วนในสมองของเรา หากความสัมพันธ์ของคุณมีลักษณะที่พบได้บ่อยๆ เหล่านี้ คุณก็กำลังอยู่กับความผูกพันอันเจ็บปวดอยู่ก็ได้ …

“ความผูกพันอันเจ็บปวด” พิษรักพิษร้ายที่อาจเกิดกับใครก็ได้และทำอย่างไรให้หลุดพ้น Read More »

รู้เท่าทันกลวิธีโกหกของผู้เสพติดที่ปกปิดพฤติกรรมการเสพของตนเองและพยายามเบี่ยงเบนให้คุณเชื่อว่าการเสพติดของเค้านั้นไม่เป็นเรื่องใหญ่

รู้เท่าทันการโกหกของผู้เสพติด และวิธีที่คุณสามารถช่วยคนที่คุณรักได้

การโกหกอย่างต่อเนื่องเป็นหนึ่งในพฤติกรรมของผู้เสพติด ที่ต้องการปกปิดพฤติกรรมเสพติดของตนเองไม่ให้ผู้ใดล่วงรู้ การรู้เท่าทันกลลวงและการโกหกของผู้เสพติดจะช่วยให้คุณสามารถจับสัญญาณของพฤติกรรมต่างๆที่ผู้เสพกำลังโน้มน้าวคุณอยู่และสามารถหาวิธีในการพูดคุยที่ถูกต้องเพื่อให้คนที่คุณรักยอมเปิดใจและหันมาเริ่มต้นบำบัดการเสพติดได้ สำหรับผู้เสพติดแล้ว ชีวิตเป็นเสมือนเกมที่ต้องเอาตัวให้รอด นั่นก็คือการไม่ยอมเลิกราจากการเสพติดของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการซ่อนหลักฐานที่บ่งชี้ถึงการเสพติดของตัวเอง และการพัฒนากลไกการป้องกันตัวเองขึ้นมา ทั้งเพื่อหลีกเลี่ยงความเป็นจริงอันโหดร้ายจากพฤติกรรมการเสพติดของตัวเอง และเพื่อแก้ต่างให้กับการเสพติดของตัวเอง ซึ่งจะปรากฏออกมาในรูปแบบต่างๆของการโกหกอย่างต่อเนื่อง แต่การโกหกของผู้เสพติดนั้น ไม่ได้เป็นแค่เพียงการโกหกบุคคลอันเป็นที่รัก แต่จริงๆ แล้วยังเป็นการโกหกตัวเองอีกด้วย คำโกหกเหล่านี้มีอยู่มากมายและเกิดมาจากหลายสาเหตุ ซึ่งการทำความเข้าใจและรู้เท่าทันกับทุกแง่มุมของการโกหกเหล่านี้ คือสิ่งที่คุณจะสามารถช่วยเหลือให้ผู้เสพติดที่คุณรัก ก้าวไปบนเส้นทางของการหลุดพ้นจากการเสพติดได้ 5 คำโกหกที่พบได้บ่อยจากผู้เสพติด คำโกหกของผู้เสพติดอาจมีอยู่มากมายหลายแบบ แต่คำโกหกที่พบบ่อยเหล่านี้สามารถบ่งชี้ได้ถึงความร้ายแรงของปัญหาการเสพติดที่คุณไม่ควรมองข้าม การเสพติดส่งผลกระทบต่อฉันเพียงคนเดียว บางทีเรื่องโกหกที่พบบ่อยที่สุดในหมู่ผู้เสพติดก็คือ การเชื่อว่าการเสพติดของตนเองนั้นไม่ได้ส่งผลต่อคนอื่นแต่อย่างใดเลย ถึงแม้ผู้เสพติดจะเห็นบุคคลอันเป็นที่รักเจ็บปวดและสับสน พวกเขาหรือเธอก็ยังเลือกที่จะไม่ยอมรับความจริงจากสิ่งที่เห็น แต่เลือกที่จะมองบุคคลอันเป็นที่รักเป็นฝ่ายตรงข้าม เป็นผู้ที่พยายามควบคุมการใช้ชีวิตของพวกเขาหรือเธอ ด้วยความคิดที่ว่าความห่วงใยคือการควบคุม และมักจะลงเอยด้วยคำพูดทำนองว่า “การเสพติดของฉันไม่เห็นเกี่ยวอะไรกับใคร” ฉันจะหยุดเสพเมื่อไหร่ก็ได้ที่ฉันต้องการ ผู้เสพติดมักจมอยู่กับการไม่ยอมรับความจริง และสูญเสียความสามารถในการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากผลกระทบของสารเสพติดที่ส่งผลต่อสมองด้วย แต่ถึงแม้การเสพติดจะส่งผลเสียอันร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นการตกงาน ความสัมพันธ์ที่พังพินาศ หรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคดีความและกฎหมาย ผู้เสพติดก็ยังไม่ยอมรับความจริง และลงเอยด้วยการโกหกคำโตว่า ตัวเองสามารถเลิกได้ ถ้าต้องการจะเลิก เพียงแค่ยังไม่อยากเลิกเท่านั้น  ใครๆ ก็ทำกัน ในขณะที่คนอื่นอาจดื่มเป็นครั้งคราว หรือดื่มแค่นิดหน่อยแล้วก็หยุด แต่ผู้เสพติดที่เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นซึ่งดื่มเหมือนกันว่า “ใครๆ ก็ทำกัน” กลับไม่สามารถควบคุมการดื่มของตัวเองได้ พวกเขาหรือเธอไม่อาจหยุดดื่มได้ …

รู้เท่าทันการโกหกของผู้เสพติด และวิธีที่คุณสามารถช่วยคนที่คุณรักได้ Read More »

เรียนรู้อาการของโรควิตกกังวลอาจมีมากกว่าที่คุณคาดถึง

12 อาการที่คุณอาจคาดไม่ถึงว่า..มีที่มาจาก “โรควิตกกังวล”

โรควิตกกังวลเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อย แต่ก็มักไม่ได้รับการรักษา ซึ่งอาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพได้ในระยะยาว และการแยกแยะอาการของโรควิตกกังวลให้ได้ ถือเป็นย่างก้าวแรกที่สำคัญสู่การรักษา ที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของคุณดีขึ้นได้ เป็นเวลากว่าปีแล้วที่เกิดสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบอันกว้าง ไม่เพียงแต่จะทำให้วิถีชีวิตของแทบทุกคนเปลี่ยนแปลงไป แต่ยังกลายมาเป็นแหล่งของความเครียดและความวิตกกังวลที่รุมโจมตีจิตใจของเรา จึงไม่ค่อยน่าประหลาดใจนักที่การศึกษาวิจัยหลายชิ้นจะชี้ให้เห็นว่า การ “ล็อกดาวน์” และข้อกำหนดอันเข้มงวดต่างๆ อันเนื่องมาจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้คนจำนวนมากได้รับผลกระทบจากความเครียดที่สูงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงในประเทศไทยเองก็เช่นกัน โดยปกติแล้ว ความวิตกกังวลเป็นอาการที่คนทั่วไปรู้จักกันว่าคือความรู้สึกกระวนกระวาย วิตก หรือกลัว ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยเมื่อเกิดความเครียด และความวิตกกังวลอาจไม่ได้หยุดอยู่แค่การเป็นความรู้สึก หากสามารถกลายเป็นโรคทางจิตเวชได้ และ “โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)” ก็เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยที่สุดอย่างหนึ่งของโลก โดยการศึกษาชิ้นหนึ่งชี้ว่า โดยประมาณแล้วคน 1 ใน 13 มักมีอาการวิตกกังวลรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง และโรคนี้ก็เป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยในคนไทยสูงสุดเป็นอันดับ 3  นอกจากความเครียดที่เป็นตัวกระตุ้นอย่างหนึ่งแล้ว โรควิตกกังวลสามารถเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายประการประกอบรวมกัน ทั้งปัจจัยทางพันธุกรรม ประวัติครอบครัว สารเคมีในสมอง บุคลิกภาพ และประสบการณ์ชีวิต โรคนี้เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ หากก็น่าเสียดายว่าคนจำนวนมากที่เป็นโรคนี้มักไม่ได้รับการรักษา ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากขาดความรู้ ความเข้าใจในอาการ และผลกระทบในระยะยาวของโรควิตกกังวลที่ไม่ได้รับการรักษา การสามารถแยกแยะอาการของโรควิตกกังวลให้ได้ จึงเป็นย่างก้าวแรกที่สำคัญยิ่งในรู้ถึงความรุนแรงของอาการ และเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที ทำความรู้จักและเข้าใจอาการของโรควิตกกังวล ในขณะที่พวกเราส่วนใหญ่ก็ค่อนข้างคุ้นเคยกับอาการวิตกกังวลที่เกิดแบบกะทันหัน อย่างเช่น …

12 อาการที่คุณอาจคาดไม่ถึงว่า..มีที่มาจาก “โรควิตกกังวล” Read More »

ประกาศ

ณ ปัจจุบัน ศูนย์ของเรา ได้ยุติการให้บริการบำบัดภาคภาษาไทย

เดอะดอว์นขอขอบคุณทุกความไว้วางใจมา ณ ที่นี้

ให้เราช่วยคุณเริ่มต้นการเดินทางสู่สุขภาวะที่ดีตั้งแต่วันนี้

โทร: 083 204 8384