หากคุณเคยเอาชนะโรคซึมเศร้ามาได้แล้ว คุณจะรู้ว่าโรคนี้น่ากลัวเพียงไหน และเมื่อคุณเริ่มรู้สึกถึงอาการซึมเศร้าอีกครั้ง ความกลัวที่ว่าคุณจะกลับไปสู่ “หลุมดำ” เช่นนั้นอีก สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ มาเรียนรู้วิธีสังเกตเมื่ออาการซึมเศร้าเกิดขึ้นอีก และป้องกันและจัดการเพื่อไม่ให้เกิดอาการที่หนักหนาสาหัสเช่นที่เคยเป็นมา
คนจำนวนมากที่เคยทนทรมานกับช่วงเวลาของโรคซึมเศร้าที่หนักหนาสาหัส และทุกคนต่างไม่มีใครอยากกลับไปสู่ช่วงเวลาเช่นนั้นอีก เห็นได้จาก ในเว็บบอร์ดชื่อดังของไทยอย่าง pantip.com ในห้องสุขภาพจิต เรามักจะได้เห็นผู้ที่เคยเป็นโรคซึมเศร้ามาโพสต์ระบายออกถึงโรคซึมเศร้าที่กลับมาอีกครั้งหนึ่งในลักษณะต่างๆกัน แต่ในความเป็นจริงนั้น งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า ร้อยละ 50 ของผู้ที่เคยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน จะสามารถฟื้นตัวในเรื่องของสุขภาพจิต และกลับมาใช้ชีวิตที่ค่อนข้างปกติได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ครึ่งหนึ่งของผู้ที่เคยเป็นโรคซึมเศร้าอย่างรุนแรงอาจพบว่าตัวเองสามารถดำดิ่งสู่อาการซึมเศร้าที่สร้างความทุกข์และอุปสรรคในการดำเนินชีวิตได้อีก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้มากกว่าหนึ่งครั้ง ตลอดช่วงชีวิตของพวกเขา
แต่ข่าวดีก็คือ หากคุณสามารถสังเกตเห็นสัญญาณอันตรายของอาการซึมเศร้าที่กลับมาอีกได้ คุณจะมีโอกาสที่ดีกว่าในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคซึมเศร้าแบบรุนแรง หรืออย่างน้อยก็สามารถรับมือกับอาการซึมเศร้าได้ดีกว่าเมื่อมันจู่โจมคุณ
โรคซึมเศร้าคืออะไร
เราทุกคนต่างสามารถรู้สึกเศร้าได้เป็นครั้งคราว หลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตเราล้วน สามารถทำให้เราจิตตกได้ ยกตัวอย่างเช่น การสูญเสียคนที่รักหรือถูกไล่ออกจากงาน แต่หากความรู้สึกสิ้นหวังนั้นกินเวลานานกว่าสองสัปดาห์ และเริ่มที่จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน คุณก็อาจกำลังเผชิญกับโรคซึมเศร้าอยู่ก็เป็นไปได้
อะไรทำให้เกิดโรคซึมเศร้า
จากเกณฑ์วินิจฉัยโรคในกลุ่มความผิดปกติทางอารมณ์ (Mood Disorder) ที่เรียกว่า DSM-5 (Diagnostic and Statistical Manual of Mental disorders) ชี้ว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่สามารถส่งผลต่อการวินิจฉัยอาการซึมเศร้า ทั้งปัจจัยทางพันธุกรรม เหตุการณ์ในอดีตที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด บาดแผลทางใจ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกในแง่ลบ หรือการพึ่งพิงแอลกอฮอล์หรือยาเสพติด
โรคซึมเศร้าที่กลับมาเป็นซ้ำคืออะไร
เมื่อคุณเคยมีอาการของโรคซึมเศร้ามาก่อน มีสองทางที่มันอาจกลับมาอีกได้ อย่างแรกคือโรคซึมเศร้าที่กลับมาเป็นซ้ำ (Depression Relapse) ซึ่งปกติแล้วจะเกิดขึ้นภายในสองเดือนแรกของการหยุดการรักษาอาการซึมเศร้า
หากคุณรู้สึกถึงอาการซึมเศร้าที่กลับมาอีกในช่วงหลายเดือนหรืออาจจะเป็นปี หลังจากที่คุณยุติการรักษา ภาวะนี้เรียกว่าโรคซึมเศร้าซ้ำ (Depression Recurrence) ซึ่งจากข้อมูลของสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา โรคซึมเศร้าซ้ำสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงหกเดือนแรกหลังการรักษา
โดยงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า โอกาสที่โรคซึมเศร้าจะกลับมาอีกเป็นครั้งนั้นมีอยู่สูงมาก หากคุณมีอาการซึมเศร้าสองหรือสามครั้งเกิดขึ้นในช่วงสองสามปีแรก ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้คุณต้องรับการรักษาที่ดีที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
10 สัญญาณอันตรายที่เตือนถึงการกลับมาของโรคซึมเศร้า
ต่อไปนี้คือ 10 สัญญาณที่บอกได้ว่า คุณกำลังเข้าสู่การเป็นโรคซึมเศร้าอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งคุณควรใส่ใจและรีบจัดการกับมันอย่างทันท่วงที
- ความเปลี่ยนแปลงในเรื่องการกิน อาจจะเป็นได้ทั้งอาการไม่อยากอาหาร หรือการรับประทานอาหารมากจนเกินไป
- ความรู้สึกเศร้า ทั้งความรู้สึกสิ้นหวังและหดหู่กับชีวิต
- ขาดแรงจูงใจ ความรู้สึกขาดความกระตือรือร้นในกิจกรรมที่คุณเคยชอบทำในยามว่าง ซึ่งปกติแล้วจะทำให้คุณมีความสุข หรือรู้สึกถึงความสุขที่ลดลงเมื่อคุณทำในสิ่งที่คุณเคยโปรดปราน
- รู้สึกอ่อนล้า เมื่อการทำงานต้องใช้เวลานานกว่าเดิม และรู้สึกว่ายากมากขึ้นกว่าที่จะทำให้เสร็จ
- กระสับกระส่าย ความรู้สึกกระวนกระวายใจ วิตกจริต หรืออยากที่จะเดินออกไปจากที่ซึ่งคุณกำลังอยู่
- การนอนเปลี่ยนแปลงไป อาจจะเป็นการนอนตื่นสาย ตื่นได้ยากในตอนเช้า หรือไม่สามารถที่จะนอนหลับได้ง่ายในตอนกลางคืน
- อาการเจ็บหรือปวด ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือปวดท้องอย่างไม่มีเหตุผล
- หมกมุ่นกับบางสิ่งบางอย่าง ความรู้สึกไร้ค่าหรือรู้สึกผิดต่อเหตุการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นในอดีต
- รู้สึกหงุดหงิด คุณอารมณ์เสียได้ง่ายมาก
- ความคิดที่จะฆ่าตัวตาย รู้สึกว่าชีวิตช่างสิ้นหวังจนคุณไม่อยากที่จะอยู่ต่อไป
อะไรที่ทำให้โรคซึมเศร้ากลับมาเกิดซ้ำ
หากคุณเป็นผู้ที่เคยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน คุณก็มีแนวโน้มที่จะถูกกระตุ้นจากความเครียดต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ได้ง่ายกว่าผู้ที่ไม่เคยมีปัญหาสุขภาพจิตมาก่อน และยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกหลายอย่างที่สามารถกระตุ้นให้โรคซึมเศร้ากลับมาอีกครั้งหนึ่ง อย่างเช่น
- อาการหรือโรคทางร่างกาย เช่น โรคเบาหวานหรือโรคอ้วน
- การหยุดการรักษาโรคซึมเศร้าที่เร็วเกินไป
- ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องในช่วงการเกิดโรคซึมเศร้าครั้งแรก
- เหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นในชีวิต เช่น การเสียชีวิตของคนใกล้ตัว ปัญหาในครอบครัว หรือชีวิตแต่งงานที่ล่มสลาย
วิธีป้องกันไม่ให้โรคซึมเศร้ากลับมาเป็นซ้ำ
- เข้ารับการรักษา
หากคุณเคยรับการรักษาด้วยการทานยาต้านซึมเศร้า (Antidepressant) มาก่อน เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากที่คุณต้องกินยาของคุณให้ครบตามแพทย์สั่ง และทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เมื่อคุณเริ่มรู้สึกดีขึ้นแล้ว คุณอาจจะรู้สึกอยากหยุดกินยา แต่นั่นจะเพิ่มความเสี่ยงที่คุณจะกลับมาเกิดอาการซึมเศร้าซ้ำ หากการรักษาของคุณต้องมีการพบปะพูดคุยกับนักจิตบำบัดหรือที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิต คุณต้องไปพบกับนักจิตบำบัดและจิตแพทย์ของคุณจนกว่าพวกเขาจะบอกว่า คุณสามารถหยุดการรักษาได้แล้ว
- การทำสมาธิ
จากผลการรักษาชี้ว่า การฝึกทำสมาธิ สามารถลดอาการของโรคซึมเศร้าได้ โดยคุณไม่จำเป็นต้องใช้เวลานานนับชั่วโมงไปกับการนั่งขัดสมาธิทำสมาธิ เพียงแค่ใช้ช่วงเวลาสั้นๆ ในแต่ละวันในการทำจิตใจให้จดจ่ออยู่กับสิ่งที่คุณทำอยู่ในปัจจุบัน แทนที่จะปล่อยให้จิตใจไปหมกหมุ่นอยู่กับอดีตหรืออนาคต ก็เป็นสิ่งที่เพียงพอแล้ว
- ยอมรับความช่วยเหลือ
เพื่อนและครอบครัวสามารถให้การช่วยเหลือได้ เมื่อคุณสังเกตเห็นสัญญาณเตือนที่บอกถึงโรคซึมเศร้า หากคุณเปิดรับความช่วยเหลือจากครอบครัวและเพื่อนๆ คุณจะสามารถลดโอกาสที่จะกลับสู่การเป็นโรคซึมเศร้าอีกครั้งได้
- การวางแผน
พูดคุยกับนักจิตบำบัดของคุณอย่างสม่ำเสมอ ถึงแผนปฏิบัติการที่ดีที่ในการรับมือกับสัญญาณเตือนของโรคซึมเศร้า ลองเขียนเป็นแผนการขึ้นมา เพื่อที่คุณจะได้เตรียมพร้อมและรู้สึกมั่นใจในการรับมือกับโรคซึมเศร้า หากโรคซึมเศร้าได้กลับมาอีกครั้ง
รับมือกับอาการซึมเศร้าที่กลับมาเป็นซ้ำ
เช่นเดียวกับปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ โรคซึมเศร้ามีความซับซ้อนในการรักษา และไม่ใช่ทุกการรักษาแบบเดียวกันจะใช้ได้ผลสำหรับทุกคน แต่การรับการรักษาที่ถูกต้อง ก็เป็นสิ่งที่จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลับมาใช้ชีวิตที่ปกติสุขได้
การรักษาต่อไปนี้สามารถช่วยในการรักษาโรคซึมเศร้าได้
การบำบัด
การบำบัดพฤติกรรมและความคิด (Cognitive Behavioural Therapy) หรือ CBT เป็นแนวทางการบำบัดที่พิสูจน์แล้วว่า สามารถลดความเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นโรคซึมเศร้าซ้ำได้ โดยการบำบัดด้วยการพูดคุยเหล่านี้ช่วยคุณในการต่อสู้กับอาการซึมเศร้าของตัวเอง ด้วยการเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดและการกระทำของตัวเอง
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายช่วยให้มีการหลั่งสารเอนดอร์ฟินส์ในสมอง ซึ่งเป็นสารเคมีที่ทำให้ร่างกายรู้สึกดี แม้แต่การออกกำลังกายแบบเบาๆ ก็สามารถมีประโยชน์ในการต่อสู้กับอาการของโรคซึมเศร้าได้ ด้วยการทำให้การทำงานของสมองดีขึ้น
การใช้ยา
การศึกษาแสดงให้เห็นว่าการกินยาต้านเศร้า (Antidepressant) อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือนหรือมากกว่านั้น สามารถช่วยลดโอกาสที่คุณจะกลับไปเกิดอาการซึมเศร้าอีกครั้งได้
การรักษาแบบอยู่ประจำที่ศูนย์สุขภาพจิต…หนึ่งในการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุด
หากคุณเคยเกิดอาการของโรคซึมเศร้าอย่างรุนแรงมากกว่าหนึ่งครั้ง คุณอาจได้รับประโยชน์จากการเข้ารับการรักษาในศูนย์สุขภาพจิต ซึ่งจะสามารถช่วยให้คุณเข้าถึงต้นตอของปัญหาสุขภาพจิตของคุณได้
ศูนย์รักษาโรคซึมเศร้า เดอะดอว์น เชียงใหม่ มีหลักสูตรการรักษาโรคซึมเศร้า ซึ่งดำเนินการโดยทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์สูงในการรักษาทั้งภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากสถานการณ์ร้ายแรง (Situational Depression) และโรคซึมเศร้า (Depression) ซึ่งจะช่วยให้แน่ใจได้ว่าคุณจะมีกลยุทธ์ที่ดีในการรับมือกับความเครียดเมื่อคุณกลับบ้าน เพื่อให้คุณมีแนวโน้มที่จะกลับมาเป็นซ้ำน้อยลง และนี่คือสิ่งที่ศูนย์รักษาโรคซึมเศร้าเดอะดอว์น สามารถช่วยคุณได้
แนวทางการรักษาแบบหลายมิติ
ที่เดอะดอว์น เราปรับแต่งหลักสูตรการรักษาตามความต้องการของผู้ป่วย ผสมผสานเทคนิคแบบตะวันตกอย่างเช่น CBT เพื่อเจาะลึกลงไปยังรากเหง้าที่เป็นสาเหตุของอาการซึมเศร้าของคุณ และเสริมการรักษาทางจิตบำบัดเหล่านี้ด้วยแนวทางดูแลสุขภาวะแบบองค์รวม อย่างเช่น การทำสมาธิและโยคะ รวมถึงการออกกำลังกายประจำวัน นอกจากนี้ยังมีทีมงานทางการแพทย์ที่อยู่ประจำศูนย์บำบัด ที่พร้อมสำหรับการตรวจสอบและการปรับขนาดของการรับประทานยาได้เสมอ
ทางเลือกสำหรับผู้ที่ดื้อยา
สำหรับผู้ที่อาจดื้อต่อการรักษาด้วยยา เรามีการรักษาด้วยการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ TMS ภายในศูนย์ ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาจากสหรัฐอเมริกา และเป็นเทคโนโลยีที่ปลอดภัยซึ่งพิสูจน์แล้วว่าสามารถรักษาอาการซึมเศร้าได้ดี
นอกจากนี้ศูนย์รักษาโรคซึมเศร้า เดอะดอว์นตั้งอยู่ในสถานที่อันสงบเงียบ แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติอันสวยงาม ทำให้คุณอยู่ห่างไกลสิ่งที่จะกระตุ้นคุณ ไม่ว่าจะเป็นผู้คน สถานที่ หรือสิ่งต่างๆ ที่ส่งผลต่ออาการซึมเศร้าของคุณ และได้อยู่กับสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและผ่อนคลาย ช่วยให้คุณสามารถจดจ่ออยู่กับการรักษาได้อย่างเต็มที่
หากคุณ หรือคนที่คุณรักสนใจเข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้าแบบอยู่ประจำที่ศูนย์ของเรา โปรดติดต่อเรา เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการเข้ารับการรักษา