การพูดคุยกับผู้ที่มีปัญหาการเสพติดให้ได้ผลไม่ใช่เรื่องง่ายๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณเองกำลังเต็มไปด้วยความเครียดและความกลัว จนอาจลืมคิดไตร่ตรองไปชั่วขณะ แต่คำพูดที่ออกจากปากแล้ว ไม่อาจเรียกคืนได้ง่าย และคำพูดบางอย่างก็อาจทำให้ทุกอย่างพังพินาศ และผลักให้คนที่รักของคุณซึ่งกำลังมีปัญหาการเสพติดยิ่งห่างออกไป ลองมาค้นคว้าหาข้อมูลกันสักนิด และตั้งสติคิดให้ถี่ถ้วนว่าคุณต้องการจะพูดอะไร เพื่อที่จะได้พูดคุยเกี่ยวกับการเสพติดกับคนที่คุณรักอย่างได้ผลดีตามที่ต้องการ
สิ่งที่คุณต้องการ…
สิ่งที่คุณอาจพูดออกไป…
“ใครๆ ก็เห็นกันหมดว่าเธอติดยา/ติดเหล้า เธอเป็นอะไรของเธอ”
สิ่งที่จะเกิดกับผู้เสพติด…
รู้สึกว่าถูกตำหนิ ละอาย และปิดกั้นการพูดคุยแบบเปิดใจ
สิ่งที่คุณควรพูด…
“หลังๆ มานี่ชั้นรู้สึกว่าเธอไม่ค่อยเป็นตัวของตัวเองสักเท่าไหร่ ถ้าเธอมีอะไรอยากคุย ชั้นพร้อมจะคุยด้วยเสมอ”
สิ่งที่คุณอาจพูดออกไป…
“ทำไมเธอไม่รับโทรศัพท์ชั้นเลย นี่เธอดื่มเหล้าอีกแล้วใช่มั้ย”
สิ่งที่จะเกิดกับผู้เสพติด…
คำพูดที่อาจดูเหมือนปกติในการพูดคุยกับคนอื่น แต่กลับให้ความรู้สึกตรงกันข้ามสำหรับผู้เสพติด และทำให้ฝ่ายนั้นเกิดการปิดกั้นตัวเอง
สิ่งที่คุณควรพูด…
“ชั้นพยายามโทรหาเธอแต่เธอไม่ทันรับสาย ถ้าเธอว่าง ช่วยโทรกลับหาชั้น”
สิ่งที่คุณอาจพูดออกไป…
“ถ้าอยากจะกำจัดเรื่องนี่ออกไป นี่เป็นวิธีเดียว เธอไม่มีทางเลือก”
สิ่งที่จะเกิดกับผู้เสพติด…
การทำตัวเป็นคนที่รู้ดี รวมถึงอวดรู้ในสิ่งที่คนที่คุณรักต้องการ เป็นการไม่ให้ความสำคัญกับความคิดและความเข้าใจในตนเองของอีกฝ่าย
สิ่งที่คุณควรพูด…
“ดีจริงๆ ที่เธอกำลังคิดเรื่องการเข้ารับการรักษา ชั้นพอจะมีข้อมูลเรื่องนี้ ถ้าเธอต้องการ ชั้นจะส่งให้นะ”
สิ่งที่คุณอาจพูดออกไป…
“ชั้นรู้ ว่าเธอรู้สึกยังไง นี่ทำให้ชั้นนึกถึงตอนที่ชั้น…”
สิ่งที่จะเกิดกับผู้เสพติด…
คำพูดนี้เป็นการเปลี่ยนจุดสนใจมาอยู่ที่ตัวคุณ แทนที่จะให้พื้นที่ซึ่งเขา/เธอจะได้พูดคุยถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองจริงๆ
สิ่งที่คุณควรพูด…
“ชั้นดีใจนะที่เธออยากเล่าเรื่องนี้กับชั้น ชั้นพร้อมรับฟังเสมอนะ”
สิ่งที่คุณอาจจะพูดออกไป…
“ตอนที่เธอเมานี่ เธอทำตัวน่าอายมากเลยนะ เธอหยาบคายกับฉันต่อหน้าคนอื่น”
สิ่งที่จะเกิดกับผู้เสพติด…
นี่เป็นการกล่าวโทษและตำหนิ โดยไม่ใส่ใจเลยว่าการเสพติดสามารถทำให้เกิดอะไรขึ้นได้บ้าง และทำให้หมดหนทางที่จะพูดคุยกันถึงปัญหาการเสพติดของเขา
สิ่งที่คุณควรพูด…
“ฉันรู้สึกว่าเวลาที่เธอดื่ม ท่าทีของเธอเปลี่ยนไปมาก ฉันคิดว่าเราควรจะคุยกันในเวลาที่เราทั้งสองคนต่างมีสติจะดีกว่านะ”
สิ่งที่คุณอาจจะพูดออกไป…
“อุ๊ย ดีจริงๆ ที่เธอไปรับการบำบัดแล้ว งั้นเราไปฉลองกันที่ร้านเดิมเถอะ นี่เธอดื่มเบียร์ได้บ้างหรือเปล่า เพราะฉันอยากจะออกไปดื่มสักแก้ว”
สิ่งที่จะเกิดกับผู้เสพติด…
นี่เป็นการพาคนที่กำลังฟื้นฟูตัวเองจากการเสพติดไปยังสถานการณ์ที่อาจกระตุ้นให้ความอยากกับไปดื่มหรือใช้ยาอีก และแสดงถึงความไม่ใส่ใจในสิ่งที่คนๆ นั้นทุ่มเททำเพื่อฟื้นคืนสุขภาพตัวเอง
สิ่งที่คุณควรพูด…
“ไม่ได้กันสักพักหนึ่งเลย ฉันอยากรู้ว่าเธอเป็นยังไงบ้าง เรานัดเจอกันที่ไหนก็ได้นะที่เธอสะดวก”
เรื่องที่ “ควรทำ” และ “อย่าทำ” ในการพูดคุยเกี่ยวกับการเสพติด
การรักใครสักคนที่มีปัญหาการเสพติดอาจเป็นเรื่องน่ากลัว ชวนให้หงุดหงิด และในขณะเดียวกันก็อาจงุนงงสับสนอยู่บ่อยๆ อารมณ์ที่ขัดแย้งกันเหล่านี้ทำให้บางครั้งก็อาจอึดอัดจนนึกไม่ออกว่า ควรจะพูดอะไรหรือถามไถ่กันยังไงดี ลองมาดูแนวทางที่ “ควรทำ” และ “อย่าทำ” ต่อไปนี้สำหรับการพูดคุยกันครั้งต่อไป เพื่อให้การสื่อสารระหว่างคุณทั้งสองเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และให้ความรู้สึกในแง่บวกอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด
1. จงพูดคุยกับคนที่คุณรัก ไม่ใช่คนที่เสพติด
ไม่มีใครอยากถูกตราหน้าว่าเป็นคนป่วยหรือคนผิดปกติ และผู้ที่เสพติดก็ไม่ต่างกัน พยายามหลีกเลี่ยงการตราหน้าและการใช้คำถามที่บ่งชี้ไปในทางนั้น (เช่น “เธอไม่รับโทรศัพท์ชั้นเลย นี่เธอแอบไปใช้ยาอีกแล้วใช่มั้ย”) เปลี่ยนมาใช้คำถามแบบปลายเปิดที่จะช่วยให้มีการสนทนากันอย่างจริงจัง
2. จงให้ความรู้ตัวเองเกี่ยวกับการเสพติด
เป็นเรื่องง่ายที่จะจมอยู่กับอารมณ์อันปั่นป่วนเนื่องมาจากการเสพติดของคนที่คุณรัก และแสดงท่าทีออกมาตามความรู้สึกอันปั่นป่วนนั้น แต่นี่ไม่ช่วยคุณเลยในการสื่อสารกับพวกเขา การรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการเสพติด และการทำความเข้าใจถึงเรื่องทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังอาการจากการเสพติดเหล่านี้ จะช่วยให้คุณมีไอเดียที่ชัดเจนขึ้นว่า ทำไมผู้เสพติดถึงทำสิ่งต่างๆ แบบนั้น และจะช่วยคุณให้มีท่าทีในการตอบสนองที่แสดงขึ้นความเข้าอกเข้าใจมากขึ้น
3. อย่าบอกวิธีรับมือกับการเสพติด
เช่นเดียวกับที่คุณจะไม่พูดกับคนที่เป็นมะเร็งถึงการรับมือกับการรักษา หรือการจัดการทางอารมณ์เมื่อรับรู้ผลการวินิจฉัยโรค คุณก็ไม่ควรให้คำแนะนำในเรื่องการเอาชนะการเสพติดเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณไม่เคยผ่านประสบการณ์เหล่านี้มาก่อน เพราะฉะนั้นเปลี่ยนมาเป็นการรับฟังและสนับสนุนการตัดสินใจที่ดีๆ ของพวกเขา คุณอาจเตรียมแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างเช่นหนังสือหรือเว็บไซต์เกี่ยวกับการเสพติด หรือข้อมูลการติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านการเสพติดเอาไว้ก็ได้ เพื่อพร้อมมอบให้กับคนที่คุณรักเมื่อพวกเขาต้องการ
4. อย่ารอ
หากคุณสงสัยว่าคนที่คุณรักเริ่มมีการเสพติด ยิ่งคุณพูดคุยกับพวกเขาเร็วเท่าไหร่ก็จะยิ่งดีเท่านั้น โปรดจำไว้ว่าความรู้สึกที่คุณต้องการแสดงออกมานั้น ไม่ใช่การตำหนิหรือกล่าวโทษ แต่มาจากการสังเกตซึ่งเกิดมาจากความรักและความห่วงใยของคุณ ดังนั้น จงฟังให้มากๆ และพูดเท่าที่จำเป็น เพื่อให้พื้นที่แก่คนที่คุณรักอย่างเต็มที่ในการเปิดใจ และแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่พวกเขาเลือก
5. อย่าคาดหวังทุกอย่างจะแก้ไขได้ด้วยการพูดคุยเพียงแค่ครั้งเดียว
การเสพติดไม่ได้เกิดขึ้นชั่วข้ามคืน การยอมรับและการเลิกการเสพติดเพื่อฟื้นฟูตัวเองก็เช่นดียวกัน คุณอาจต้องพูดคุยกันหลายครั้ง และโปรดตระหนักว่าอาจต้องใช้เวลานานกว่าที่คนที่คุณรักจะยอมรับ แม้แต่เพียงแค่การยอมว่าตัวเองมีปัญหา
เอาชนะการเสพติดที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด เดอะดอว์น เชียงใหม่
สถานบำบัดยาเสพติดและฟื้นฟูสุขภาพจิต เดอะดอว์น เชียงใหม่ มีหลักสูตรการรักษาการเสพติดแบบองค์รวม สำหรับผู้ที่มีปัญหาไม่ว่าจะเป็นการติดสารเสพติด การเสพติดพฤติกรรม เช่น การพนันหรือติดเซ็กส์ และโรคร่วม เช่นซึมเศร้าและวิตกกังวล โดยเป้าหมายพื้นฐานของหลักสูตรการรักษาของเราก็คือเพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดประสบความสำเร็จในการเลิกการเสพติดและฟื้นฟูตัวเองได้ในระยะยาว ด้วยการให้ความรู้ในการรับมือที่เหมาะสำหรับแต่ละบุคคลเพื่อรับมือกับปัญหาต่างๆ ของชีวิต
เดอะดอว์นเป็นสถานบำบัดแบบอยู่ประจำระยะยาวที่เน้นการบำบัดรักษาการเสพติดในเชิงลึก เริ่มตั้งแต่การถอนพิษสิ่งเสพติดอย่างปลอดภัย การรักษาการเสพติด และปัญหาสุขภาพจิตโดยรวม ด้วยหลักสูตรการรักษาแบบเป็นขั้นเป็นตอนและครบวงจรพร้อมแผนการดูแลอย่างต่อเนื่อง
คุณสามารถโทรหาเราได้วันนี้ เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้ารับการบำบัดที่ศูนย์บำบัด เดอะดอว์นของเรา