การป้องกันการกลับไปเสพติดซ้ำ

การเลิกเสพให้ได้อย่างยั่งยืน ไม่อาจอาศัยพลังใจเพียงอย่างเดียว

การใช้สารเสพติดส่วนใหญ่มักมีต้นตอจากปัญหาด้านสุขภาพจิต และเมื่อเสพจนติดแล้วก็ส่งผลต่อร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง การเลิกเสพให้ได้อย่างยั่งยืนจึงไม่อาจอาศัยพลังใจเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความรู้ความเข้าใจว่าอะไรคือปัจจัยกระตุ้นให้เสพ และมีความรู้ตัวเมื่อตกอยู่ในภาวะที่อาจกลับไปใช้ยา รวมทั้งสามารถใช้เครื่องมือที่ได้รับในช่วงของการบำบัด ประคับประคองตนเองไม่ให้หันไปพึ่งสิ่งเสพติดอีก

หนึ่งในหัวใจหลักของการบำบัดรักษาที่เดอะดอว์น คือ การสร้างความมั่นใจว่าผู้เข้ารับการบำบัดจะกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างราบรื่น ไม่รู้สึกว่าต้องพึ่งสารเสพติดหรือพฤติกรรมด้านลบใดๆ เมื่อเผชิญกับความท้าทายในชีวิตประจำวัน 

เพราะการเตรียมตัวสำหรับชีวิตหลังการบำบัดเป็นเรื่องสำคัญ เราจึงบรรจุกิจกรรมกลุ่มไว้ในแผนการบำบัดค่อนข้างมาก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความตระหนักว่า การเสพติดซ้ำไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญไม่มีใครคาดเดาได้ แต่จะมีสัญญาณเตือนมาก่อนเสมอ ระหว่างที่คุณอยู่กับเรา คุณจะได้ร่วมกิจกรรมบำบัดกลุ่มทุกสัปดาห์ เพื่อเรียนรู้จากนักจิตวิทยาคลินิกและเพื่อนร่วมกลุ่มว่าสัญญาณเตือนดังกล่าวมีอะไรบ้าง ความรู้นี้จะช่วยให้คุณสามารถตรวจสอบตัวเองและรู้ตัวตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อสามารถป้องกันตัวเองไม่ไห้กลับไปหาสิ่งเสพติดอีก

นักจิตบำบัดให้คำปรึกษาแก่ผู้เข้ารับการบำบัดที่เดอะดอว์น

ตัวอย่างหัวข้อการพูดคุยในกลุ่มบำบัด เพื่อป้องกันการกลับไปเสพติดซ้ำ

  • หยุดเสพยาทีละวัน
  • แรงจูงใจในการเลิกยา
  • งานและการเลิกยา
  • ความรู้สึกผิดและความละอายใจ
  • ความเบื่อ
  • การพูดความจริง
  • ทักษะการตรวจสอบตนเอง
  • ภาวะทางอารมณ์ที่ทำให้กลับไปใช้ยาอีก
  • การรับรู้ถึงภาวะตึงเครียด
  • การลดภาวะตึงเครียด
  • การจัดการกับความโกรธ

แผนการป้องกันการกลับไปเสพติดซ้ำเฉพาะบุคคล

ก่อนออกจากศูนย์บำบัดยาเสพติด ของเรา เพื่อกลับไปใช้ชีวิตที่บ้าน ผู้สำเร็จการบำบัดจะทำแผนการป้องกันการกลับไปเสพติดซ้ำ โดยมีนักจิตฯ ประจำตัวเป็นผู้ให้แนวทาง แผนนี้จะประกอบด้วยตารางกิจกรรมประจำวัน เช่น

  • นอน 8 ชั่วโมง  
  • เวลาอาหาร
  • ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 ครั้ง (อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที)
  • เครื่องมือที่สามารถประยุกต์ใช้ในแต่ละสถาณการณ์ ที่ก่อให้เกิดการอยากเสพ

หลังจากคุณกลับไปอยู่ที่บ้าน นักจิตบำบัดจะติดต่อกับคุณทางโทรศัพท์ตามตารางการดูแลหลังการบำบัด เพื่อติดตามความคืบหน้าว่าคุณรับมือกับปัญหาและปัจจัยกระตุ้นได้ดีเพียงใดเมื่อกลับไปอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม ได้ใช้เครื่องมือต่างๆ ที่ได้เรียนรู้ระหว่างการรักษาหรือไม่ มีเป้าหมายร่วมกับครอบครัวอย่างไรบ้าง ฯลฯ และนำข้อมูลที่ได้มาใช้ปรับแผนการป้องกันการกลับไปเสพติดซ้ำให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงต่อไป

หนึ่งวัน ที่เดอะดอว์น​

เราเชื่อในการเยียวยาตัวบุคคลอย่างรอบด้านด้วยหลักสูตรจิตบำบัดอย่างเข้มข้น ควบคู่กับการฝึกสมาธิ การผ่อนคลาย และกิจกรรมนันทนาการ ซึ่งทุกองค์ประกอบต่างมีบทบาทสำคัญในการบำบัด ตัวอย่างตารางกิจกรรมในหนึ่งวันที่เดอะดอว์น มีดังนี้

07:00-08:00 : โยคะ/เจริญสมาธิ
08:00-09:00 : อาหารเช้า
09:00-09:30 : ตรวจสุขภาพประจำวัน
09:30-11:00 : จิตบำบัดกลุ่ม
11:00-12:00 : ออกกำลังกายกลุ่ม
12:00-13:00 : อาหารเที่ยง
13:00-14:00 : จิตบำบัดกลุ่ม
14:30-17:30 : กิจกรรมและการบำบัดตามตารางรายบุคคล
–  จิตบำบัดเดี่ยว
–  ออกกำลังกาย
–  ออปชั่น TMS
18:00-19:00 : อาหารเย็น
22:00: เข้านอน

ให้เราช่วยคุณเริ่มต้นการเดินทางสู่สุขภาวะที่ดีตั้งแต่วันนี้

ประกาศ

ณ ปัจจุบัน ศูนย์ของเรา ได้ยุติการให้บริการบำบัดภาคภาษาไทย 

เดอะดอว์นขอขอบคุณทุกความไว้วางใจมา ณ ที่นี้









ประกาศ

ณ ปัจจุบัน ศูนย์ของเรา ได้ยุติการให้บริการบำบัดภาคภาษาไทย

เดอะดอว์นขอขอบคุณทุกความไว้วางใจมา ณ ที่นี้

ให้เราช่วยคุณเริ่มต้นการเดินทางสู่สุขภาวะที่ดีตั้งแต่วันนี้

โทร: 083 204 8384