การบำบัดแบบเสริมสร้างแรงจูงใจ

ภาวะเสพติดเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยยา แต่ต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เข้ารับการบำบัดเกิดแรงจูงใจและความตั้งใจมั่นที่จะเปลี่ยนด้วยตัวเอง ดังนั้นการเสริมสร้างแรงจูงใจจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

หนึ่งในเทคนิคหลักที่ทีมนักจิตวิทยาคลินิกของเดอะดอว์นใช้ในการรักษาผู้มีปัญหาภาวะเสพติดและสุขภาพจิต คือ การบำบัดแบบเสริมสร้างแรงจูงใจ (Motivational Interviewing: MI) การบำบัดวิธีนี้มีจุดเริ่มต้นจากงานวิจัยในกลุ่มผู้ติดสุราเมื่อต้นทศวรรษ 1980 ซึ่งพบว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มสุราอาจเกิดขึ้นจากความตั้งใจของนักดื่มเอง และส่งผลเทียบเท่าการบำบัดจากนักบำบัดโดยตรง และในเวลาต่อมาก็มีการศึกษาอีกหลายครั้งที่ยืนยันผลการค้นพบดังกล่าว

ในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้หลักการบำบัดแบบเสริมสร้างแรงจูงใจกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตที่ต้องแก้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น

  • โรคซึมเศร้า
  • โรควิตกกังวล
  • เสพติดยาตามใบสั่งแพทย์
  • เสพติดสารผิดกฎหมาย
  • ติดการพนัน
  • ติดสื่อลามกอนาจารหรือ
  • ติดเซ็กซ์

แรงจูงใจกับการบำบัดภาวะเสพติด

ดังที่กล่าวไปแล้วว่าการบำบัดภาวะเสพติดจะมีความก้าวหน้าหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับแรงจูงใจของผู้เข้ารับการรักษาเป็นสำคัญ การบำบัดแบบเสริมสร้างแรงบันดาลใจหรือ MI มีพื้นฐานมาจากความเชื่อที่ว่า

  • แรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจะเกิดขึ้นในบรรยากาศของความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้การปรึกษากับผู้รับการบำบัด
  • ท่าทีของผู้ให้การปรึกษา โดยเฉพาะความเห็นอกเห็นใจ เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การบำบัดประสบความสำเร็จ

การบำบัดด้วยวิธีนี้เป็นการสนทนาเพื่อสร้างแรงจูงใจจากภายในและความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง โดยนักบำบัดจะทำตามหลักการต่อไปนี้

  1. แสดงความเห็นอกเห็นใจผู้เข้ารับการบำบัด
  2. ชี้ให้ผู้รับการบำบัดเห็นถึงความขัดแย้งระหว่างความมุ่งหวังหรือเป้าหมายของตนกับสิ่งที่ตนทำอยู่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนแปลง
  3. หลีกเลี่ยงการโต้แย้ง
  4. โอนอ่อนตามแรงต้าน ให้ผู้เข้ารับการบำบัดมองปัญหาใหม่ โดยไม่ยัดเยียดเป้าหมายหรือมุมมองใหม่
  5. สนับสนุนให้ผู้รับการบำบัดเกิดความเชื่อมั่นว่าตนสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบำบัดแบบเสริมสร้างแรงจูงใจ​

สปิริตของการบำบัดแบบเสริมสร้างแรงบันดาลใจ

สาเหตุที่ทำให้การบำบัดแบบเสริมสร้างแรงบันดาลใจใช้ได้ผลดีทั้งกับผู้มีภาวะเสพติด และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตหรือสุขภาพกายที่ต้องแก้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เกิดจากจิตวิญญาณหรือสปิริตของ MI ซึ่งประกอบด้วย

  • ความร่วมมือ นักบำบัดพยายามมองสถานการณ์จากมุมมองของผู้เข้ารับการบำบัด เพราะไม่มีใครเข้าใจประสบการณ์ของผู้เข้ารับการบำบัดดีกว่าเจ้าตัว
  • ดึงความต้องการจากภายใน นักบำบัดจะไม่ใช้วิธีเผชิญหน้า กดดัน กล่าวโทษ หรือตัดสินว่าสิ่งที่ผู้เข้ารับการบำบัดทำนั้นถูกหรือผิด แต่จะพูดคุยกันฉันมิตร ชักชวนให้ผู้เข้ารับการรักษาสำรวจความรู้สึกของตัวเอง และช่วยให้เขาหรือเธอค้นหาแรงจูงใจในการเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตัวเอง
  • ให้อำนาจในการตัดสินใจ นักบำบัดทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุน ขณะที่ผู้เข้ารับการบำบัดเป็นผู้ตัดสินใจและค้นพบข้อสรุปของตัวเอง โดยไม่รู้สึกว่ามีแรงกดดันให้ทำเช่นนั้น

ความสำเร็จของทีมงานเดอะดอว์นในการบำบัดผู้มีปัญหาภาวะเสพติดและสุขภาพจิตกว่า 300 คนจนหายดี สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ เป็นข้อพิสูจน์ส่วนหนึ่งว่าการบำบัดแบบเสริมสร้างแรงบันดาลใจ เป็นวิธีที่ได้ผลจริง

ให้เราช่วยคุณเริ่มต้นการเดินทางสู่สุขภาวะที่ดีตั้งแต่วันนี้

ประกาศ

ณ ปัจจุบัน ศูนย์ของเรา ได้ยุติการให้บริการบำบัดภาคภาษาไทย 

เดอะดอว์นขอขอบคุณทุกความไว้วางใจมา ณ ที่นี้









ประกาศ

ณ ปัจจุบัน ศูนย์ของเรา ได้ยุติการให้บริการบำบัดภาคภาษาไทย

เดอะดอว์นขอขอบคุณทุกความไว้วางใจมา ณ ที่นี้

ให้เราช่วยคุณเริ่มต้นการเดินทางสู่สุขภาวะที่ดีตั้งแต่วันนี้

โทร: 083 204 8384