มาทำความเข้าใจถึงเหตุผลที่ผู้เสพติดมักเชื่อว่าพวกเค้าไม่จำเป็นต้องเข้ารับการบำบัดได้จากบทความนี้

ทำไมผู้ตกเป็นทาสยาเสพติดจึงไม่ยอมรับการบำบัดรักษา — เหตุผลที่คุณควรเข้าใจเพื่อที่จะช่วยพวกเขา

ยาเสพติดสามารถบ่อนทำลายชีวิตคนเราได้ในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะชีวิตครอบครัว หน้าที่การงาน หรือสุขภาพ และถึงแม้ผู้ที่มีปัญหาการเสพติดจะรู้ดีถึงอันตรายของมัน หากผู้เสพติดจำนวนไม่น้อยมักไม่ยอมเข้ารับการบำบัดรักษา วันนี้เรามาทำความเข้าใจถึงเหตุผลที่ผู้เสพติดมักเชื่อว่าพวกเค้าไม่จำเป็นต้องเข้ารับการบำบัด

สำหรับผู้คนที่มีปัญหาการเสพติดแล้ว พวกเขาเข้าใจดีว่า การเสพติดยาหรือเสพติดสุรา มักจะมีผลเสียและทำลายชีวิตของพวกเขา และส่วนใหญ่แล้วพวกเขาก็เกลียดการเสพติดของตัวเอง และแม้กระทั่งเกลียดตัวเอง แต่กระนั้นก็ตาม ผู้ที่มีปัญหาการเสพติดจำนวนมากก็ปฎิเสธที่จะเข้ารับการบำบัดรักษา จากรายงานยาเสพติดโลกประจำปี 2019 โดยสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ ระบุว่า ในแต่ละปีมีผู้ที่ใช้ยาเสพติดได้รับการรักษาเพียง 1 ใน 7 เท่านั้น

ในประเทศไทย สถานการณ์ผู้ใช้สารเสพติดของประเทศไทย จากรายงานในปี 2562 พบว่าผู้ใช้สารเสพติดชนิดใดชนิดหนึ่งภายในหนึ่งปีมีจำนวนถึง 1.4 ล้านคน แต่สถิติของผู้เข้ารับการบำบัดในปี 2562 มีผู้เข้ารับการบำบัดรักษาเพียง 240,547 ราย และในปี 2563 สถิติของผู้เข้ารับการบำบัดรักษาก็ลดลงเหลือ 194,184 ราย

ถึงแม้การเสพติดจะทำให้เกิดความเจ็บปวดและผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตมากเพียงใดก็ตาม และถึงแม้ตัวเลือกในการบำบัดรักษาในปัจจุบันจะดีขึ้นกว่าแต่ก่อนเป็นอย่างมาก แต่ทำไมผู้เสพติดจำนวนมากถึงยังไม่ยอมรับการช่วยเหลืออีก 

การศึกษาวิจัยชี้ว่า ผู้ที่ไม่เข้ารับการบำบัดการเสพติดมีอยู่ 3 ประเภทใหญ่ก็คือ 

  • ผู้ที่ไม่คิดว่าตัวเองจำเป็นต้องรับการบำบัด 
  • ผู้ที่เชื่อว่าตัวเองจำเป็นต้องบำบัดแต่ไม่ยอมแสวงหาความช่วยเหลือ
  • และผู้ที่ต้องการรับการบำบัดแต่ไม่ได้รับการบำบัด 

การทำความเข้าใจเหตุผลของการไม่ยอมรับความช่วยเหลือของคนเหล่านี้ อาจทำให้เราสามารถช่วยเหลือพวกเขาได้ 

1. ผู้เสพติดที่ไม่คิดว่าตัวเองจำเป็นต้องรับการบำบัดรักษา

ในสามกลุ่มของผู้ที่จำเป็นต้องรับการบำบัดรักษาแต่ไม่ยอมรับการบำบัดรักษา กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดราว 95 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด และไม่ต้องสงสัยเลยว่า บางคนในกลุ่มนี้โดยแท้จริงแล้วไม่เชื่อว่าตัวเองมีปัญหา 

  • ยึดติดภาพลักษณ์ในแง่ลบของผู้ติดยาเสพติด 

คนจำนวนมากที่มีปัญหาการเสพติดที่จำเป็นต้องจัดการ พวกเขาอาจอยู่ในบ้านหลังใหญ่ มีรถหรูๆ ขับ มีงานการที่ดี และพวกเขาก็มองว่าทั้งหมดนี้คือหลักฐานว่าตัวเองไม่มีปัญหาใดๆ พวกเขาอาจมีภาพแบบตายตัวของการเสพติดอยู่ในหัว และเพราะตัวเองไม่ตรงกับภาพนั้น ก็คิดเอาเองว่าตัวเองไม่มีปัญหาใดๆ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้คนที่ประสบความสำเร็จจำนวนไม่น้อยนั้นมีปัญหาการเสพติด และถึงแม้พวกเขาจะสามารถทำให้สิ่งต่างๆ ให้อยู่ในร่องในรอยได้ชั่วขณะ แต่ในที่สุดแล้ว การเสพติดก็จะเริ่มส่งผลกระทบต่อชีวิต การเงิน และความสัมพันธ์ จนท้ายที่สุดการจัดการหรือรับมือกับการเสพติดก็จะยากยิ่งกว่าเดิม

  • ไม่ยอมรับความจริงว่ามีปัญหาเสพติด

ผู้ที่ไม่คิดว่าตัวเองจำเป็นต้องรับการบำบัดยาเสพติดส่วนใหญ่แล้ว ก็เพียงแค่ไม่ยอมรับความจริง พวกเขาอาจรู้อยู่ในระดับหนึ่งว่า ตัวเองมีปัญหากับการใช้สิ่งเสพติด แต่ก็ไม่สามารถยอมรับกับสิ่งที่คนอื่นพยายามจะเตือน หรือแม้แต่ยอมรับความปัญหาเสพติดที่ตนเองกำลังเผชิญอยู่ได้ 

การจะตำหนิติเตียนผู้ที่ไม่ยอมรับความจริงว่าตัวเองกำลังมีปัญหาการเสพติดอาจเป็นเรื่องง่าย แต่สำหรับผู้ติดยาเสพติดแล้ว การจะเผชิญหน้ากับปัญหาการเสพติดของตัวเองไม่ใช่เรื่องง่ายเลย การเผชิญหน้ากับความจริงหมายความว่า คุณไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมและชีวิตของตัวเองได้แล้ว และคุณก็จะเผชิญหน้ากับแรงกดดันอย่างหนักที่จะต้องจัดการอะไรบางอย่างกับเรื่องนี้ คุณต้องเลิกใช้มันเป็นเครื่องบรรเทาความทุกข์และหลีกหนีจากปัญหาชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัวสำหรับคุณ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ติดยาเสพติดส่วนใหญ่พยายามหลีกเลี่ยงมาตั้งแต่แรก จนนำพาตัวเองไปสู่การเสพติด ดังนั้น การจะช่วยให้ใครสักคนที่ไม่ยอมเชื่อว่าตัวเองจำเป็นต้องรับการบำบัดรักษา ก้าวผ่านขั้นตอนแรกนี้ไปได้ จึงต้องใช้ความเห็นอกเห็นใจและความเข้าใจเป็นอย่างมาก

2. ผู้ที่เชื่อว่าตัวเองจำเป็นต้องรับการรักษาแต่ไม่ไปรับการรักษา

กลุ่มของผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือแต่ไม่ยอมรับความช่วยเหลือ มีจำนวนราว 4 เปอร์เซ็นต์ นี่เป็นกลุ่มของผู้ที่เห็นชัดเจนว่า พฤติกรรมการเสพติดนั้นบ่อนทำลายตัวเองเพียงใด และอาจต้องการที่จะขอความช่วยเหลือ แต่กลับไม่ทำเช่นนั้น ซึ่งมีเหตุผลหลายอย่างเช่น

  • ไม่พร้อมที่จะยุติการเสพติด

เกือบ 40 เปอร์เซ็นของคนกลุ่มนี้เพียงแค่ “ไม่พร้อมที่จะยุติการเสพติด” และพวกเขาอาจไม่รู้สึกที่อยากจะพยายามเลิกยามาก่อนก็เป็นได้ นี่อาจฟังดูเป็นเรื่องแปลก การที่พวกเขาเห็นว่ามีปัญหาแต่กลับไม่พร้อมที่จะทำอะไรกับปัญหานั้น อาจเพราะความเชื่อผิดๆ ที่เป็นอันตรายว่า พวกเขาจำเป็นต้องตกลงสู่ “จุดต่ำสุด” เสียก่อนจึงจะยอมรับถึงปัญหาและก้าวเข้าสู่การเลิกเสพติดได้

  • กลัวว่าไม่สามารถจ่ายค่าบำบัดรักษาได้ 

คนกลุ่มนี้มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์พร้อมที่จะรับความช่วยเหลือ แต่อาจไม่คิดว่าตัวเองจะสามารถจ่ายค่าบำบัดรักษาได้ ส่วนใหญ่เป็นเพราะพวกเขาไม่มีประกันสุขภาพ ไม่รู้จะขอความช่วยเหลือจากที่ไหนดีราว 13 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มนี้ไม่รู้ว่าจะขอความช่วยเหลือได้จากที่ใด หรือ สถานบำบัดยาเสพติดเอกชนที่ไหนดี 

  • กังวลว่าจะกระทบหน้าที่การงานและชื่อเสียง

มีเพียงแค่ 12 เปอร์เซ็นต์ ที่เป็นกังวลว่าการบำบัดรักษาจะส่งผลกระทบในแง่ลบต่อหน้าที่การงานของตัวเอง และน้อยกว่า 12 เปอร์เซ็นต์ที่เป็นห่วงว่าจะทำให้ตัวเองเสียชื่อเสียง เมื่อพวกเขาตัดสินใจเข้ารับการบำบัดรักษา 

ความกังวลว่าการบำบัดยาเสพติดจะส่งผลกระทบต่อการงานหรือชื่อเสียงของตัวเอง เป็นความคิดที่ผิดที่ผิดทางเป็นอย่างยิ่ง เพราะในท้ายที่สุดแล้ว การติดยาเสพติดจะส่งผลกระทบมากเสียยิ่งกว่าการเข้ารับการบำบัดรักษา 

3. ผู้ที่ต้องการรับการบำบัดรักษาแต่ไม่ได้รับ

โชคดีที่ว่ากลุ่มนี้มีจำนวนน้อยมาก มีเพียงแค่มากกว่าหนึ่งเปอร์เซ็นต์เล็กน้อยเท่านั้น โดยเกือบ 30 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มนี้ก็เพียงแค่ไม่พร้อมที่จะเลิกยาเสพติด ราว 27 เปอร์เซ็นต์ไม่สามารถจ่ายค่าบำบัดรักษาได้ และราว 13 เปอร์เซ็นต์สามารถเลิกยาเสพติดได้เองโดยไม่ต้องบำบัดรักษา เหตุผลอื่นๆ ก็อย่างเช่น ไม่สามารถหาแผนการบำบัดรักษาที่เหมาะสมได้ ไม่สามารถเดินทางไปได้ และไม่รู้ว่าสถานบำบัดยาเสพติดเอกชนที่ไหนดี ยังมีคนจำนวนเพียงเล็กน้อยของกลุ่มนี้ที่เป็นกังวลด้วยว่าจะส่งผลกระทบต่องานและชื่อเสียงของตนเอง

การตัดสินใจที่จะเข้ารับการบำบัดรักษาไม่ใช่เรื่องง่าย การศึกษาบางชิ้นแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงของสมองที่เกิดจากการเสพติด ทำให้รูปแบบการรับรู้สิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป นี่หมายความว่าผู้ที่มีปัญหาการเสพติด ที่จริงแล้วอาจมีความยากลำบากอย่างมากในการรับรู้และยอมรับสิ่งนี้ ถึงแม้ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับคนอื่นๆ ถึงแม้พวกเขาจะตระหนักถึงปัญหา แต่การยอมรับก็เป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมากต่อสำนึกในเรื่องตัวตนและความปลอดภัยของตัวเอง จึงเป็นเรื่องปกติอย่างยิ่งที่จะกลัวการเผชิญหน้ากับการเสพติด แต่ผลที่ตามมาจากการไม่ยอมเผชิญหน้ากับการเสพติดต่างหาก..ที่เลวร้ายยิ่งกว่า

ช่วยเหลือผู้เสพติดให้มีชีวิตที่สดใสได้อีกครั้ง ที่เดอะดอว์น เชียงใหม่

 

ศูนย์บำบัดยาเสพติด เดอะดอว์น เชียงใหม่ให้สามารถช่วยบำบัดผู้ติดยาเสพติดให้กลับมามีชีวิตที่สดใสได้อีกครั้งโดยไม่กลับไปพึ่งพาสิ่งเสพติด

หากคุณหรือคนที่คุณรักมีปัญหาการเสพติด และกำลังมองหาแนวทางการบำบัดรักษา ศูนย์บำบัดยาเสพติด เอกชน เดอะดอว์น สามารถช่วยคุณได้ เราเป็นศูนย์บำบัดยาเสพติดที่ได้รับความเชื่อมั่นและไว้วางใจจากหลายครอบครัวในการช่วยเหลือผู้เสพติดให้กลับไปใช้ชีวิตที่ปกติสุขได้อีกครั้งโดยไม่พึ่งพายาเสพติด หรือเราใช้วิธีในการบำบัดรักษาที่ล้ำสมัยที่เรียกว่า แนวทางบำบัดรักษาแบบองค์รวม ซึ่งประกอบด้วยเทคนิคจิตบำบัดต่างๆ เช่น การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (CBT) ควบคู่ไปกับ การพัฒนาสุขภาวะแบบองค์รวม ที่สามารถช่วยบำบัดรักษาภาวะเสพติดได้เป็นอย่างดี 

นอกจากนี้ เรายังมีการทำครอบครัวบำบัดโดยที่ครอบครัวจะได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำความเข้าใจถึงภาวะเสพติดของผู้เข้ารับบำบัดและเรียนรู้วิธีการรับมือหลังจากการบำบัดเสร็จ ซึ่งข้อมูลการเข้ารับการรักษาของทุกท่านจะถูกเก็บเป็นความลับ 

ทุกปัญหาของการเสพติดและปัญหาสุขภาพจิตเป็นสิ่งที่สามารถบำบัดรักษาได้ หากคุณหรือคนที่คุณรักสนใจเข้ารับการบำบัดยาเสพติดแบบอยู่ประจำที่ศูนย์ของเรา โปรดติดต่อแผนกแรกรับของเราวันนี้ เพื่อรับทราบขั้นตอนและกระบวนการต่างๆ ที่จะช่วยนำพาชีวิตของคุณหรือคนที่คุณรักกลับสู่เส้นทางที่ปกติสุขเช่นเดิม

ประกาศ

ณ ปัจจุบัน ศูนย์ของเรา ได้ยุติการให้บริการบำบัดภาคภาษาไทย

เดอะดอว์นขอขอบคุณทุกความไว้วางใจมา ณ ที่นี้

ให้เราช่วยคุณเริ่มต้นการเดินทางสู่สุขภาวะที่ดีตั้งแต่วันนี้

โทร: 083 204 8384