ความสัมพันธ์ระหว่างโรคสมาธิสั้นกับการเสพติดเป็นสิ่งที่หลายคนอาจมองข้ามหรือไม่รู้มาก่อน เรียนรู้ความเสี่ยงได้จากบทความนี้

โรคสมาธิสั้นกับการเสพติด..ความเสี่ยงที่คุณอาจนึกไม่ถึง

ความสัมพันธ์ระหว่างโรคสมาธิสั้นกับการเสพติดเป็นสิ่งที่หลายคนอาจมองข้ามหรือไม่รู้มาก่อน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่อาจกลายเป็นปัญหาร้ายแรงได้ การทำความเข้าใจให้มากขึ้นเกี่ยวกับสาเหตุและปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังความสัมพันธ์นี้ สามารถให้ความถ่องแท้ถึงวิธีป้องกันไม่ให้เกิดการพึ่งพิงสิ่งเสพติดเช่นนี้ รวมถึงวิธีรักษาการเสพติดที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ความเป็นไปได้ในการเสพติดสำหรับผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder หรือ ADHD) อาจเป็นสิ่งที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ แต่ในขณะที่โอกาสในการใช้สิ่งเสพติดในกลุ่มประชากรทั่วไปตลอดทั้งชีวิตอยู่ที่ราวร้อยละ 25 ซึ่งจำนวนนี้จะพุ่งขึ้นสูงเกือบร้อยละ 50 ในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้น โดยผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีแนวโน้มอย่างมากที่จะมีปัญหากับพฤติกรรมเสพติด อย่างเช่น การพนัน การติดอินเทอร์เน็ต และการช้อปปิ้ง 

ส่วนใหญ่แล้ว ความเป็นไปได้ในการเสพติดที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้น มาจากปัจจัยหลักๆ สองประการ ปัจจัยแรกก็คือ ความพยายามที่จะเยียวยาตัวเองเพื่อจัดการกับอาการของโรคสมาธิสั้น ซึ่งมักมีอาการวิตกกังวล และมีปัญหาในการรวบรวมสมาธิเป็นอย่างมาก ปัจจัยที่สองก็คือ การแสวงหาความตื่นเต้น และความสุข ด้วยความปรารถนาที่จะได้รับความพึงพอใจในทันที ปัจจัยเหล่านี้สามารถนำไปสู่การเลือกทำในสิ่งที่มีความเสี่ยง และนำไปสู่การเสพติดได้ในที่สุด

การตระหนักถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างโรคสมาธิสั้นกับการเสพติด การแยกแยะความแตกต่างของสภาวะสมาธิสั้นแต่ละประเภท และการสร้างกลไกการรับมือที่ดีกับอาการของสภาวะสมาธิสั้น จะมีผลอย่างมากในการช่วยป้องกันการเสพติด

รู้จักกับโรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้นเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะแสดงอาการตั้งแต่วัยเด็ก แต่อาจไม่ได้รับการวินิจฉัยจนกระทั่งอายุมากขึ้น โรคสมาธิสั้นส่งผลกระทบต่อสมาธิ การจดจ่อกับสิ่งต่างๆ และการควบคุมอารมณ์ จึงสามารถรบกวนการเรียน การทำงาน และความสัมพันธ์กับคนอื่นได้อย่างมาก

โดยปกติโรคสมาธิสั้นจะมีอาการผิดปกติทางด้านพฤติกรรมที่พบได้หลักๆ สามประเภทก็คือ ประเภทที่ขาดสมาธิต่อเนื่อง (inattentive) ประเภทที่ไม่อยู่นิ่ง (hyperactive) หรือหุนหันพลันแล่น ขาดความยั้งคิด (impulsive) หรือสองประเภทผสมสานกัน โดยประเภทที่ขาดสมาธิต่อเนื่องและประเภทที่ไม่อยู่นิ่งหรือหุนหันพลันแล่น มีกลุ่มอาการที่แตกต่างกัน โดยประเภทที่มีกลุ่มอาการผสมผสานกันจะมีอาการของทั้งสองประเภท

อาการประเภทที่ 1 ขาดสมาธิต่อเนื่อง

  • เหม่อลอย หรือฝันกลางวันบ่อยๆ
  • วอกแวกได้ง่าย
  • มีปัญหาในการติดตามงาน หรือทำงานให้เสร็จ
  • ชอบทำของหาย หรือวางของผิดที่ผิดทาง
  • ไม่มีระเบียบทั้งทางร่างกาย และจิตใจ
  • ลืมทำภารกิจประจำวันอยู่บ่อยๆ
  • หลีกเลี่ยง หรือไม่ชอบทำสิ่งที่ต้องใช้สมาธิจดจ่อเป็นเวลานานๆ

อาการประเภทที่ 2 ไม่อยู่นิ่งหรือหุนหันพลันแล่น

  • ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ หรือไม่สามารถห้ามตัวเองไม่ให้วิ่ง หรือปีนป่ายในเวลาที่ไม่เหมาะสม
  • พูดมาก ชอบพูดโพล่ง หรือพูดแทรกคนอื่น
  • ยุกยิกตลอดเวลา
  • ไม่สามารถที่จะทำอะไรแบบเงียบๆ ได้
  • ไม่สามารถผลัดกันทำงานกับคนอื่นได้ รอคอยไม่ได้
  • มีแนวโน้มที่จะก้าวก่ายการกระทำของคนอื่น หรืออาจเข้าไปทำในสิ่งที่ไม่ได้รับอนุญาต

อาการของโรคสมาธิสั้นเป็นอาการที่จะไม่หายไปเอง และมักทำให้ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจในกิจวัตรประจำวัน หรือสิ่งที่ต้องรับผิดชอบได้ จึงเป็นเรื่องปกติที่คนที่มีภาวะสมาธิสั้นจะหาวิธีที่จะจัดการกับอาการของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการพยายามจัดการด้วยตนเอง หรือการขอความช่วยเหลือจากมืออาชีพ

โรคสมาธิสั้นสามารถวินิจฉัยได้ด้วยการประเมินประวัติของอาการจากอดีตและในปัจจุบัน รวมถึงการคัดกรองทางการแพทย์ เพื่อที่จะแยกแยะอาการต่างๆ การได้รับการวินิจฉัยโรคจึงเป็นขั้นตอนสำคัญอย่างมากที่จะทำให้เข้าใจโรคสมาธิสั้นได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงเริ่มต้นหาหนทางที่เป็นไปได้ในการรักษา

โรคสมาธิสั้นและการเสพติดแบบต่างๆ

มีปัจจัยเบื้องลึกที่แตกต่างกันหลายประการที่อยู่เบื้องหลังของการเสพติดในกลุ่มคนที่เป็นโรคสมาธิสั้น และการแยกแยะให้ได้ว่ามีปัจจัยอะไรบ้าง หรือปัจจัยอะไรที่เชื่อมโยงกับการเสพติด จะเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาการเสพติดที่ประสบความสำเร็จ 

  • การเยียวยาตัวเองเพื่อจัดการกับปัญหาเรื่องสมาธิ

ผู้ที่ไม่ได้รับวินิจฉัยและรักษาโรคสมาธิสั้น มักจะมองหาหนทางที่จะจัดการกับปัญหาในเรื่องสมาธิและการจดจ่อกับสิ่งต่างๆ ของตนเอง โดยคาเฟอีนและนิโคตินในกาแฟและบุหรี่เป็นสารกระตุ้นอ่อนๆ ที่หลายคนอาจใช้เพื่อกระตุ้นให้มีสมาธิ ซึ่งสามารถนำไปสู่การเสพติดสารกระตุ้นเหล่านี้อย่างต่อเนื่องในแต่ละวัน เพื่อพยายามจัดการกับอาการของตัวเอง ซึ่งผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารกระตุ้นเหล่านี้เป็นจำนวนมากในแต่ละวันอาจร้ายแรงได้ 

ส่วนผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้นและเข้ารับการรักษา มักจะได้รับยา อย่างเช่น Adderall, Vyvanse หรือ Ritalin โดยยากลุ่มนี้อาจมีประสิทธิภาพในการจัดการกับอาการของภาวะสมาธิสั้น แต่ก็มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดการเสพติดได้ด้วย จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากที่จะต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์ในเรื่องปริมาณยาที่ใช้ และวิธีใช้ยาเหล่านี้ เพื่อจำกัดความเสี่ยงที่จะเกิดการเสพติด

  • การเยียวยาตัวเองเพื่อจัดการกับความเครียด

อาการของโรคสมาธิสั้นเป็นสาเหตุสำคัญที่รบกวนชีวิตประจำวันของคนๆ นั้น ซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมากต่อความสามารถในการตั้งสมาธิเพื่อทำงาน หรือการมีปฎิสัมพันธ์ทางสังคมที่เหมาะสม ทำให้ส่งผลเสียต่อการเรียน หรือการทำงานได้

นอกจากนี้โรคสมาธิสั้นประเภทหุนหันพลันแล่น ขาดความยั้งคิด สามารถส่งผลต่อการจัดการชีวิตหลายอย่าง อย่างเช่นเกิดปัญหาในการจัดการการเงินที่ทำให้เกิดความเครียดมากขึ้น และเป็นสิ่งที่ผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้นรับมือได้ยาก ปัจจัยความเครียดเหล่านี้สามารถเพิ่มโอกาสในการเสพติด เนื่องจากคนเรามักมองหาหนทางที่จะหลีกเลี่ยงความรู้สึกวิตกกังวล การถูกปฏิเสธ หรือความสงสัยในตนเอง

การหันไปหาแอลกอฮอล์เพื่อที่จะบรรเทาความรู้สึกวิตกกังวล หรือซึมเศร้า เป็นสิ่งที่พบได้บ่อย หรือการใช้ตัวช่วยการนอนหลับอย่างยานอนหลับ หรือยาระงับประสาทอย่างอ่อน เพื่อช่วยให้นอนหลับ หรือหลับได้นานขึ้น ซึ่งมักเป็นปัญหาสำหรับผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องรับมือกับความเครียด ซึ่งยาเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเสพติดได้ และต้องใช้ตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

  • การตอบสนองต่อความต้องการสิ่งใหม่ๆ และความตื่นเต้น

ส่วนหนึ่งของการทำความเข้าใจความต้องการนี้ และความสัมพันธ์กับการเสพติดก็คือ การทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่าสมองของผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้นทำงานอย่างไร สมองของผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้นนั้นปรับตามสิ่งที่กระตุ้นสมองในแบบที่ไม่เหมือนคนอื่น ทำให้เกิดการหลั่งโดพามีนซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ทำให้ “รู้สึกดี” ทุกครั้งที่พบกับสิ่งใหม่ๆ และความตื่นเต้น โดยสมองของผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะปรับตัวไปตามแรงกระตุ้นภายในมากกว่าความต้องการภายนอก ซึ่งช่วยอธิบายได้ว่า ทำไมความปรารถนาของผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้นแตกต่างจากความคิดของคนทั่วไป ที่จริงแล้วสมองของคนที่เป็นโรคสมาธิสั้นสร้างโดพามีนที่จะให้รางวัลตัวเองได้น้อยกว่าในคนทั่วไป ผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้นจึงแสวงหาสิ่งที่จะให้รางวัลตัวเองมากหรือบ่อยกว่าคนทั่วไป ซึ่งโดยปกติแล้วมักเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความพึงพอใจในทันที หรือในปริมาณมากๆ หรือเกิดขึ้นซ้ำๆ

การหันเข้าสู่ การเล่นพนันออนไลน์ เซ็กซ์ การใช้สารเสพติด การช้อปปิ้ง และแม้กระทั่งการใช้อินเทอร์เน็ต สามารถส่งผลให้เกิดการสูบฉีดโดพามีนที่เพิ่มความตื่นเต้นและความเพลิดเพลิน ซึ่งสำหรับสมองของผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้นนั้น จะมีปัญหาในการสร้างโดพามีนจากสิ่งปกติทั่วไป การทำกิจกรรมเหล่านี้จึงสามารถกระตุ้นให้เกิดการพึ่งพิงและเสพติดสิ่งต่างๆที่กล่าวมาได้

การรักษาโรคสมาธิสั้นและการเสพติด

สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าหนึ่งประเภท เรียกได้ว่าการมีภาวะโรคร่วม (dual diagnosis) หรือความผิดปกติทางจิตที่เกิดร่วมกับการมีภาวะเสพติด ซึ่งผู้ที่ประสบปัญหาภาวะโรคร่วม ควรได้รับความช่วยเหลือจากมืออาชีพเพื่อที่จะระบุถึงความซับซ้อนและปฏิสัมพันธ์ของโรคที่ซ้อนทับกันอยู่เหล่านี้ได้ดีกว่า สำหรับผู้ที่ถูกวินิจฉัยว่ามีทั้งอาการสมาธิสั้นและมีการเสพติด แผนการรักษาแบบองค์รวมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในการระบุถึงปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการเสพติด รวมถึงการจัดการที่เหมาะสมสำหรับอาการต่างๆ และความเครียดที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากภาวะสมาธิสั้น

ทำความเข้าใจและเรียนรู้การควบคุมตัวเองที่เดอะดอว์น

ศูนย์บำบัดยาเสพติด เดอะดอว์น เชียงใหม่ ช่วยผู้ที่ประสบปัญหาโรคสมาธิสั้นและมีภาวะเสพติดร่วมด้วยให้กับมามีชีวิตที่สดใสได้อีกครั้ง

ศูนย์บำบัดยาเสพติด เอกชนและฟื้นฟูสุขภาพจิต เดอะดอว์น เชียงใหม่ ให้บริการการรักษาแบบอยู่ประจำ สำหรับผู้ที่ต้องการเอาชนะการเสพติดและจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตของตัวเองไปพร้อมกัน ทีมงานของเรามีประสบการณ์สูงในการเอาชนะการเสพติด และจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตต่างๆ รวมถึงผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้น และมีปัญหาการเสพติด

แผนการรักษาแบบองค์รวมของเราผสมผสานวิธีการใช้จิตบำบัดร่วมกับการดูแลสุขภาวะแบบองค์รวม อย่างเช่นการทำสมาธิ โยคะ การออกกำลังกาย เพื่อส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้ดีขึ้น และสร้างความเชื่อมโยงที่ดีระหว่างร่างกายและจิตใจ เราดูแลผู้เข้ารับการรักษาทุกคนอย่างใกล้ชิดเพื่อจัดการกับสาเหตุที่เป็นรากเหง้าที่แท้จริงของอาการของคุณ

หากคุณสนใจเข้ารับการบำบัดแบบอยู่ประจำ โทรหาแผนกแรกรับของเราตอนนี้ เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการรักษาของเรา รวมถึงวิธีที่เราสามารถช่วยให้คุณก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมีความสุขและมีสุขภาพดีได้

ประกาศ

ณ ปัจจุบัน ศูนย์ของเรา ได้ยุติการให้บริการบำบัดภาคภาษาไทย

เดอะดอว์นขอขอบคุณทุกความไว้วางใจมา ณ ที่นี้

ให้เราช่วยคุณเริ่มต้นการเดินทางสู่สุขภาวะที่ดีตั้งแต่วันนี้

โทร: 083 204 8384