Blog

อ่านวิธีการที่จะช่วยคนที่คุณรักเลิกยาไอซ์อย่างได้ผล ถึงแม้เค้าไม่ได้สมัครใจเข้ารับการบำบัดตั้งแต่แรก

การรักษาการติดยาไอซ์..ถึงจะไม่สมัครใจแต่ก็ได้ผล

ที่จริงแล้วคนส่วนใหญ่ที่กำลังติดยาเสพติด เช่น ยาไอซ์ มักจะไม่อยากเข้าสถานบำบัด แต่ถึงจะมีการต่อต้าน ก็มีเหตุผลที่ชี้ว่า การผลักดันผู้เสพติดยาไอซ์ให้เข้าสู่การรักษา ก็สามารถมีประสิทธิภาพในการช่วยเค้าเหล่านั้นเข้าสู่เส้นทางการเลิกเสพ การเสพติดยาไอซ์ในประเทศไทยดูจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น สังเกตได้จากสถิติการจับกุมยาไอซ์ที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ทำให้มีแนวโน้มการระบาดเพิ่มมากขึ้น เห็นได้จากผู้เสพติดยาไอซ์ที่เข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้นโดยส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในวัยทำงาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ก็ยังอาจมีผู้เสพติดอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่พร้อมที่จะเข้ารับการรักษา แต่ถูกครอบครัวส่งเข้าสถานบำบัด ด้วยความหวังดีที่อยากช่วยให้ผู้ติดยาเสพติดหายดี เมื่อคนที่คุณรักต่อต้านการบำบัดการติดยาไอซ์ เป็นเรื่องปกติสำหรับผู้ที่เสพติดยาเมทแอมแฟตามีน หรือติดยาไอซ์อย่างหนัก ที่จะปฏิเสธการเข้ารับการบำบัด แม้กระทั่งในกรณีที่คนเหล่านี้รู้ว่าตัวเองกำลังมีปัญหาก็ตาม เพราะการเสพติดได้เปลี่ยนระบบประสาทในสมองไปแล้ว นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมการเลิกยาเสพติดจึงเป็นเรื่องที่ยาก ถึงแม้บางคนจะสามารถเข้าสู่สถานบำบัดยาเสพติดได้ แต่ก็ต้องอาศัยการเกลี้ยกล่อมจากคนรอบข้างในระดับหนึ่งเพื่อที่จะเข้ารับการรักษา จะรู้ได้อย่างไรว่าคนที่เรารักติดยาไอซ์ ถึงแม้ในบางกรณี คุณสามารถสังเกตเห็นการใช้สารเสพติดของคนที่คุณรักได้อย่างชัดเจน แต่ในหลายๆ กรณีก็อาจสังเกตเห็นไม่ได้ง่ายนัก อย่างไรก็ตาม การเสพติดถูกปิดบังเอาไว้ สามารถนำปัญหาต่างๆมาสู่ตัวผู้เสพติดและครอบครัวได้ การเรียนรู้สัญญาณของการเสพติดยาไอซ์จะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับคุณในการรับรู้ว่า คนที่คุณรักอาจกำลังมีปัญหาอยู่ สัญญาณที่พบได้บ่อยก็คือ อาการดีด ตื่นตัวตลอดเวลา การไม่หลับไม่นอน ตามด้วยอาการอ่อนเพลียอย่างรุนแรง น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างชัดเจน อาการหงุดหงิด อารมณ์เสีย หรือก้าวร้าว ปัญหาสุขภาพที่หาสาเหตุไม่ได้ เช่น ปวดท้อง ปวดศีรษะ สายตาพร่า และเวียนศีรษะ หมดความสนใจในกิจกรรมที่แต่ก่อนเคยชื่นชอบ มีปัญหากับเพื่อนๆ ครอบครัว …

การรักษาการติดยาไอซ์..ถึงจะไม่สมัครใจแต่ก็ได้ผล Read More »

เรียนรู้ความแตกต่างระหว่างนิสัยขี้อายและโรคกลัวการเข้าสังคมเพื่อช่วยเหลือคนที่คุณรัก

คุณแค่ “ขี้อาย” หรือเป็น “โรคกลัวการเข้าสังคม” กันแน่

ความรู้สึกไม่สบายใจเล็กน้อยในขณะที่ต้องปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชน หรือพบกับคนใหม่ๆ ถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างปกติ แต่สำหรับผู้ที่เป็น “โรคกลัวการเข้าสังคม” หรือมีความวิตกกังวลในการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder) สถานการณ์เช่นนี้สามารถทำให้เกิดความวิตกกังวลอย่างรุนแรง และทำให้คนเหล่านี้หลีกเลี่ยงการออกไปใช้ชีวิตปกติ ในขณะที่เรามีความรู้กันมากขึ้นเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต และตื่นตัวกันมากขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับอาการต่างๆ ของโรคทางสุขภาพจิต แต่บ่อยครั้งก็มีคำถามเกิดขึ้นเกี่ยวกับวิธีการที่เราจะแยกแยะอย่างชัดเจนว่า รูปแบบของความคิดหรือพฤติกรรมแบบไหนที่เกิดขึ้นจากบุคลิกภาพของคนๆ นั้น หรือจริงๆแล้วพฤติกรรมนั้นเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ถึงความผิดปกติของสุขภาพจิตกันแน่ และนี่ก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมาก สำหรับบางคนที่อาจบอกว่าตัวเองเป็นคน “ขี้อาย” แต่จริงๆ แล้วนั้นเป็นอาการของ “โรคกลัวการเข้าสังคม” ต่างหาก มาเรียนรู้เกี่ยวกับความแตกต่างของภาวะนี้และอาการที่แสดงออกมา เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจความแตกต่างระหว่างลักษณะทางบุคลิกภาพกับความผิดปกติของสุขภาพจิตได้อย่างชัดเจนขึ้น หากคุณสงสัยว่าตัวเองหรือคนที่คุณรักกำลังมีอาการอย่างเช่นโรคกลัวการเข้าสังคมอยู่ ในปัจจุบันคุณสามารถมองหาทางเลือกในการรักษาที่สามารถช่วยจัดการกับความวิตกกังวลในการเข้าสังคม และสร้างโอกาสใหม่ๆ ในการมีปฏิสัมพันธ์ในทางที่ดีกับผู้อื่น “นิสัยขี้อาย” และ “โรคกลัวการเข้าสังคม” แตกต่างกันอย่างไร ปัจจัยหลักที่ช่วยในการแยกแยะระหว่างลักษณะทางบุคลิกภาพออกจากความผิดปกติทางจิตใจ ก็คือความต่างในการตอบสนองของร่างกายและจิตใจต่อการมีปฎิสัมพันธ์กับผู้คนและสิ่งแวดล้อมรอบข้างดังนั้น ในกรณีของความขี้อายและโรคกลัวการเข้าสังคมหรือความวิตกกังวลในการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder – SAD) คนขี้อายอาจค่อนข้างสงวนท่าทีในการเข้าสังคม และรู้สึกกระอักกระอ่วนหรือวิตกกังวัลในช่วงแรกๆ ของการพบปะพูดคุยกัน แต่โดยทั่วไปแล้ว ความรู้สึกเหล่านี้จะค่อยๆ หายไปเมื่อเริ่มคุ้นเคยกับสถานการณ์และผู้คนเหล่านั้นมากขึ้น และถึงแม้คนขี้อายจะชอบหลีกเลี่ยงการเป็นจุดสนใจ แต่ความขี้อายก็ไม่ได้หยุดยั้งพวกเขาจากการมีส่วนร่วมกับโลกรอบๆ ตัวเอง การลองทำสิ่งใหม่ๆ หรือการมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดสนิทสนม …

คุณแค่ “ขี้อาย” หรือเป็น “โรคกลัวการเข้าสังคม” กันแน่ Read More »

เรียนรู้วิธีการสนับสนุนคนที่คุณรักหลังออกจากศูนย์บำบัดยาเสพติด เพื่อช่วยส่งเสริมให้เค้านั้นเลิกยาเสพติดได้อย่างยั่งยืน

5 วิธีสนับสนุนคนที่คุณรักหลังออกจากสถานบำบัด

ความรู้สึกโล่งอกเมื่อคนที่คุณรักเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูผู้เสพติดในสถานบำบัดเป็นความรู้สึกอันแสนวิเศษ เช่นเดียวกับความรู้สึกตื่นเต้นเมื่อคนที่คุณรักหวนกลับสู่บ้าน หลังจากเข้ารับการบำบัดแล้ว ในระยะของการฟื้นฟูตัวเองนอกสถานบำบัดนี้ อาจมีความท้าทายบางอย่างแฝงอยู่ ทั้งสำหรับผู้เสพติดและสำหรับคุณเอง การทำความเข้าใจว่าคุณจะช่วยสนับสนุนคนที่คุณรักอย่างไรในช่วงเวลาเช่นนี้ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้คนที่คุณรักฟื้นฟูตัวเองจากการเสพติดได้อย่างยั่งยืนตลอดไป ในวันแรกที่คนที่คุณรักเดินเข้าประตูบ้านมา หลังออกจากสถานบำบัด คุณอาจมีความคิดมากมายหลายอย่างวิ่งพล่านอยู่ในหัว ไม่ว่าจะเป็น “เค้าจะดีขึ้นหรือเปล่า” หรือ “อะไรๆ จะเหมือนเดิมหรือเปล่า” ไปจนถึง “แล้วถ้าเค้ากลับไปเสพซ้ำอีกล่ะ จะทำยังไง” และ “เราจะไว้วางใจกันได้หรือเปล่า” แน่นอนว่า ถึงแม้คุณจะยินดีกับการโน้มน้าวให้คนที่คุณรักเข้าสู่สถานบำบัดได้ และมีความสุขที่คนที่คุณรักได้กลับมาบ้านอีกครั้ง แต่ก็เป็นไปได้ที่คุณจะรู้สึกไม่แน่ใจหรือหวั่นใจว่าคนที่คุณรักฟื้นฟูตนเองจากภาวะเสพติดได้หรือยัง โดยเฉพาะในระยะแรกๆ ของการออกจากสถานบำบัด สิ่งแรกที่คุณต้องทำความเข้าใจก็คือ การฟื้นฟูตัวเองจากการเสพติดเป็นกระบวนการที่ยาวนานตลอดชีวิต และต้องใช้เวลาในการที่ผู้เสพติดจะต้องเรียนรู้วิธีการจัดการกับตัวเองในระหว่างกระบวนการนี้ จึงเป็นเรื่องปกติอย่างมากที่จะเกิดความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในตัวคนที่คุณรัก ทั้งความคาดหวัง เป้าหมายชีวิต พฤติกรรม และแม้กระทั่งบุคลิกภาพของพวกเขา ลองทำตามขั้นตอนพื้นฐานต่อไปนี้ ที่จะช่วยทำให้คุณก้าวผ่านกระบวนสำคัญนี้ไปได้อย่างง่ายดายขึ้น วิธีที่ 1 คอยอยู่เคียงข้าง ถึงแม้คนที่คุณรักจะสามารถขอความช่วยเหลือทุกอย่างจากคุณได้ แต่ก็เป็นไปได้ว่าพวกเขายังอาจติดอยู่กับความรู้สึกละอายหรือเสียใจกับเรื่องราวในอดีต และอาจลังเลที่จะขอความช่วยเหลือ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับคุณก็คือ การทำให้พวกเขารับรู้ว่าคุณยินดีและพร้อมเสมอที่จะพูดคุย รวมถึงทำสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการออกไปเดินเล่นเป็นเพื่อน หรือกินอาหารด้วยกัน โดยคุณควรถามพวกเขาว่าอยากทำอะไร เนื่องจากกิจกรรมที่พวกเขาชอบทำอาจเปลี่ยนแปลงไปหลังจากการเข้าสถานบำบัดยาเสพติด ความสมดุลเป็นสิ่งสำคัญทั้งสำหรับคุณและคนที่คุณรักในระหว่างช่วงแรกของการฟื้นฟูตัวเอง หากคุณพยายามมากจนเกินไป คุณก็อาจเกิดความเครียดหรือความหงุดหงิดได้ …

5 วิธีสนับสนุนคนที่คุณรักหลังออกจากสถานบำบัด Read More »

ทำความรู้จักกับกลุ่มบำบัด หนึ่งในวิธีการรักษาที่จะช่วยให้คุณเลิกยาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รู้จักกับ “กลุ่มบำบัด” การรักษาภาวะเสพติดที่ทรงประสิทธิภาพกว่าที่คุณคิด

แนวทางการบำบัดภาวะเสพติดในศูนย์บำบัด มีอยู่ 2 วิธีที่มักจะใช้ควบคู่กัน คือ การรับคำปรึกษารายบุคคลจากนักจิตวิทยา (Individual Counselling) และการทำกลุ่มบำบัด (Group Therapy) ซึ่งการศึกษาในระดับสากลแสดงให้เห็นว่า “กลุ่มบำบัด” เป็นการบำบัดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการรักษาภาวะเสพติด แม้มันจะทำให้ผู้เข้าร่วมรู้สึกหวั่นเกรงในช่วงต้น  การเปิดใจต่อสาธารณะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่เป็นหัวใจของกลุ่มบำบัด และเมื่อผู้ที่รับการรักษาทำความเข้าใจว่ากลุ่มบำบัดเป็นอย่างไรแล้ว การบำบัดแบบนี้ก็จะกลายเป็นสิ่งที่ทรงอิทธิพลที่สุดในการเอาชนะการเสพติดของตนเอง ในการเข้าร่วมกลุ่มบำบัด คุณจะได้เชื่อมโยงกับเพื่อนร่วมกลุ่มที่ผ่านประสบการณ์คล้ายๆ กัน ซึ่งช่วยผู้ติดยาเสพติดได้อย่างมากในเรื่องของความรู้สึกโดดเดี่ยว การแยกตัวจากสังคม และความรู้สึกละอาย ซึ่งเป็นผลลัพท์ที่ได้มาจากการเสพติด และทำให้คุณระลึกได้ว่าไม่ใช่คุณเพียงคนเดียวที่มีปัญหาเช่นนี้ คุณจะเห็นภาพสะท้อนของตัวเองในตัวของคนอื่น และคนอื่นก็เห็นในแบบเดียวกันกับคุณ คุณจะสามารถก้าวผ่านปัญหาต่างๆ และเรียนรู้ทักษะการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลรวมถึงวิธีการสื่อสารที่ดีขึ้น กลุ่มบำบัด ยังช่วยเสริมการบำบัดแบบรายบุคคล ครอบครัวบำบัด (Family Therapy) และองค์ประกอบอื่นๆ ในการรักษาการเสพติดของคุณด้วย กลุ่มบำบัดคืออะไร ในการรักษาแบบกลุ่มบำบัด จะมีนักจิตบำบัดหนึ่งหรือสองคนเป็นผู้นำการพูดคุยในกลุ่มเพื่อพูดคุยถึงการใช้สารเสพติดและปัญหาสุขภาพจิต โดยจำนวนของผู้เข้าร่วมกลุ่มที่เหมาะสมที่สุดจะอยู่ที่ราว 10 คนต่อกลุ่ม โดยทั่วไปแล้วผู้รับการรักษากลุ่มเดียวกันจะได้พบกับนักจิตบำบัดคนเดิมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนี่จะเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยบ่มเพาะให้เกิดความไว้วางใจภายในกลุ่ม แต่โดยทั่วไปแล้ว ผู้เข้ารับการบำบัดควรจะเข้าร่วมกับกลุ่มบำบัดตลอดช่วงระยะเวลาการรักษาในศูนย์บำบัดยาเสพติด รูปแบบของกลุ่มบำบัดแต่ละครั้งแตกต่างกันไปตามหัวข้อของการพูดคุยที่นำโดยนักจิตบำบัด และประเภทของกลุ่มบำบัด โดยส่วนใหญ่นักจิตบำบัดจะเน้นที่หัวข้อเกี่ยวกับการใช้สารเสพติดเป็นพิเศษ และให้โอกาสคุณในการพูดคุยถึงการต่อสู้กับการเสพติดของแต่ละคน นักจิตบำบัดบางคนจะใช้รูปแบบการพูดคุยแบบเปิดกว้าง ขณะที่บางคนก็อาจพูดคุยเฉพาะเจาะจงลงไปในบางประเด็น ประเภทของกลุ่มบำบัด กลุ่มบำบัดมีอยู่หลายรูปแบบและหลายประเภท …

รู้จักกับ “กลุ่มบำบัด” การรักษาภาวะเสพติดที่ทรงประสิทธิภาพกว่าที่คุณคิด Read More »

การเสพติดในผู้หญิงมักมีความซับซ้อนที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เรียนรู้รูปแบบการเสพติดที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงโดยไม่รู้ตัว และผลกระทบของมัน

“ผู้หญิง” กับ “การเสพติด” ไม่ใช่เรื่องไกลตัว

ปัญหาการเสพติดไม่ว่าจะเกิดกับใครก็ให้ผลลัพท์ที่เลวร้ายไม่ต่างกัน แต่สำหรับผู้หญิงแล้วการเสพติดของพวกเธอมีความซับซ้อนที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะด้วยความหลงผิดที่ว่าสารเสพติดบางอย่างจะช่วยให้ผอมสวยหรือผิวขาวใส หรือช่วยให้มีพลังวังชาในการรับมือกับสารพัดภารกิจที่ถาโถมเข้ามาในชีวิตไปจนถึงการรับมือกับความเจ็บปวดที่ผู้หญิงมีแนวโน้มจะต้องเจอมากกว่าอีกทั้งการเสพติดของผู้หญิงยังส่งผลอันตรายต่อร่างกายของพวกเธอมากกว่าผู้ชาย ขณะที่ผู้หญิงกลับไม่ค่อยกล้าเข้ารับการบำบัดรักษา ไม่ว่าจะด้วยความกลัวการถูกตีตราจากสังคมความไม่มั่นใจ หรือความอับอาย การทำความเข้าใจทุกด้านของการเสพติดในผู้หญิงจะช่วยให้เราสามารถช่วยผู้ที่มีปัญหาการเสพติด ไม่ว่าจะเป็นตัวเองหรือคนอันเป็นที่รักได้ดียิ่งขึ้น อ่านบทความนี้ต่อบนเว็บไซต์ helenathailand.co คลิ๊กลิงค์ตรงนี้ บทความนี้จัดทำขึ้นโดยเดอะดอว์น เชียงใหม่สำหรับการตีบทความลงบนเว็บไซต์ helenathailand.co เราจึงนำบทความนี้มาเผยแพร่บนเว็บไซต์ของเราเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่านที่กำลังเผชิญกับปัญหาของการเสพติดซึ่งผู้เข้ารับบำบัดของเราที่เป็นผู้หญิงมักประสบปัญหานี้เช่นกัน

เรียนรู้วิธีการจัดการเมื่อชีวิตคู่ของคุณกำลังเผชิญกับผลกระทบจากการเสพติด

เมื่อคู่ชีวิตติดหลุมพรางการเสพติด…คุณควรไปต่อหรือพอแค่นี้

ชีวิตคู่ไม่ใช่เรื่องของคนๆ เดียว และหากคนสำคัญอีกคนหนึ่งของคุณติดกับดักของการเสพติด ผลกระทบนั้นย่อมไม่ได้เกิดเพียงแค่ฝ่ายที่เสพติด หากส่งผลมาถึงอีกฝ่าย จนสามารถนำไปสู่คำถามที่ยากที่สุดในชีวิตคู่นั่นก็คือ คุณควรจะไปต่อ..หรือพอแค่นี้ การเสพติดเป็นปัญหาอันซับซ้อน และสำหรับผู้ที่เป็นคู่ชีวิต ก็เป็นความเจ็บปวดจากการเห็นคนที่รักเปลี่ยนแปลงไปจากการเสพติด รวมถึงจากผลกระทบหลายอย่างที่มาจากการเสพติดของคู่ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการโกหก การห่างเหินทางความรู้สึก การมีปัญหาในหน้าที่การงาน การเงิน หรือกระทั่งปัญหาทางกฎหมาย และอื่นๆ อีกมากมาย ดังนั้น จึงไม่มีคำตอบที่ง่ายดายในเรื่องนี้ หากก็มีปัจจัยบางอย่างที่คุณควรทำความเข้าใจและพิจารณา เพื่อที่จะเห็นชัดเจนขึ้นถึงสิ่งที่คุณควรจะทำและไม่ควรทำ อ่านบทความนี้ต่อบนเว็บไซต์ sanook.com คลิ๊กลิงค์ตรงนี้ บทความนี้จัดทำขึ้นโดยเดอะดอว์น เชียงใหม่สำหรับการตีบทความลงบนเว็บไซต์ sanook.com เราจึงนำบทความนี้มาเผยแพร่บนเว็บไซต์ของเราเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่านที่กำลังเผชิญกับปัญหาของการเสพติดในชีวิตคู่ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาที่ผู้เข้ารับบำบัดของเรามักเผชิญอยู่เช่นกัน

เรียนรู้ 13 ลักษณะพฤติกรรมที่บ่งบอกว่าคนที่คุณรักกำลังตกเป็นทาสของการเสพติด

13 ลักษณะของการเสพติดที่บอกได้ว่าใครกำลังตกเป็นทาสการเสพติด

การเสพติดเกิดขึ้นเมื่อมีการใช้สารเสพติด พัฒนามาเป็นความสนใจหลักในชีวิตของคนๆ หนึ่งจนกลายมาเป็นภาวะเสพติดที่ยากจะเลิกได้ ส่งผลเสียต่อร่างกาย จิตใจ และสัมพันธภาพทางสังคมของคนๆ นั้นและคนรอบตัว คุณจะรู้ได้อย่างไรล่ะว่า…คนๆ นั้นกำลังมีปัญหาการเสพติด มาทำความรู้จักกับลักษณะของการเสพติดที่พบกันได้บ่อยที่สุด ซึ่งจะบ่งชี้ได้ว่าใครสักคนที่คุณรัก หรือแม้แต่ตัวคุณเอง กำลังพลั้งพลาดตกหลุมพรางของการเสพติด จากบทความนี้ ก่อนอื่น..มารู้จักกันก่อนว่าอะไรคือการเสพติด ผู้ที่มีอาการเสพติดจะไม่สามารถควบคุมสิ่งต่างๆ ที่ตนเองกำลังทำ กำลังใช้ หรือกำลังบริโภคอยู่ได้เลย เพราะสารเคมีในสมองของพวกเขานั้นเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดความอยากเสพและหยุดไม่ได้เมื่อเกิดการเสพติดเกิดขึ้น และการเสพติดก็อาจพัฒนาไปถึงจุดที่เป็นอันตรายต่อตัวเองได้ โดยการเสพติดยังไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่พึงพาสารเสพติดในรูปแบบต่างๆ ที่เราเสพเข้าไปในร่างกายอย่างเช่น การติดแอลกอฮอล์หรือยาเสพติด แต่อาจรวมถึงพฤติกรรมเสพติดได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การติดพนัน ติดเซ็กซ์ และติดอินเตอร์เน็ต โดยทั่วไปคำว่า “การเสพติด” มักใช้เพียงเพื่อบ่งชี้ถึงการใช้สารออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ที่ทำให้ความสมดุลของสารเคมีในสมองเปลี่ยนแปลงไปเป็นการชั่วคราว ซึ่งอาจรวมถึงยาสูบ แอลกอฮอล์ และยาบางชนิดด้วย แต่ทุกวันนี้นักจิตวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจำนวนมากต่างก็ยืนยันว่า การพึ่งพิงทางจิตใจต่อบางสิ่งอย่างเช่น สมาร์ทโฟน เซ็กซ์ การพนัน หรือแม้แต่การทำงาน ก็ควรที่จะถือเป็นการเสพติดรูปแบบหนึ่งเช่นกัน และเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ เช่น ความละอายใจ ความรู้สึกผิด ความล้มเหลว ความหมดอาลัยตายอยาก ความวิตกกังวล ความสิ้นหวัง และความอับอาย ได้เช่นกัน เมื่อใครคนหนึ่งเกิดการเสพติดบางสิ่งบางอย่าง …

13 ลักษณะของการเสพติดที่บอกได้ว่าใครกำลังตกเป็นทาสการเสพติด Read More »

เรียนรู้ 7 คำพูดที่คุณไม่ควรใช้กับผู้ที่มีอาการของโรคซึมเศร้า และทำความเข้าใจถึงภาวะโรคซึมเศร้าจากบทความนี้

7 คำพูดที่ไม่ควรใช้กับผู้ที่มีอาการของโรคซึมเศร้า

อาการของโรคซึมเศร้าที่เกิดกับคนที่คุณรักนั้น อาจทำให้คุณทั้งเป็นห่วงและรู้สึกงุนงงหรือไม่เข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณไม่เคยพบมาก่อน การเรียนรู้วิธีที่จะช่วยเหลือ และสิ่งที่ไม่ควรทำ จะทำให้แน่ใจได้ว่าคนที่คุณรักจะได้รับความช่วยเหลือที่พวกเขาต้องการ รู้จักกับโรคซึมเศร้า อาการซึมเศร้าอาจเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไป แต่โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตใจที่ร้ายแรงซึ่งส่งผลกระทบต่ออารมณ์และแรงจูงใจของคนผู้นั้น ผู้ที่มีอาการของโรคซึมเศร้า มักจะมีความคิด พฤติกรรม และความรู้สึกในแง่ลบ ที่รบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันของตัวเอง และกระทั่งอาจนำไปสู่แนวโน้มในการฆ่าตัวตาย สาเหตุของโรคซึมเศร้ามีอยู่หลากหลาย แต่เชื่อกันว่าสัมพันธ์กับความแตกต่างในสมอง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนและสารสื่อประสาท ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมอารมณ์ต่างๆ การศึกษายังแสดงให้เห็นด้วยว่า โรคซึมเศร้ามีความเชื่อมโยงกับปัจจัยทางพันธุกรรม โดยมีความเป็นไปได้ว่าโอกาสของการเป็นโรคซึมเศร้าจะเพิ่มขึ้น หากมีญาติสายเลือดเดียวกันเป็นโรคนี้ ผู้ที่มีปัญหากับโรคซึมเศร้ามักจะต้องรับการรักษา เพื่อที่จะบรรเทาอาการของตนเอง และเรียนรู้วิธีจัดการกับอาการของตนเอง คนรักและเพื่อนๆ ของผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าควรเข้าใจว่า โรคซึมเศร้าไม่ใช่สิ่งที่ผู้ป่วยเลือกที่จะเป็น หรือเป็นสัญญาณของจิตใจที่อ่อนแอ หรือขาดแรงจูงใจ แต่เป็นอาการเจ็บป่วยทางจิตใจเรื้อรังที่ต้องการการดูแลจากมืออาชีพ การช่วยเหลือผู้ที่มีอาการซึมเศร้า หากคุณรู้จักผู้ที่มีอาการของโรคซึมเศร้า อาจเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจว่าควรพูดอะไรหรือทำอะไรเพื่อช่วยเหลือ ซึ่งจริงๆ แล้วอาจเป็นเพียงแค่การรับฟัง การกอดกัน หรือช่วยทำสิ่งต่างๆ ภายในบ้าน เช่น ซักรีดเสื้อผ้า หรือทำความสะอาดบ้าน และยังอาจช่วยได้เช่นกันที่จะค่อยๆ พูดคุยกับพวกเขาอย่างอ่อนโยน เพื่อดูว่าพวกเขาสามารถบอกได้หรือไม่ว่า อะไรที่อาจช่วยให้พวกเขารู้สึกดีขึ้นได้ อย่างเช่น พาไปเดินเล่นหรือทำอาหารกินกันที่บ้าน หากพวกเขายังคงมีอาการซึมเศร้าอยู่เป็นระยะเวลานาน ถือว่าเป็นอาการร้ายแรง หรือหากมีความคิดอยากฆ่าตัวตายร่วมด้วย ก็ถึงเวลาที่ต้องขอความช่วยเหลือจากมืออาชีพแล้ว เอาชนะอาการซึมเศร้าที่เดอะดอว์น เชียงใหม่ …

7 คำพูดที่ไม่ควรใช้กับผู้ที่มีอาการของโรคซึมเศร้า Read More »

เรียนรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ “โรคหลงตัวเอง” เพื่อช่วยคุณที่คุณรักได้จากบทความนี้

โรคหลงตัวเอง..ไม่ใช่แค่นิสัยแต่เป็นปัญหาสุขภาพจิตร้ายแรงที่ต้องรักษา

เดี๋ยวนี้ คนเรามักชอบ “ติดป้าย” เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตบางอย่าง ด้วยการใช้ถ้อยคำในเชิงลบที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับปัญหาทางสุขภาพจิตเหล่านี้ อย่างเช่นปัญหาความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง (Narcissistic Personality Disorder) หรือ “โรคหลงตัวเอง” ที่มักได้รับการพูดถึงเชิงลบ โดยปราศจากความเข้าใจที่แท้จริงเกี่ยวกับความผิดปกติทางจิตใจอันซับซ้อนนี้ ซึ่งสามารถทำให้เกิดอุปสรรคในการเข้ารับการรักษาสำหรับผู้ที่มีภาวะนี้ “อะไรๆ ก็ตัวเองทั้งนั้น เธอนี่มันหลงตัวเองจริงๆ” หากคุณใช้ชีวิตอยู่กับใครสักคนที่แสดงอาการของความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเองหรือ “โรคหลงตัวเอง” การแสดงความเห็นเช่นนี้สามารถทั้งทำร้ายจิตใจและทำให้เกิดความคับข้องใจ การที่บางคนแสดงอาการบางอย่างของการหลงตัวเองออกมาโดยไม่รู้ตัว ทำให้ยากที่จะเข้าใจได้อย่างแท้จริงต่อโรคนี้ ซึ่งบางครั้งเป็นอาการอันซับซ้อน และสามารถสร้างบาดแผลทางใจให้เกิดขึ้นได้ จนอาจหน่วงเหนี่ยวไม่ให้คนๆ นั้นขอรับความช่วยเหลือใดๆ การยอมรับความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเองอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งก็คือการรับรู้ว่านี่เป็นโรคทางจิตใจที่ต้องรับการดูแล และการช่วยเหลือจากมืออาชีพ จึงเป็นสิ่งที่ทำให้มั่นใจได้ว่า ผู้ที่มีอาการดังกล่าวจะได้รับความช่วยเหลือที่จำเป็นต่อตัวเอง โรคหลงตัวเองคืออะไร ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเองหรือ “โรคหลงตัวเอง” (Narcissism) เป็นปัญหาสุขภาพจิต ไม่ใช่นิสัยหรือสิ่งที่พวกเขาเลือกจะเป็นเช่นนั้น ในการประพฤติตัว หรือการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยทั่วไปจะเริ่มสังเกตได้ในช่วงวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น และสามารถทำให้เกิดความเครียดอย่างมากต่อความสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมถึงต่อสำนึกในความมั่นใจในตัวเองที่เปราะบางอยู่แล้ว ในขณะที่ผู้ใหญ่จำนวนมากแสดงแนวโน้มของโรคหลงตัวเองหนึ่งหรือสองอย่าง เช่น คาดหวังที่จะได้รับความรักและการยกย่องจากคู่ครอง หรือเห็นว่าตัวเองเก่งที่สุดในการทำงานของตัวเอง แต่สำหรับการวินิจฉัยอาการของโรคหลงตัวเองสำหรับมืออาชีพทางการแพทย์นั้น ต้องมีอาการที่ชัดเจนอย่างน้อย 5 ใน 9 อย่างที่บ่งชี้ถึงโรคนี้ นอกจากนี้แพทย์ยังต้องดูการแสดงออกของอาการอย่างต่อเนื่องในส่วนปฏิสัมพันธ์ต่างๆ กับผู้คนรอบข้าง เช่น ในการทำงาน การใช้ชีวิตที่บ้าน …

โรคหลงตัวเอง..ไม่ใช่แค่นิสัยแต่เป็นปัญหาสุขภาพจิตร้ายแรงที่ต้องรักษา Read More »

ความสัมพันธ์ระหว่างโรคสมาธิสั้นกับการเสพติดเป็นสิ่งที่หลายคนอาจมองข้ามหรือไม่รู้มาก่อน เรียนรู้ความเสี่ยงได้จากบทความนี้

โรคสมาธิสั้นกับการเสพติด..ความเสี่ยงที่คุณอาจนึกไม่ถึง

ความสัมพันธ์ระหว่างโรคสมาธิสั้นกับการเสพติดเป็นสิ่งที่หลายคนอาจมองข้ามหรือไม่รู้มาก่อน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่อาจกลายเป็นปัญหาร้ายแรงได้ การทำความเข้าใจให้มากขึ้นเกี่ยวกับสาเหตุและปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังความสัมพันธ์นี้ สามารถให้ความถ่องแท้ถึงวิธีป้องกันไม่ให้เกิดการพึ่งพิงสิ่งเสพติดเช่นนี้ รวมถึงวิธีรักษาการเสพติดที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ความเป็นไปได้ในการเสพติดสำหรับผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder หรือ ADHD) อาจเป็นสิ่งที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ แต่ในขณะที่โอกาสในการใช้สิ่งเสพติดในกลุ่มประชากรทั่วไปตลอดทั้งชีวิตอยู่ที่ราวร้อยละ 25 ซึ่งจำนวนนี้จะพุ่งขึ้นสูงเกือบร้อยละ 50 ในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้น โดยผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีแนวโน้มอย่างมากที่จะมีปัญหากับพฤติกรรมเสพติด อย่างเช่น การพนัน การติดอินเทอร์เน็ต และการช้อปปิ้ง  ส่วนใหญ่แล้ว ความเป็นไปได้ในการเสพติดที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้น มาจากปัจจัยหลักๆ สองประการ ปัจจัยแรกก็คือ ความพยายามที่จะเยียวยาตัวเองเพื่อจัดการกับอาการของโรคสมาธิสั้น ซึ่งมักมีอาการวิตกกังวล และมีปัญหาในการรวบรวมสมาธิเป็นอย่างมาก ปัจจัยที่สองก็คือ การแสวงหาความตื่นเต้น และความสุข ด้วยความปรารถนาที่จะได้รับความพึงพอใจในทันที ปัจจัยเหล่านี้สามารถนำไปสู่การเลือกทำในสิ่งที่มีความเสี่ยง และนำไปสู่การเสพติดได้ในที่สุด การตระหนักถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างโรคสมาธิสั้นกับการเสพติด การแยกแยะความแตกต่างของสภาวะสมาธิสั้นแต่ละประเภท และการสร้างกลไกการรับมือที่ดีกับอาการของสภาวะสมาธิสั้น จะมีผลอย่างมากในการช่วยป้องกันการเสพติด รู้จักกับโรคสมาธิสั้น โรคสมาธิสั้นเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะแสดงอาการตั้งแต่วัยเด็ก แต่อาจไม่ได้รับการวินิจฉัยจนกระทั่งอายุมากขึ้น โรคสมาธิสั้นส่งผลกระทบต่อสมาธิ การจดจ่อกับสิ่งต่างๆ และการควบคุมอารมณ์ จึงสามารถรบกวนการเรียน การทำงาน และความสัมพันธ์กับคนอื่นได้อย่างมาก โดยปกติโรคสมาธิสั้นจะมีอาการผิดปกติทางด้านพฤติกรรมที่พบได้หลักๆ สามประเภทก็คือ ประเภทที่ขาดสมาธิต่อเนื่อง (inattentive) ประเภทที่ไม่อยู่นิ่ง (hyperactive) …

โรคสมาธิสั้นกับการเสพติด..ความเสี่ยงที่คุณอาจนึกไม่ถึง Read More »

ลองทำแบบทดสอบที่จะบอกได้ว่าคุณกำลังให้ท้ายการเสพติดอยู่หรือเปล่า

แบบทดสอบที่จะบอกได้ว่า…คุณอาจกำลังให้ท้ายการเสพติดกับคนที่คุณรักโดยไม่รู้ตัวอยู่หรือเปล่า

หากคุณกำลังพยายามช่วยใครสักคนที่กำลังมีปัญหาการเสพติด คุณต้องดูให้แน่ใจว่าความรักและการสนับสนุนของคุณนั้นไม่ใช่การให้ท้าย เนื่องจากการกระทำเช่นนี้สามารถทำให้การเสพติดยืดเยื้อยาวนาน และเพิ่มความเสี่ยงที่มาจากการเสพติดให้มากยิ่งขึ้นด้วย การได้เห็นบุคคลอันเป็นที่รักต่อสู้กับการเสพติดเป็นประสบการณ์อันยากยิ่ง และการให้ความเห็นอกเห็นใจและการสนับสนุนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการฟื้นฟูและก้าวสู่เส้นทางการเลิกสิ่งเสพติดของพวกเขา แต่หากคำพูดหรือการกระทำของคุณทำให้คนๆ นั้นยังคงเสพติดต่อไป ด้วยการปกป้องพวกเขาไม่ให้เจอกับผลเสียที่ตามมาจากการเสพติด นี่เรียกได้ว่าเป็นการให้ท้าย  ผู้ที่ให้ท้ายการเสพติดจะเป็นเสมือนกันชนจากผลกระทบอย่างเต็มที่ของการเสพติด จึงลดแรงผลักดันแก่ผู้ที่พึ่งพาสารเสพติดหรือพฤติกรรมเสพติด ไม่ให้ไปหาความช่วยเหลือที่เหมาะสม ผู้ที่ให้ท้ายยังจำเป็นต้องเข้าใจด้วยว่า การเสพติดเป็นความเจ็บป่วยทางสมอง และไม่ใช่ความอ่อนแอ หนทางเดียวที่จะเอาชนะการเสพติดได้ก็คือการเข้ารับรักษาจากมืออาชีพ เช่นเดียวกับที่เราต้องไปหาหมอเมื่อมีอาการเจ็บป่วยร้ายแรงอื่นๆ ผลจากการให้ท้ายการเสพติด..ไม่มีจุดจบอันแสนสุข โดยแท้จริงแล้ว การให้ท้ายเป็นการยืดเวลาการเสพติดให้นานขึ้นไปอีก และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลกระทบที่ร้ายแรงต่อผู้ที่พึ่งพาการเสพติดทุกอย่าง ซึ่งได้แก่  ผลข้างเคียงต่อสุขภาพ การเสพติดทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการใช้สารเสพติด (อย่างเช่น ผู้ที่พึ่งพายาเสพติด หรือแอลกอฮอล์) หรือพฤติกรรมเสพติด (อย่างเช่น การติดการพนัน หรือติดเซ็กส์) มักเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลกระทบที่ร้ายแรงต่อสุขภาพทั้งกายและจิตใจในระยะยาว ความเสียหายต่ออาชีพการงานและสัมพันธภาพ ผู้ที่มีปัญหาเสพติดจะหมกมุ่นและพัวพันกับการเสพติดมากขึ้นเรื่อยๆ จนบ่อยครั้งตัดขาดจากความสัมพันธ์ส่วนตัวและภาระหน้าที่การงาน ซึ่งสามารถส่งผลให้ตกงาน ห่างเหินจากเพื่อนๆ และครอบครัว อีกทั้งเพิ่มความรู้สึกโดดเดี่ยว ซึ่งผู้มีปัญหาการเสพติดมักรู้สึกเช่นนั้นอยู่แล้ว พฤติกรรมเสี่ยงหรือเป็นอันตราย การพึ่งพิงสิ่งเสพติดสามารถพัฒนาไปจนถึงจุดที่คนเรายินดีที่จะมีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเองหรือคนอื่น เพื่อที่จะได้เสพติดต่อไปเรื่อยๆ ในบางกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพึ่งพิงสารเสพติด การเสพติดสามารถทำให้ขาดความยับยั้งชั่งใจและการตัดสินใจที่ดีพอ ซึ่งสามารถส่งผลให้เกิดผลกระทบ ที่ทำให้ทั้งชีวิตของผู้เสพติดและผู้คนที่อยู่รอบตัวต้องเปลี่ยนแปลงไป ความช่วยเหลือที่แท้จริงคือการสนับสนุนโดยไม่ให้ท้าย การสนับสนุนโดยปราศจากการให้ท้าย หมายความว่าคุณต้องถอยออกมา และให้คนๆ นั้นได้พบกับผลกระทบที่ตามมาจากการเสพติดของตัวเอง …

แบบทดสอบที่จะบอกได้ว่า…คุณอาจกำลังให้ท้ายการเสพติดกับคนที่คุณรักโดยไม่รู้ตัวอยู่หรือเปล่า Read More »

หากคุณกำลังเผชิญกับความเหงาที่รู้สึกค้างติ่งอยู่ภายในจิตใจไม่หายไปแม้อยู่ท่ามกลางผู้คนมากมาย นี้อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพจิต

ความเหงาไม่รู้หายอาจเป็นสัญญาณที่บอกได้ว่า…คุณกำลังมีปัญหาสุขภาพจิต

ผลพวงจากการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลให้เกิดการล็อกดาวน์ ทำให้ผู้คนต้องห่างเหินกันไปโดยปริยายเป็นเวลาหลายต่อหลายเดือน ปีนี้จึงดูเหมือนจะเป็นปีอันแสนเงียบเหงาสำหรับคนจำนวนมาก ถึงแม้จะเริ่มมีการคลายล็อกให้ผู้คนกลับมาใช้ชีวิตกันตามปกติได้แล้วก็ตาม และคุณก็ได้มีเวลาออกไปพบเจอผู้คนและออกไปทำกิจกรรมต่างๆ แต่คุณก็รู้สึกว่าความเหงาของคุณไม่ได้จางหายไป คุณก็อาจจำเป็นต้องทำอะไรบางอย่าง เพื่อให้สุขภาพจิตของคุณกลับมาเป็นปกติดังเดิม เราทุกคนต่างก็เคยรู้สึกเหงาหรือโดดเดี่ยวในจุดใดจุดหนึ่งของชีวิตกันทั้งนั้น และคนส่วนใหญ่ก็มักจะต้องต่อสู้กับความรู้สึกนี้ ในช่วงระยะเวลาหลายเดือนของการล็อคดาวน์เนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19 ที่จริงแล้ว ความเหงาถือเป็นการตอบสนองทางจิตใจที่เป็นเรื่องปกติ เมื่อต้องเจอกับการแยกตัวและความโดดเดี่ยว ความเหงากระตุ้นให้เราแสวงหาการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เพื่อที่จะเติมเต็มความต้องการที่มีมาแต่กำเนิดในตัวมนุษย์ทุกคน ในการมีปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารกับคนอื่น แต่หากสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ความรู้สึกว่างโหวงภายในใจที่ไม่อาจเติมเต็มได้ แม้จะกลับมาอยู่ท่ามกลางเพื่อนฝูงและผู้คนมากมายอีกครั้งก็ตาม หรือหากคุณพบว่าคุณไม่สามารถจะมีปฎิสัมพันธ์กับคนอื่นได้อย่างที่เคยเป็น สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณทางสุขภาพจิตที่บอกว่า บางสิ่งบางอย่างที่ลึกซึ้งไปกว่านั้นกำลังเกิดขึ้นกับคุณ ต่างบุคลิก ผลกระทบของความเหงาก็ต่างกัน เมื่อพูดถึงบุคลิกภาพประเภทต่างๆ ของแต่ละคน คุณอาจคิดเอาเองว่าคนที่เป็นอินโทรเวิร์ต (Introvert) หรือบุคลิกภาพแบบชอบเก็บตัว มักจะมีปัญหากับความเหงามากกว่า เนื่องจากคนพวกนี้มักจะไม่ค่อยชอบออกสังคม แต่ที่จริงแล้วคนที่มีบุคลิกภาพแบบเอ็กซ์โทรเวิร์ต (Extrovert) หรือพวกที่ชอบเข้าสังคมมีแนวโน้มที่จะรู้สึกเหงาได้มากกว่าคนที่ชอบเก็บตัว พวกที่ชอบเข้าสังคมจะได้รับพลังงานจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และจะรู้สึกสดชื่นมีพลังเมื่อมีผู้คนอยู่รอบตัว ลักษณะบุคลิกภาพแบบนี้มีโอกาสที่จะทำให้เกิด “จิตตก” หรือหดหู่ได้มากกว่าเวลาที่ต้องอยู่คนเดียว แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าพวกที่ชอบเก็บตัวไม่รู้สึกถึงความเหงา ถึงแม้พวกที่ชอบเก็บตัวจะรู้สึกสบายดีเวลาที่อยู่ตามลำพังในสถานการณ์ปกติ หากมีความรู้สึกที่ขาดหายไป หรือขาดการเชื่อมโยงโดยสิ้นเชิงกับคนอื่น โดยเฉพาะกับเพื่อนและครอบครัว นี่ก็อาจบ่งชี้ได้ว่าความเหงากำลังครอบงำพวกเขาอยู่ จะบอกได้อย่างไรว่า..ตัวเองกำลังเหงาเรื้อรัง สำหรับบางคน ความเหงาเรื้อรังเป็นภาวะที่สามารถระบุได้อย่างง่ายดาย แต่สำหรับบางคนแล้ว อาจเป็นเรื่องยากที่จะระบุได้ว่าเกิดอะไรขึ้น การทำความคุ้นเคยกับสัญญาณของความเหงา จะสามารถช่วยให้คุณแยกแยะและบ่งชี้ได้ว่า อะไรที่กำลังให้คุณรู้สึกไม่สบายใจ  และต่อไปนี้คือสัญญาณที่เป็นไปได้ของความเหงาเรื้อรัง …

ความเหงาไม่รู้หายอาจเป็นสัญญาณที่บอกได้ว่า…คุณกำลังมีปัญหาสุขภาพจิต Read More »

ประกาศ

ณ ปัจจุบัน ศูนย์ของเรา ได้ยุติการให้บริการบำบัดภาคภาษาไทย

เดอะดอว์นขอขอบคุณทุกความไว้วางใจมา ณ ที่นี้

ให้เราช่วยคุณเริ่มต้นการเดินทางสู่สุขภาวะที่ดีตั้งแต่วันนี้

โทร: 083 204 8384