เรียนรู้ความแตกต่างระหว่างนิสัยขี้อายและโรคกลัวการเข้าสังคมเพื่อช่วยเหลือคนที่คุณรัก

คุณแค่ “ขี้อาย” หรือเป็น “โรคกลัวการเข้าสังคม” กันแน่

ความรู้สึกไม่สบายใจเล็กน้อยในขณะที่ต้องปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชน หรือพบกับคนใหม่ๆ ถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างปกติ แต่สำหรับผู้ที่เป็น “โรคกลัวการเข้าสังคม” หรือมีความวิตกกังวลในการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder) สถานการณ์เช่นนี้สามารถทำให้เกิดความวิตกกังวลอย่างรุนแรง และทำให้คนเหล่านี้หลีกเลี่ยงการออกไปใช้ชีวิตปกติ

ในขณะที่เรามีความรู้กันมากขึ้นเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต และตื่นตัวกันมากขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับอาการต่างๆ ของโรคทางสุขภาพจิต แต่บ่อยครั้งก็มีคำถามเกิดขึ้นเกี่ยวกับวิธีการที่เราจะแยกแยะอย่างชัดเจนว่า รูปแบบของความคิดหรือพฤติกรรมแบบไหนที่เกิดขึ้นจากบุคลิกภาพของคนๆ นั้น หรือจริงๆแล้วพฤติกรรมนั้นเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ถึงความผิดปกติของสุขภาพจิตกันแน่ และนี่ก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมาก สำหรับบางคนที่อาจบอกว่าตัวเองเป็นคน “ขี้อาย” แต่จริงๆ แล้วนั้นเป็นอาการของ “โรคกลัวการเข้าสังคม” ต่างหาก

มาเรียนรู้เกี่ยวกับความแตกต่างของภาวะนี้และอาการที่แสดงออกมา เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจความแตกต่างระหว่างลักษณะทางบุคลิกภาพกับความผิดปกติของสุขภาพจิตได้อย่างชัดเจนขึ้น หากคุณสงสัยว่าตัวเองหรือคนที่คุณรักกำลังมีอาการอย่างเช่นโรคกลัวการเข้าสังคมอยู่ ในปัจจุบันคุณสามารถมองหาทางเลือกในการรักษาที่สามารถช่วยจัดการกับความวิตกกังวลในการเข้าสังคม และสร้างโอกาสใหม่ๆ ในการมีปฏิสัมพันธ์ในทางที่ดีกับผู้อื่น

“นิสัยขี้อาย” และ “โรคกลัวการเข้าสังคม” แตกต่างกันอย่างไร

ปัจจัยหลักที่ช่วยในการแยกแยะระหว่างลักษณะทางบุคลิกภาพออกจากความผิดปกติทางจิตใจ ก็คือความต่างในการตอบสนองของร่างกายและจิตใจต่อการมีปฎิสัมพันธ์กับผู้คนและสิ่งแวดล้อมรอบข้างดังนั้น ในกรณีของความขี้อายและโรคกลัวการเข้าสังคมหรือความวิตกกังวลในการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder – SAD) คนขี้อายอาจค่อนข้างสงวนท่าทีในการเข้าสังคม และรู้สึกกระอักกระอ่วนหรือวิตกกังวัลในช่วงแรกๆ ของการพบปะพูดคุยกัน แต่โดยทั่วไปแล้ว ความรู้สึกเหล่านี้จะค่อยๆ หายไปเมื่อเริ่มคุ้นเคยกับสถานการณ์และผู้คนเหล่านั้นมากขึ้น และถึงแม้คนขี้อายจะชอบหลีกเลี่ยงการเป็นจุดสนใจ แต่ความขี้อายก็ไม่ได้หยุดยั้งพวกเขาจากการมีส่วนร่วมกับโลกรอบๆ ตัวเอง การลองทำสิ่งใหม่ๆ หรือการมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดสนิทสนม

ในทางกลับกันสำหรับผู้ที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคมนั้น ความวิตกกังวลในการพบปะพูดคุยกับผู้อื่นสามารถทำให้เกิดอาการทางร่างกายที่ชัดเจนและรุนแรง ซึ่งผลักดันให้พวกเขาแยกตัวออกจากผู้อื่น หรือไม่เช่นนั้นก็เก็บตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการพบปะเหล่านั้น และส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคมถดถอยลง เพราะพวกเขาได้ตัดตัวเองออกจากผู้อื่น และปฎิเสธหรือเลี่ยงการไปในสถานที่ หรือการทำกิจกรรมต่างๆ ที่พวกเขาอาจจะชื่นชอบ ซึ่งพวกเขาคิดว่าช่วยผ่อนคลายอาการวิตกกังวลของตัวเอง 

โรคกลัวการเข้าสังคม คืออะไร

โรคกลัวการเข้าสังคมหรือความวิตกกังวลในการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder – SAD) เป็นความวิตกกังวลอย่างรุนแรงเกี่ยวกับการกลัวที่จะถูกผู้อื่นตัดสิน วิพากษ์วิจารณ์ ปฏิเสธ หรือมองในแง่ลบ ในการเข้าสังคมหรือการพบปะพูดคุยกับผู้อื่น ซึ่งสิ่งที่อาจตรงข้ามกับที่หลายคนคิดก็คือ ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคมจะต้องเป็นคนที่เก็บตัวหรือรักสันโดษ ที่จริงแล้ว คนที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคมก็เป็นผู้ที่สามารถเข้ากับคนอื่นได้ หรืออาจเป็นที่ชื่นชมในสายตาคนอื่นก็ได้ คนส่วนมากอาจจะรู้สึกถึงความด้อยของตัวเองในเรื่องบางอย่าง และกังวลเกี่ยวกับความรู้สึกคนอื่นในขณะพบปะพูดคุยกัน หรือในการแสดงออกต่อหน้าคนจำนวนมาก แต่สำหรับผู้ที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคมอาจสร้างขอบเขต หรือข้อจำกัดสำหรับตัวเองต่อสถานการณ์บางอย่าง เช่น การนำเสนองานในที่ทำงาน หรือแม้กระทั่งการพบปะพูดคุยทั่วไปในชีวิตประจำวันก็เป็นได้

สถานการณ์บางอย่างที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการกลัวการเข้าสังคมก็คือ

  • การออกไปพูดต่อหน้าสาธารณชนหรือการพูดคุยกับคนอื่น
  • การรอคิว
  • การใช้ขนส่งสาธารณะ หรือการใช้ห้องน้ำสาธารณะ
  • การเข้าร่วมงานเลี้ยง
  • การแสดงต่อหน้าคนอื่น
  • การกิน การดื่ม การเขียน หรือการโทรศัพท์ต่อหน้าคนอื่น
  • การพูดคุยกับคนแปลกหน้า

ในการต่อสู้กับโรคกลัวการเข้าสังคม โดยทั่วไปคนเหล่านี้จะใช้วิธีการต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้ตัวเองเกิดความวิตกกังวล

อาการของโรคกลัวการเข้าสังคม

การวินิจฉัยโรคกลัวการเข้าสังคมทำได้จากการประเมินอย่างละเอียดถึงประวัติของอาการทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมถึงการตรวจสอบปัญหาสุขภาพอื่นๆ เพื่อแยกแยะปัญหาที่เป็นไปได้อื่นๆ การรับการวินิจฉัยจากผู้เชี่ยวชาญเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการทำความเข้าใจโรคกลัวการเข้าสังคม รวมถึงการหาตัวเลือกในการรักษาที่เหมาะสมกับอาการที่คุณเผชิญอยู่ 

โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคมเมื่อต้องมีส่วนร่วมในการเข้าสังคมใดๆ ที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ พวกเขาจะรู้สึกถึงความไม่สบาย โดยคุณสามารถสังเกตการตอบสนอง หรืออาการทางร่างกายได้หลากหลายอย่าง เช่น

  • หายใจลำบาก
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ร่างกายสั่นเทา
  • เหงื่อออก
  • พูดไม่ออก
  • สมองว่างเปล่า หรือลืมสิ่งที่ตัวเองกำลังจะพูด หรือกำลังจะทำไปชั่วขณะ
  • รู้สึกคลื่นไส้ หรือปั่นป่วนมวนท้อง
  • หน้าแดง
  • กล้ามเนื้อ และท่าทางการเคลื่อนไหวแข็งเกร็ง
  • เวียนศีรษะ

ความกลัวว่าอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นต่อหน้าผู้อื่น ทำให้ผู้ที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคมกังวลว่า อาการเจ็บป่วยที่ชัดเจนเหล่านี้จะยิ่งทำให้เกิดความอับอาย หรือสร้างความรู้สึกในแง่ลบให้แก่ผู้อื่นได้

โรคกลัวการเข้าสังคมและ “โรคร่วม”

ถึงแม้ในปัจจุบันจะเริ่มมีความตื่นตัวถึงปัญหาของโรคนี้กันมากขึ้น แต่ก็ยังมีผู้ที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย และขาดความรู้ในทางเลือกของการรักษา อีกเป็นจำนวนไม่น้อย ซึ่งการขาดการวินิจฉัยโรคที่เหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ อาจเกิดจากปัญหาของการมีโรคร่วม (Co-Occurring Disorders) ที่ส่วนใหญ่แล้วโรคกลัวการเข้าสังคมมักจะเกิดขึ้นร่วมกับโรคซึมเศร้า รวมถึงอาการอื่นๆ อย่างเช่น โรคแพนิคและโรคย้ำคิดย้ำทำ จึงเป็นไปได้ที่ว่าในระหว่างการประเมินอาจมีการตรวจอาการหลายอย่างผิดไป และวินิจฉัยออกมาเป็นเพียงโรคๆ เดียว ซึ่งจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการรักษาโรคกลัวการเข้าสังคมด้อยลงไปและทำให้เกิดอาการพร้อมความรู้สึกไม่สบายเรื้อรังในผู้ป่วยที่เผชิญปัญหานี้

ตัวเลือกการรักษาสำหรับโรคกลัวการเข้าสังคม

สำหรับผู้ที่ต่อสู้กับโรคกลัวการเข้าสังคม มักมีการมองเห็นคุณค่าของตนเองต่ำเนื่องจากผลของความวิตกกังวัลอย่างต่อเนื่อง และพวกเขามักจะพูดกับตัวเองในแง่ลบอยู่ตลอดเวลา โดยผู้ที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคมจะบอกตัวเองว่า ตัวเองเกิดมาพร้อมกับความ “ด้อย” หรือ “บกพร่อง” ในบางสิ่งบางอย่าง เป็นคนที่สื่อสารกับคนอื่นได้แย่มาก เป็นคน “แปลกประหลาด” หรือไม่เป็นที่ชื่นชอบของใครๆ ขาดเสน่ห์ในการเข้าสังคม แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่ใช่สิ่งที่คนอื่นมองพวกเขาจริงๆ ก็ตาม

การรักษาที่ใช้อย่างแพร่หลายและมีประสิทธิภาพสำหรับการรักษาโรคกลัวการเข้าสังคม คือการใช้การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioural Therapy หรือ CBT) ซึ่งเป็นรูปแบบของจิตบำบัดที่เน้นการพูดคุยซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยปรับความคิดและพฤติกรรมในแง่ลบ สำหรับผู้ที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคม รวมถึงการสร้างบทสนทนากับตัวเองที่เป็นจริงและปรับเปลี่ยนไปในแง่บวกเกี่ยวกับการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในรูปแบบต่างๆ พร้อมทั้งให้ผู้เข้ารับการรักษาได้เรียนรู้วิธีการรับมือกับคิดว่า ตนเองไม่เป็นที่ยอมรับของคนอื่น หรือความขัดแย้งต่างๆ และการจัดการความวิตกกังวลและความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพ 

เรียกคืนความมั่นใจด้วยการรักษาโรคกลัวการเข้าสังคม ที่เดอะดอว์น

เอาชนะโรคกลัวการเข้าสังคมด้วยการรับความช่วยเหลือที่ศูนย์สุขภาพจิต เดอะดอว์น เชียงใหม่

ศูนย์สุขภาพจิต เอกชน เดอะดอว์น มีตัวเลือกในการรักษาปัญหาสุขภาพจิตหลากหลายอย่างสำหรับทุกคน รวมถึงโรคกลัวการเข้าสังคมและโรคร่วม โดยหลักสูตรการรักษาของเรามุ่งที่จะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น ค้นหาต้นตอของปัญหาของคุณ และสอนการรับมือที่ดีเพื่อช่วยคุณเอาชนะอาการของคุณ สถานบำบัดอันสวยงามของเราตั้งอยู่ริมแม่น้ำในจังหวัดเชียงใหม่ ห่างไกลจากปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดของชีวิตประจำวัน และออกแบบมาเพื่อสร้างความผ่อนคลาย พร้อมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องส่วนตัว สระว่ายน้ำ ห้องออกกำลังกาย และสตูดิโอโยคะและทำสมาธิ ในสภาพแวดล้อมอันปลอดภัย และการดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมงานที่มีประสบการณ์ของเราที่ผ่านการอบรมมาเป็นอย่างดีในศาสตร์การบำบัดรักษาที่หลากหลาย และมีประสบการณ์สูง คอยใส่ใจและดูแลผู้เข้ารับการรักษาแต่ละคนอย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลาการรักษา 

ที่เดอะดอว์น เราจำกัดจำนวนผู้รับการรักษาไม่เกิน 25 คนเพื่อที่ทุกคนจะได้รู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนอันอบอุ่น ที่พวกเขาจะรู้สึกว่าสามารถวางใจและได้รับการยอมรับตั้งแต่ช่วงแรกที่มาถึง และผู้เข้ารับการรักษาจะได้รับการดูแลอย่างเข้าถึงจากทีมงานซึ่งมีความอบอุ่นและเป็นกันเองได้ตลอดเวลาที่ต้องการ

เราสามารถช่วยให้คุณมีความมั่นใจและรับมือกับความวิตกกังวลของคุณได้ดีขึ้น ติดต่อเราได้ทันที หากสนใจเข้ารับการรักษาแบบอยู่ประจำ ให้เดอะดอว์นช่วยคุณและคนที่คุณรักกลับมามีชีวิตที่สดใสอีกครั้ง

ประกาศ

ณ ปัจจุบัน ศูนย์ของเรา ได้ยุติการให้บริการบำบัดภาคภาษาไทย

เดอะดอว์นขอขอบคุณทุกความไว้วางใจมา ณ ที่นี้

ให้เราช่วยคุณเริ่มต้นการเดินทางสู่สุขภาวะที่ดีตั้งแต่วันนี้

โทร: 083 204 8384