อ่านวิธีการที่จะช่วยคนที่คุณรักเลิกยาไอซ์อย่างได้ผล ถึงแม้เค้าไม่ได้สมัครใจเข้ารับการบำบัดตั้งแต่แรก

การรักษาการติดยาไอซ์..ถึงจะไม่สมัครใจแต่ก็ได้ผล

ที่จริงแล้วคนส่วนใหญ่ที่กำลังติดยาเสพติด เช่น ยาไอซ์ มักจะไม่อยากเข้าสถานบำบัด แต่ถึงจะมีการต่อต้าน ก็มีเหตุผลที่ชี้ว่า การผลักดันผู้เสพติดยาไอซ์ให้เข้าสู่การรักษา ก็สามารถมีประสิทธิภาพในการช่วยเค้าเหล่านั้นเข้าสู่เส้นทางการเลิกเสพ

การเสพติดยาไอซ์ในประเทศไทยดูจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น สังเกตได้จากสถิติการจับกุมยาไอซ์ที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ทำให้มีแนวโน้มการระบาดเพิ่มมากขึ้น เห็นได้จากผู้เสพติดยาไอซ์ที่เข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้นโดยส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในวัยทำงาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ก็ยังอาจมีผู้เสพติดอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่พร้อมที่จะเข้ารับการรักษา แต่ถูกครอบครัวส่งเข้าสถานบำบัด ด้วยความหวังดีที่อยากช่วยให้ผู้ติดยาเสพติดหายดี

เมื่อคนที่คุณรักต่อต้านการบำบัดการติดยาไอซ์

เป็นเรื่องปกติสำหรับผู้ที่เสพติดยาเมทแอมแฟตามีน หรือติดยาไอซ์อย่างหนัก ที่จะปฏิเสธการเข้ารับการบำบัด แม้กระทั่งในกรณีที่คนเหล่านี้รู้ว่าตัวเองกำลังมีปัญหาก็ตาม เพราะการเสพติดได้เปลี่ยนระบบประสาทในสมองไปแล้ว นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมการเลิกยาเสพติดจึงเป็นเรื่องที่ยาก ถึงแม้บางคนจะสามารถเข้าสู่สถานบำบัดยาเสพติดได้ แต่ก็ต้องอาศัยการเกลี้ยกล่อมจากคนรอบข้างในระดับหนึ่งเพื่อที่จะเข้ารับการรักษา

จะรู้ได้อย่างไรว่าคนที่เรารักติดยาไอซ์

ถึงแม้ในบางกรณี คุณสามารถสังเกตเห็นการใช้สารเสพติดของคนที่คุณรักได้อย่างชัดเจน แต่ในหลายๆ กรณีก็อาจสังเกตเห็นไม่ได้ง่ายนัก อย่างไรก็ตาม การเสพติดถูกปิดบังเอาไว้ สามารถนำปัญหาต่างๆมาสู่ตัวผู้เสพติดและครอบครัวได้ การเรียนรู้สัญญาณของการเสพติดยาไอซ์จะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับคุณในการรับรู้ว่า คนที่คุณรักอาจกำลังมีปัญหาอยู่

สัญญาณที่พบได้บ่อยก็คือ

  • อาการดีด ตื่นตัวตลอดเวลา การไม่หลับไม่นอน ตามด้วยอาการอ่อนเพลียอย่างรุนแรง
  • น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างชัดเจน
  • อาการหงุดหงิด อารมณ์เสีย หรือก้าวร้าว
  • ปัญหาสุขภาพที่หาสาเหตุไม่ได้ เช่น ปวดท้อง ปวดศีรษะ สายตาพร่า และเวียนศีรษะ
  • หมดความสนใจในกิจกรรมที่แต่ก่อนเคยชื่นชอบ
  • มีปัญหากับเพื่อนๆ ครอบครัว หรือการทำงาน
  • มีปัญหาการเงิน หรือปัญหาทางกฎหมาย

เมื่อคุณสามารถระบุได้แล้วว่าคนที่คุณรักกำลังเสพติดยาไอซ์ ขั้นตอนต่อไปก็คือ การช่วยพวกเขาให้เข้ารับการรักษา แน่นอนว่าผู้เสพติดอาจมีปฏิกิริยามากมายหลายอย่างที่เกิดขึ้นได้เมื่อได้รับคำแนะนำให้เข้าสถานบำบัด ตั้งแต่การยอมรับโดยดีไปจนถึงการต่อต้านแบบสุดตัว และหากคุณจับสังเกตได้ว่าคนที่คุณรักกำลังอยู่ในจุดไหน เป็นไปได้ว่าพวกเขาเคยพยายามที่จะหยุดเสพหรือลดการเสพลงแล้ว แต่ก็พบว่าตัวเองไม่สามารถเลิกได้ หรือพวกเขาอาจไม่ยอมรับความจริงว่าปัญหาของตัวเองหนักหนาแค่ไหน และป้องกันตัวเองรวมถึงโกรธเกรี้ยวที่มีคนพยายามกระตุ้นให้พวกเขาเข้ารับการรักษา บางคนอาจสามารถแข็งขืนกับแรงกดดันหรือความห่วงใยจากคนที่รักได้ จนกระทั่งตัวเองพบกับปัญหาทางกฎหมาย และต้องถูกส่งตัวเข้ารับการรักษา

คนจำนวนมากที่ติดยาเสพติดมักถูกส่งไปสถานบำบัดยาเสพติดด้วยการยื่นคำขาดอย่างใดอย่างหนึ่งจากคนรักรอบตัว แทนที่จะเป็นความสมัครใจของผู้เสพติดเอง อย่างไรก็ตาม เมื่อคนเหล่านี้ได้เข้ามาอยู่ในสถานบำบัด และได้รับการถอนพิษยาเสพติดภายใต้การดูแลของแพทย์จนอาการอยากเสพเริ่มคงที่แล้ว คนเหล่านี้ก็จะเริ่มมองเห็นปัญหาและผลกระทบจากการเสพติดของตัวเองชัดเจนขึ้น และสามารถที่จะค้นพบแรงบันดาลใจที่จำเป็นต่อการก้าวไปสู่การฟื้นฟูตัวเองจากการเสพติด แต่การบำบัดของคนเหล่านี้จะใช้เวลานานกว่าผู้ที่เข้าบำบัดที่มาด้วยความสมัครใจ

จะเกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างเมื่อเข้ารับการรักษาในสถานบำบัดยาเสพติด

ที่ศูนย์บำบัดยาเสพติดและฟื้นฟูสุขภาพจิต เดอะดอว์น โดยปกติแล้ว การบำบัดยาเสพติดจะกินระยะเวลา 90 วัน และให้ความสำคัญไปที่การจัดการกับทุกองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดการเสพติด โดยในช่วง 30 วันแรก จะเน้นให้ความสำคัญกับการถอนพิษทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพื่อให้อารมณ์ ความรู้สึกและสภาวะจิตใจโดยรวมของผู้เสพติดมีความมั่นคงมากขึ้น

จากนั้น ก็จะเสริมด้วยการเจาะลึกลงไปยังปัจจัยต่างๆ ที่อยู่เบื้องหลังของการเสพติด เพื่อแยกแยะและทำความเข้าใจสาเหตุที่เป็นรากเหง้าของปัญหา ซึ่งบ่อยครั้งมักจะพบว่ามีความเชื่อมโยงกับภาวะโรคร่วม (Co-occurring Disorder) คือการที่ผู้เสพติดนั้นมีปัญหาสุขภาพจิตร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือโรคทางจิตที่มาจากบาดแผลทางใจในวัยเด็ก จากนั้นก็จะจัดการกับปัญหาเหล่านี้พร้อมกับการสอนให้ผู้เข้ารับการรักษารู้จักวิธีที่จะรับมือกับสิ่งกระตุ้นต่างๆที่จะทำให้พวกเขากลับไปเสพติดอีกครั้ง

ภาวะโรคร่วมคืออะไร

ภาวะโรคร่วม (Co-occurring Disorder) เป็นความผิดปกติของสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับการเสพติด ตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีปัญหากับบาดแผลทางใจที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย มีอาการวิตกกังวล หรือโรคซึมเศร้า อาจพยายามที่จะหลีกหนีจากอาการเหล่านั้นด้วยการหันมาใช้ยาเสพติด จนนำไปสู่การติดยาเสพติด ดังนั้นการได้รับการวินิจฉัยจากผู้เชี่่ยวชาญเพื่อช่วยพัฒนาแผนการรักษาเพื่อจัดการกับภาวะโรคร่วมเหล่านี้ จะเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งในการเอาชนะการเสพติด

วิธีการรักษาที่ใช้ในศูนย์บำบัดยาเสพติดแบบอยู่ประจำมีอะไรบ้าง

ด้วยประสบการณ์นานหลายปีในการรักษาการเสพติดและภาวะโรคร่วม เดอะดอว์นได้พัฒนาแนวทางการบำบัดแบบองค์รวม ซึ่งผสมผสานวิธีการจิตบำบัดหลายแบบเข้ากับวิธีการดูแลสุขภาวะที่ได้รับการยอมรับ เพื่อจัดการกับทุกๆ ด้านของการเสพติด

“จิตบำบัด” เป็นเทคนิคทางจิตวิทยาที่มีประสิทธิภาพที่สุดในปัจจุบัน อย่างเช่น การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioural Therapy) การบำบัดแบบเสริมสร้างแรงจูงใจ (Motivational Interviewing) ครอบครัวบำบัดตามหลักซาเทียร์ (Satir Family Therapy) โดยการบำบัดเหล่านี้จะใช้ทั้งใน การรักษาแบบกลุ่ม และการปรึกษาแบบตัวต่อตัว

“การดูแลสุขภาวะแบบองค์รวม” ของเดอะดอว์น เป็นวิธีการดูแลสุขภาพ ที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพของจิตบำบัด สร้างพฤติกรรมและนิสัยที่ดีต่อสุขภาพ มาแทนที่พฤติกรรมเดิมที่นำไปสู่การพึ่งพิงยาเสพติด ผู้รับการรักษาจะได้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพประจำวันต่างๆ อย่างเช่นการออกกำลังกาย ฝึกสมาธิ และโยคะ

วิธีพาสมาชิกในครอบครัวเข้าสู่สถานบำบัดเพื่อรักษาการเสพติดยาไอซ์

โดยส่วนใหญ่แล้วสมาชิกในครอบครัว มักเป็นคนที่ติดต่อมายังศูนย์บำบัดเพื่อพาญาติไปรักษา ซึ่งพวกเขาเป็นห่วงเกี่ยวกับผลกระทบของสุขภาพในระยะยาว และอนาคตของผู้เสพติด หากคนที่คุณรักอยู่ในกลุ่มที่ต่อต้านการรักษาการเสพติดยาไอซ์ คุณสามารถที่จะโทรหาและขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ ที่ศูนย์บำบัดเกี่ยวกับวิธีการเกลี้ยกล่อมให้ผู้ติดยาไอซ์เข้ารับการรักษา

การพาผู้เสพติดเข้ารับการรักษาจะประสบความสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อมีการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเสพติดก่อนล่วงหน้า ก่อนที่จะมีการพูดคุยกับญาติที่เป็นผู้เสพติด ผู้เชี่ยวชาญสามารถแนะนำว่า ควรเริ่มต้นการพูดคุยอย่างไร สิ่งที่ควรพูด (และไม่ควรพูด) และประเด็นหลักที่ควรจะให้ความสำคัญ ส่วนใหญ่วิธีการนี้จะประสบความสำเร็จในการพาตัวคนที่คุณรักเข้าสู่สถานบำบัด ถึงแม้ว่าพวกเขาอาจจะยังลังเลในการเข้ารับการรักษาอยู่ก็ตาม นี่ยังถือเป็นการเริ่มต้นเส้นทางการฟื้นฟูด้วยความห่วงใย ความเข้าอกเข้าใจ และความจริงใจ ที่จะเป็นสิ่งสำคัญไปตลอดกระบวนการของการรักษา

ค้นหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่เดอะดอว์น

สถานบำบัดยาเสพติด เอกชน เดอะดอว์น เชียงใหม่ ช่วยให้ผู้เสพติดยาไอซ์ เลิกยาไอซ์และกลับมามีชีวิตที่มีความสุขได้อีกครั้ง

ศูนย์บำบัดยาเสพติด เอกชน เดอะดอว์น เป็นสถานบำบัดยาเสพติดแบบอยู่ประจำที่มีบรรยากาศซึ่งส่งเสริมการเติบโตทางจิตใจและการเยียวยาสำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเอง เพื่อเอาชนะการเสพติดหรือปัญหาสุขภาพจิตต่างๆ เรายังตระหนักดีถึงความสำคัญของการให้ความรู้และคำปรึกษาแก่ครอบครัวในเรื่องการเสพติด โดยในระหว่างที่คนที่คุณรักกำลังเข้ารับการรักษา ผู้เชี่ยวชาญของเราจะทำงานร่วมกับคุณเพื่อจัดการกับผลกระทบของการเสพติดที่มีกับครอบครัว และปลูกฝังวิธีการที่จะสนับสนุนและทำให้การฟื้นฟูตัวเองของสมาชิกในครอบครัวเป็นไปอย่างยั่งยืน

การเสพติดยาไอซ์สามารถรักษาได้ ติดต่อเรา หากคุณสนใจให้คนที่รักเข้ารับการบำบัดแบบอยู่ประจำ ให้เราช่วยคนที่คุณรักและครอบครัวกลับมามีความสุขอีกครั้ง

ประกาศ

ณ ปัจจุบัน ศูนย์ของเรา ได้ยุติการให้บริการบำบัดภาคภาษาไทย

เดอะดอว์นขอขอบคุณทุกความไว้วางใจมา ณ ที่นี้

ให้เราช่วยคุณเริ่มต้นการเดินทางสู่สุขภาวะที่ดีตั้งแต่วันนี้

โทร: 083 204 8384