Blog

เรียนรู้สาเหตุว่าเหตุใดคุณสามารถติดกัญชาได้หากขาดความรู้และใช้อย่างไม่ระวัง

กัญชาทำให้เสพติดได้หรือไม่ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกัญชาที่คุณควรรู้..และต้องระวัง!

“กัญชา” กำลังอยู่ในความสนใจของคนทั่วไปในฐานะของ “ยารักษาโรค” แต่ในความเป็นจริงแล้ว กัญชาไม่ยาวิเศษสำหรับทุกคน และยังอาจทำให้คุณเสพติดได้เช่นเดียวกับสารเสพติดอื่นๆ เวลาที่คนเราคิดถึงยาเสพติด ทุกคนมักจะนึกถึงยาเสพติดอันตรายอย่างเช่น ยาไอซ์ ยาเค ยาบ้า เฮโรอีนหรือโคเคน มากกว่ากัญชา แต่นั่นคือสิ่งที่ทำให้กัญชาเป็นอันตราย เพราะผู้ที่เสพติดกัญชาส่วนใหญ่ มักจะไม่มองว่าการใช้กัญชาเป็นการเสพติด และสามารถถลำลึกไปกับการเสพติดมากขึ้นเรื่อยๆ  นอกจากนี้การทำให้บางส่วนของกัญชากลายเป็นสิ่งถูกกฎหมายอยู่ในทุกวันนี้ ก็อาจทำให้คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับกัญชาและการเสพติดกัญชามากขึ้น จนอาจ “การ์ดตก” กับสารเสพติดชนิดนี้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วก็เป็นอันตรายต่อผู้เสพติดได้ ไม่น้อยไปกว่าการติดสารเสพติดอื่นๆเลย กัญชา..ในความมีประโยชน์ โทษก็ยังมหันต์ กัญชาเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. ซึ่งมีสารสาคัญคือแคนนาบินอยด์ (cannabinoids) มากกว่า 100 ตัว โดยมีสารเตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol หรือ THC) และ Cannabidiol (CBD) เป็นสารสำคัญที่มีประโยชน์ในทางการแพทย์ โดยสาร THC ในขนาดที่เหมาะสมจะมีผลในการลดปวด ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ส่วนสาร CBD ก็ใช้ในการลดปวดและควบคุมอาการชักได้ แต่ในความมีประโยชน์ สาร THC …

กัญชาทำให้เสพติดได้หรือไม่ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกัญชาที่คุณควรรู้..และต้องระวัง! Read More »

เรียนรู้ความสัมพันธ์แบบพึ่งพาที่อาจนำคุณไปสู่ภาวะเสพติดและการมีปัญหาสุขภาพจิต

ถึงร้ายก็รัก-ความสัมพันธ์แบบพึ่งพา..รากเหง้าของปัญหาจิตใจที่อาจทำลายคุณและคนที่คุณรัก

เมื่อต้องการการยอมรับและความรักจากผู้อื่น ก้าวข้ามเส้นแบ่งของสัมพันธภาพแบบปกติสู่ “ความสัมพันธ์แบบพึ่งพา” มันจะทำลายความสัมพันธ์ของคุณ อาจส่งเสริมการเสพติดของคนที่คุณรัก และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตโดยที่คุณไม่รู้ตัว การต้องการการยอมรับจากผู้อื่นเป็นเรื่องปกติของคนเรา แต่หากคุณหรือใครสักคนที่คุณรู้จัก ต้องการการยอมรับจากผู้อื่นเพื่อที่จะรู้สึกดีกับตัวเอง หรือเจ็บปวดแสนสาหัสเมื่อได้รับคำวิจารณ์ในเชิงสร้างสรรค์ รวมทั้งไม่อาจที่จะเดินออกมาจากความสัมพันธ์อันเลวร้าย ที่กำลังทำลายตัวเองได้ ความสัมพันธ์เช่นนี้คงไม่อาจเรียกได้ว่า “ความรัก” และไม่ใช่ “ความสัมพันธ์ปกติ” ที่คุณควรจะเพิกเฉย ความรักที่อยู่บนการพึ่งพาทางความรู้สึกต่อผู้อื่นในระดับที่ “ไม่ปกติ” นั้น เป็นปัญหาสุขภาพจิตอย่างหนึ่งที่เป็น “รากเหง้าของปัญหา” อันอาจนำไปสู่โรคทางจิตใจอื่นๆ รวมไปถึงอาจส่งเสริมให้การเสพติดที่เกิดขึ้นกับคนที่คุณรักให้เลวร้ายลงไปอีก โดยที่คุณอาจไม่รู้ตัว ความสัมพันธ์แบบพึ่งพาคืออะไรกันแน่ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาจำนวนมากอธิบายถึง “ความสัมพันธ์แบบพึ่งพา” หรือ “Codependency” ไว้ว่า เป็นสัมพันธภาพที่ฝ่ายหนึ่งพึ่งพาอาศัยการยอมรับจากอีกฝ่ายหนึ่งในแบบเกินเลย ไม่ว่าจะในเรื่องตัวตนของตนเอง พฤติกรรม หรือการเลือกปฏิบัติใดๆ จะขึ้นอยู่กับผู้อื่นเป็นส่วนใหญ่ — หรือเกือบทุกเรื่อง และโดยที่ไม่ว่าคนผู้นั้นจะมีปัญหาทางจิตใจ ขาดความรับผิดชอบ หรือมีพฤติกรรมเสพติดใดๆ ก็ตาม พฤติกรรมการพึ่งพาอาจแสดงออกได้ในหลายลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นสามีที่ช่วยเหลือการติดแอกอฮอล์ของภรรยา พ่อแม่ที่ปล่อยให้ลูกกระทำการเหลวไหลโดยไม่ห้ามปราม แฟนสาวที่โกหกเพื่อปกป้องแฟนหนุ่มที่ทำร้ายเธอ หรือแฟนหนุ่มที่ไม่ยอมอยู่ห่างคนรักแม้แต่เพียงครู่เดียว การช่วยเหลือและสนับสนุนคนที่เรารักในการจัดการกับปัญหา ไม่ว่าจะดีหรือร้าย และไม่ว่าจะต้องเสียอะไรไปบ้างก็ตาม เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ที่มีพฤติกรรมการพึ่งพารู้สึกว่าได้รับการยอมรับ และเป็นที่ต้องการ คนเหล่านี้ตีความหมายว่านี่คือความรักที่ปราศจากเงื่อนไข แม้จะเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่มีความสุขหรือทำร้ายกันก็ตามที สัญญาณที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์แบบพึ่งพา …

ถึงร้ายก็รัก-ความสัมพันธ์แบบพึ่งพา..รากเหง้าของปัญหาจิตใจที่อาจทำลายคุณและคนที่คุณรัก Read More »

เรียนรู้วิธีการรับมือและหนทางสู่การเลิกยาแบบยั่งยืน หากคุณมีภาวะโรคร่วม

การรักษาภาวะโรคร่วม…หนทางสู่การหยุดการเสพติดแบบยั่งยืน

การเสพติดทุกอย่างล้วนมีที่มา และหนึ่งในที่มาหรือ “ต้นตอ” สำคัญของการเสพติดที่หลายคนอาจไม่ตระหนัก นั่นก็คือปัญหาการเจ็บป่วยทางจิตใจ ที่ต้องการการเยียวยาไปพร้อมกัน เพื่อจะหยุดการเสพติดได้อย่างยั่งยืน ด้วยความซับซ้อนของความคิดและจิตใจของคนเรา บางครั้งพฤติกรรมบางอย่างของเราส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและจิตใจของเราโดยไม่รู้ตัว เช่น ความเครียดอาจกระตุ้นให้บางคนแสวงหาการผ่อนคลายจากสารเสพติด ในขณะที่การใช้สารเสพติดก็ทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตและความเครียดได้เช่นกัน ความทุกข์ทรมานจากการเสพติด จึงไม่ใช่สมการที่ตรงไปตรงมา หากมักประกอบด้วยปัญหาทางจิตใจที่ซ่อนอยู่ หรือที่เรียกว่า “ภาวะโรคร่วม” (Co-Occuring Disorders) การรักษาการเสพติดหรือปัญหาสุขภาพจิตอย่างยั่งยืน จึงต้องการความช่วยเหลือจากมืออาชีพ ที่มีความเข้าใจในภาวะโรคร่วม และสามารถให้การรักษาโรคร่วม (Dual Diagnosis Treatment) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาวะโรคร่วมคืออะไร ภาวะโรคร่วม หมายถึงสถานการณ์ที่ผู้ป่วยมีทั้งปัญหาการเสพติดและปัญหาสุขภาพจิตพร้อมกัน โดยแต่ละปัญหาสามารถทำให้เกิดอีกปัญหาหนึ่งและเพิ่มความรุนแรงให้แก่กันได้ การรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาการเสพติด จึงต้องตระหนักถึงการแก้ปัญหาทางจิตใจที่ซ่อนอยู่ และในผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิตใจ ก็ต้องไม่ละเลยปัญหาเรื่องการเสพติดที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน ภาวะโรคร่วมเช่นนี้เป็นสิ่งที่พบได้มาก ในกลุ่มผู้ที่มีปัญหาการเสพติดและปัญหาทางสุขภาพจิต โดยในต่างประเทศ วารสาร Journal of the American Medical Association ของสหรัฐฯ รายงานว่าร้อยละ 29 ของผู้มีปัญหาสุขภาพจิต มีปัญหาการใช้แอลกอฮอล์หรือยาเสพติดด้วย โดยร้อยละ 37 ของผู้ที่ติดเหล้า และร้อยละ 53 …

การรักษาภาวะโรคร่วม…หนทางสู่การหยุดการเสพติดแบบยั่งยืน Read More »

เรียนรู้ 7 ข้อเท็จจริงที่อันตรายของการเสพติดยาเคหรือเคตามีน

“ยาเค” ที่ “ไม่โอเค” กับ 7 ข้อเท็จจริงสุดอันตรายของการเสพติดเคตามีน

เคตามีน ยาที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ แต่ถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มความสนุกจอมปลอม และสิ่งที่ตามมาก็คือปัญหาอันหนักหนาสาหัส ที่อาจถึงกับคร่าชีวิตของคุณได้เลย ในขณะที่หลายคนอาจไม่รู้สึกว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาใกล้ตัว แต่มันก็อาจไม่ได้อยู่ไกลจากเราอย่างที่คิดก็เป็นได้ เพราะยาเสพติดในปัจจจุบันแปลงโฉมมาหลายรูปแบบ อย่างเช่นยาเสพติดที่เรียกกันว่า “Club Drugs” ซึ่งนิยมใช้ตามคลับตามบาร์ หรือในงานปาร์ตี้ ด้วยความเชื่อที่ว่ามันสามารถเพิ่มความสนุกในการสังสรรค์ให้ได้ แต่จากข่าวพาดหัวในหน้าหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นที่ฮือฮาเมื่อไม่นานมานี้ ถึงการเสียชีวิตของวัยรุ่นจากการเสพยาที่เรียกว่า “เคนมผง” ก็คงกระตุกให้คนในสังคมเริ่มหันมาตระหนักได้ว่า อันตรายของยาเสพติด โดยเฉพาะยาที่ใช้เสพเพื่อเพิ่มความสนุกชั่วคราวนั้น อาจอยู่ใกล้กับคนที่เรารักได้มากกว่าที่คิดจริงๆ และ “ยาเค” ซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของ “เคนมผง” ก็เป็นหนึ่งใน Club Drugs ที่กำลังสร้างปัญหาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อยู่ในขณะนี้ “ยาเค” คืออะไร นอกจากชื่อ “ยาเค” แล้ว ยาเสพติดชนิดนี้ยังมีชื่อเรียกที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Special K, Vitamin K, super acid, super c, bump, cat Valium, kitkat, super K และ jet …

“ยาเค” ที่ “ไม่โอเค” กับ 7 ข้อเท็จจริงสุดอันตรายของการเสพติดเคตามีน Read More »

อ่านบทความพนันออนไลน์ เสพติดง่ายร้ายแรงไม่แพ้การติดยา

การพนันออนไลน์ที่ส่งตรงถึงมือคุณ เสพติดง่าย ร้ายแรงไม่แพ้การติดยา

การพนันออนไลน์ที่ส่งตรงถึงมือ เล่นง่ายเหมือนเล่นเกม และก็เสพติดได้ง่ายยิ่งกว่าพลิกฝ่ามือ มาทำความรู้จักกับหลุมพรางชีวิตที่คนที่คุณรักหรือแม้แต่ตัวคุณเอง ก็อาจตกลงไปได้โดยไม่รู้ตัว และวิธีที่จะช่วยคุณได้ หลายๆ คนคงโตมาพร้อมกับคำสอนที่ว่า การพนันเป็นสิ่งที่ไม่ดี แต่ก็น่าแปลกใจที่มีคนจำนวนไม่น้อยใช้การเล่นพนันเป็นกิจกรรมคลายเครียด และอาจมองว่าการเล่นพนันเล็กๆ น้อยๆ เป็นสิ่งที่ “ยอมรับได้” หรือ “ใครๆ ก็เล่นกัน” แต่ความต้องการที่จะผ่อนคลายความเครียดแบบนี้ อาจทำให้คนเราก้าวเข้าสู่จุดอันเปราะบางของชีวิต ซึ่งคุณก็อาจเคยเห็นจาก “บทเรียนชีวิต” อันหนักหน่วงที่เกิดจากการพนันของผู้ที่มีชื่อเสียงหลายคน อย่างเช่นดาราตลกชื่อดังอย่าง “โน้ต เชิญยิ้ม” ที่เคยติดการพนันม้าแข่ง จนถึงขั้นเอารถยนต์หรูจำนำไว้ที่สนามแข่งม้า หรือนักร้องเสียงดีอย่าง “มัม ลาโคนิค” ก็เคยติดการพนันจนสูญเสียเงินไปกว่า 10 ล้านบาท เช่นเดียวกับข่าวดังของ “ติ๊ก บิ๊กบราเธอร์” ดาราสาวจากเรียลลิตี้โชว์ ที่พบกับปัญหา “บ้านแตก” ต้องเลิกรากับสามีดาราดัง “ศรราม เทพพิทักษ์” เนื่องมาจากติดการพนันบาคาร่าออนไลน์  บางคนอาจถอยมาจากจุดวิกฤตเช่นนั้นได้ แต่ก็ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังตกอยู่ในหลุมพรางของชีวิตเช่นนี้ โดยมีคนเหล่านั้นอาจไม่รู้ตัวเลยว่า นั่นคือสัญญาณของการ “เสพติด” ซึ่งต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน  ติดการพนัน = การเสพติดหรือไม่? เมื่อพูดถึงการเสพติด (Addiction) คนส่วนใหญ่จะนึกถึงการติดสารทางเคมีต่างๆ …

การพนันออนไลน์ที่ส่งตรงถึงมือคุณ เสพติดง่าย ร้ายแรงไม่แพ้การติดยา Read More »

เรียนรู้ 4 ขั้นตอนของการติดยาเสพติด เพื่อช่วยเหลือคนที่คุณรักได้อย่างทันท่วงที

4 ขั้นตอนสู่การติดยาเสพติดที่เราควรรู้จัก..หากไม่อยากให้คนที่รักก้าวสู่การพึ่งพายาเสพติด

หากกำลังกังวลว่าคนที่คุณรักอาจกำลังติดยาเสพติด มาทำความรู้จักกับ 4 ขั้นตอนของการติดยาเสพติด เพื่อที่คุณจะได้รู้จักกับสัญญาณเตือน และสิ่งที่คุณสามารถทำได้ มีหลากหลายปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการติดยาเสพติด ทั้งปัจจัยทางพันธุกรรมและอิทธิพลจากสภาพแวดล้อม สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม รูปแบบพฤติกรรมส่วนตัว ฯลฯ แต่ผู้เชี่ยวชาญในด้านการเสพติดส่วนใหญ่ ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า เส้นทางสู่การติดยาเสพติดนั้นมีอยู่ 4 ขั้นตอนหลักๆ ก็คือ การทดลอง การเสพเป็นประจำ การเสพแบบมีความเสี่ยงสูง และการเสพติดแบบเต็มรูปแบบ คนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยข้ามผ่านขั้นที่ 1 ของการทดลองไป แต่คนที่ก้าวไปสู่ขั้นที่ 2 ส่วนใหญ่ จะพัฒนาไปสู่การเสพติดเกือบทั้งสิ้น ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียด 4 ขั้นตอนสู่การเสพติด เพื่อที่คุณจะได้สามารถแยกแยะอาการและสัญญาณเตือนของการเสพติดได้ หรือในกรณีที่ก้าวข้ามไปสู่การเสพติดแล้ว คุณจะสามารถทำอะไรได้บ้าง ขั้นที่ 1 การทดลองเสพยา ถึงแม้อาจไม่จำเป็นที่จะนำไปสู่การเสพติดอย่างเต็มรูปแบบ แต่การทดลองยาเสพติดก็ถือเป็นขั้นต้นของการเสพติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ที่อายุน้อย การทดลองยาเสพติดมักจะได้รับการยอมรับ หรือบางครั้งก็ได้รับการสนับสนุน แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องจำไว้ว่า การทดลองยาเสพติดอาจเป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นวัยรุ่นที่มีปัจจัยเสี่ยงบางประการต่อการเสพติด การทดลองยาเสพติดอาจเป็นหนทางไปสู่การใช้สารเสพติดในทางที่ผิดอย่างต่อเนื่องในระยะยาวได้ในอนาคต การทดลองในผู้ใหญ่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อมีการเข้าสังคมกลุ่มใหม่ๆ หรือการเปลี่ยนงานใหม่ ที่วัฒนธรรมของคนทำงานอาจยอมรับการเสพยาเสพติด หรือสนับสนุนการเสพยา ไม่ว่าเวลาหรือเหตุผลในการเริ่มลองเสพยาจะเป็นอย่างไร ควรพิจารณาการเสพติดในทุกกรณีตามพื้นฐานของแต่ละคนไป ตัวอย่างเช่น …

4 ขั้นตอนสู่การติดยาเสพติดที่เราควรรู้จัก..หากไม่อยากให้คนที่รักก้าวสู่การพึ่งพายาเสพติด Read More »

เรียนรู้ 5 ประเภทของปัญหาการดื่มเหล้า เพื่อสำรวจตัวเราว่าติดเหล้าหรือไม่

ปัญหาการดื่มเหล้า 5 ประเภท…ดื่มแค่ไหนที่เรียกได้ว่า “ติดเหล้า”

คุณคิดมาตลอดว่าการดื่มของคุณไม่เป็นปัญหา เพราะคุณไม่ได้ดื่มแบบ “คนติดเหล้า” ที่จริงแล้ว คุณอาจไม่รู้ว่า การติดเหล้านั้นมีหลายรูปแบบ หากคุณกำลังรู้สึกว่า การดื่มเหล้าของคุณไม่เป็นปัญหาใดๆ เพียงเพราะคุณไม่ได้ดื่มแบบเดียวกับ “คนติดเหล้า” คุณก็อาจกำลังเข้าใจผิดอยู่ก็เป็นได้ เนื่องจากการติดเหล้านั้นสามารถแสดงออกได้หลายรูปแบบ ซึ่งมักจะไม่ตรงกับความคิดของคนทั่วไปที่มีต่ออาการของคนติดเหล้า ในขณะที่คุณกำลังพยายามหาเหตุผลในการดื่มของคุณ ทั้งต่อตัวเองหรือผู้อื่น คุณอาจพบว่าตัวเองกำลังพูดทำนองนี้ “ใช่แล้ว ฉันชอบดื่ม แต่ก็ไม่กระทบกับการทำงานของฉันนี่นา” “ฉันก็ดื่มแค่สองสามแก้วตอนกลางคืนเพื่อผ่อนคลาย ไม่ได้ดื่มหัวราน้ำเหมือนพวกติดเหล้าสักหน่อย” “ฉันรู้ว่าฉันดื่มหนัก แต่ก็แค่วันหยุดสุดสัปดาห์เท่านั้นนะ แล้วก็ไม่ได้ดื่มจนเมาพับเสียเมื่อไร” คนจำนวนมากที่มีปัญหาการดื่มเหล้า มักไม่ยอมรับความจริงเกี่ยวกับความหนักหนาสาหัสของสถานการณ์ตัวเอง บางคนอาจปฏิเสธว่า การดื่มเหล้าของตัวเองไม่ได้เป็นปัญหาใดๆ บางคนก็อาจยอมรับว่า ตัวเองควร “ลด” ปริมาณการดื่มลงบ้าง แต่ก็ยังยืนยันว่า ตัวเองไม่ได้เป็น “คนขี้เหล้า” แต่อย่างใด ส่วนหนึ่งของการไม่ยอมรับความจริงนี้ มาจากความคิดผิดๆ ที่พบกันทั่วไป เกี่ยวกับลักษณะหรืออาการของการติดเหล้า แต่การศึกษาวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ชี้ว่า การติดเหล้านั้นมีรูปแบบที่แตกต่างกันถึง 5 ประเภท แสดงให้เห็นว่า อาการติดเหล้านั้นอาจแสดงออกมาในรูปแบบแตกต่างกัน ซึ่งอาจไม่เป็นที่สังเกตเห็นเลยก็เป็นได้ การทำความเข้าใจกับการแสดงออกของอาการติดเหล้าในรูปแบบที่แตกต่างกัน จึงเป็นย่างก้าวแรกที่สำคัญที่สุดในการประเมินว่า คุณหรือคนที่คุณรัก อาจกำลังมีปัญหากับการดื่มเหล้าหรือเปล่า ประเภทที่ 1: การดื่มเหล้าเพื่อความสนุกสนานของคนวัยหนุ่มสาว ในกลุ่มคนหนุ่มสาว …

ปัญหาการดื่มเหล้า 5 ประเภท…ดื่มแค่ไหนที่เรียกได้ว่า “ติดเหล้า” Read More »

ลองทำแบบทดสอบเพื่อดูว่าคุณมี 11 พฤติกรรมที่เข้าข่ายว่าติดเหล้า

11 พฤติกรรมที่เข้าข่ายว่าติดเหล้า ลองทดสอบตัวคุณเองดู

ในประเทศไทยผู้คนนิยมดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กันอย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม อาการเสพติดสุราอาจจะระบุได้ยาก การสังเกตตัวเองหรือพฤติกรรมของคนที่เรารักจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อรับรู้ถึงสัญญาณเตือน และเข้ารับการบำบัดรักษาอาการเสพติดสุราได้ทันท่วงที หากคุณชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นชีวิตจิตใจ ดื่มเป็นประจำพร้อมมื้ออาหาร ดื่มทุกงานเลี้ยงและเทศกาล ดื่มทุกสุดสัปดาห์ คุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าพฤติกรรมเหล่านี้ไม่ใช่อาการเสพติดสุรา แบบทดสอบดังต่อไปนี้จะช่วยให้คุณสังเกตและประเมินพฤติกรรมของตัวเองว่าเข้าข่ายผู้ที่มีอาการเสพติดสุรา 1. คุณดื่มเพื่อให้มีความสุขใช่หรือไม่? ถึงแม้ว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยสร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน และทำให้ผู้ดื่มอารมณ์ดีก็ตาม แต่ผู้เสพติดสุรามักต้องการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากๆ จนเกินขีดจำกัดของตนเอง โดยเชื่อว่าการดื่มจะช่วยลดความเครียด หรือทำให้ลืมความเศร้า 2. คุณดื่มเพื่อให้เมาใช่หรือไม่? ข้อแตกต่างระหว่างผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พร้อมมื้ออาหารกับผู้เสพติดสุรา คือการที่ผู้เสพติดสุรามักจะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อให้ตัวเองเมา และมักจะรู้สึกว่าดื่มเท่าไหร่ก็ไม่พอ ทำให้เมื่อเริ่มต้นดื่มแล้ว จะไม่สามารถหยุดดื่มได้ง่ายๆ  3. คุณรู้สึกว่าการดื่มเพื่ออุ่นเครื่องไม่ได้ผลใช่หรือไม่? หลายคนที่ต้องการประหยัดมักจะดื่มอุ่นเครื่องก่อนออกไปเที่ยวกลางคืน เนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในผับบาร์จะมีราคาค่อนข้างสูง ทำให้ไม่สามารถดื่มได้อย่างเต็มที่ แต่สำหรับผู้เสพติดแอลกอฮอล์แล้ว การดื่มเพื่ออุ่นเครื่องไม่ได้ทำให้ความต้องการดื่มลดลง อีกทั้งยังสามารถดื่มหนักได้อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะเริ่มมีอาการมึนเมาแล้วก็ตาม 4. เมื่อดื่มแอลกอฮอล์ คุณมักจะทำอะไรโดยขาดสติใช่หรือไม่?  การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้เราขาดสติ กล้าทำสิ่งต่างๆ โดยไม่ยั้งคิด และมีความสามารถในการตัดสินใจลดลง ผู้เสพติดสุราจึงมักแสดงพฤติกรรมที่รุนแรงหรือไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงต่อตนเองและผู้อื่น นอกจากนี้ การดื่มอย่างหนักจะทำให้ผู้เสพติดมีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจวาย และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกด้วย 5. คุณมักจะเมาจนไม่สามารถจำเรื่องที่เกิดขึ้นใช่หรือไม่? ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จนไม่สามารถทรงตัวได้ มีอาการอาเจียน และมึนเมาจนไม่สามารถจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ จะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอันตราย …

11 พฤติกรรมที่เข้าข่ายว่าติดเหล้า ลองทดสอบตัวคุณเองดู Read More »

เรียนรู้เพื่อเท่าทันพฤติกรรมเสพติดที่อาจทำลายชีวิตได้

การพนัน เซ็กส์ อินเตอร์เน็ต พฤติกรรมเสพติดนี้ทำลายชีวิตได้

เมื่อกล่าวถึงการเสพติด หลายคนมักจะนึกถึงแค่การติดสารเสพติดประเภทต่างๆ ที่ให้โทษต่อร่างกาย เช่น เหล้า และยาเสพติดชนิดร้ายแรง แต่แท้จริงแล้ว การเสพติดพฤติกรรม ก็สามารถทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจได้เช่นเดียวกัน นั่นจึงเป็นคำถามว่า ทำไมหลายคนจึงหมกหมุ่นกับการพนัน อินเตอร์เน็ต สื่อลามก และเซ็กส์ บทความนี้จะพาคุณไปหาคำตอบ เพื่อให้คุณเข้าใจพฤติกรรมเสพติด และเรียนรู้วิธีป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสพติดพฤติกรรม คืออะไร? องค์การ American Society of Addiction Medicine (ASAM) กล่าวว่า “อาการเสพติดเป็นอาการเรื้อรังของสมองที่ตอบสนองต่อความต้องการ แรงจูงใจ และความทรงจำ” พฤติกรรมเสพติด คือ การที่บุคคลตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นและเกิดความพึงพอใจ ทำให้เกิดการทำซ้ำอย่างต่อเนื่องจนเกิดความต้องการที่ไม่รู้จบ พฤติกรรมเสพติดเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน สุขภาพกาย สุขภาพจิต และอาจส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินอีกด้วย นักวิจัยค้นพบว่า การทำกิจกรรมที่เสพติดจะกระตุ้นให้สมองหลั่งฮอร์โมนชนิดเดียวกันกับฮอร์โมนที่หลั่งเวลาใช้ยาเสพติดหรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  นอกจากนี้การทดลองเรื่องพฤติกรรมเสพติดในหนูทดลองยังยืนยันว่า ระบบประสาทของหนูทดลองเมื่อกินอาหาร มีการทำงานคล้ายคลึงกับระบบประสาทของมนุษย์ เมื่อมนุษย์เสพสารเสพติด การที่หนูทดลองมีอาการเหล่านี้ เกี่ยวข้องโดยตรงกับจำนวนที่ลงลดของตัวรับฮอร์โมนโดพามีน ซึ่งจะตอบสนองต่อฮอร์โมนโดพามีน ทำให้หนูเกิดความพึงพอใจ เมื่อกินอาหารที่มีไขมันสูง เช่นเดียวกับการที่มนุษย์มีพฤติกรรมเสพติดการพนัน หรือเซ็กส์ การที่สมองตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นที่มากเกินไปจะส่งผลเสียและทำให้เกิดพฤติกรรมเสพติด แทนที่จะทำให้เรารู้สึกพึงพอใจ แต่กลับทำให้เราต้องการสิ่งกระตุ้นมากกว่าเดิมอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ประเภทของพฤติกรรมเสพติด …

การพนัน เซ็กส์ อินเตอร์เน็ต พฤติกรรมเสพติดนี้ทำลายชีวิตได้ Read More »

เรียนรู้การช่วยเหลือคุณที่รักเมื่อเค้ากลับไปเสพติดอีกครั้งหลังเข้ารับการบำบัด

วิธีการรับมือเมื่อคนที่เรารักกลับไปเสพยาซ้ำ

การรับมือกับการกลับไปเสพยาอีกครั้ง หลังจากที่ผ่านการบำบัดรักษา เป็นความท้าทายทั้งต่อตัวผู้เสพยาและคนที่อยู่รอบข้าง อย่างไรก็ตาม แทนที่จะมองว่าการกลับไปเสพยาเป็นความล้มเหลว เราควรเรียนรู้ว่าทำไมการกลับไปเสพยาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเลิกยา เพื่อสร้างกำลังใจให้กับทั้งผู้เสพยาและตัวเราเองที่เป็นคนในครอบครัว หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้เสพยา คุณคงมีประสบการ์ณตรงกับการพัฒนาของการเสพติดของคนที่คุณรัก หลายๆคนอาจเคยพยายามเกลี้ยกล่อมให้คนที่คุณรักซึ่งเป็นผู้เสพยาเข้าทำการบำบัดรักษาและคอยอยู่เคียงข้างและให้กำลังใจพวกเขาตลอดเส้นทางการเลิกยา ในระยะฟื้นฟูหลังผ่านกระบวนการบำบัด หากคนที่เรารักมีพฤติกรรมผิดปกติที่ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจไม่ว่าจะเป็น เขาไม่โทรหาคุณบ่อยเหมือนที่เคยทำ เขาดูท่าทางมีความลับหรือสัญญาณอะไรก็ตามที่ทำให้คุณรู้สึกว่า คนที่คุณรักกลับไปเสพยาอีกครั้ง นำมาซึ่งความกังวลใจและความเครียดเป็นอย่างมากให้กับตัวคุณรวมถึงคนในครอบครัว แม้ว่าการกลับไปเสพยาอีกครั้งเป็นเรื่องที่ไม่น่ายินดีเท่าไรนัก แต่ก็ไม่ใช่จุดจบหรือความล้มเหลวของการเลิกยา การทำความเข้าใจถึงสาเหตุของการกลับไปเสพยาอีกครั้ง จะช่วยให้คุณผลักดันคนที่คุณรักกลับเข้าบำบัดและเลิกยาเสพติดได้อย่างยั่งยืน การกลับไปเสพยาอีกครั้งคืออะไร การที่จะบอกว่า คนคนหนึ่งกลับไปเสพยาอีกครั้งสามารถบอกได้จากอะไร ดูเหมือนเป็นเรื่องยากในการตัดสิน หากเพื่อนของคุณแค่ดื่มเบียร์แก้วเดียวหลังจากเลิกเหล้าได้มาสักระยะหนึ่ง เรียกว่ากลับไปติดเหล้าอีกหรือไม่ หรือหากน้องชายของคุณ ยอมรับว่าเขาได้ซื้อยาเสพติดมาเพื่อที่จะเสพอีกครั้ง แต่คิดได้จึงทิ้งยานั้นโดยไม่ได้เสพยา แบบนี้เรียกว่ากลับไปเสพยาอีกครั้งได้หรือไม่ การกลับไปเสพยาอีกครั้ง คือการกลับไปใช้สารเสพติดนั้นๆ อีกครั้งโดยผ่านการคิดและไตร่ตรองอย่างดีด้วยสติที่มี แต่การพลั้งเผลอไปเสพยาโดยขาดสติ หรือไม่ตั้งใจ เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์โดยไม่รู้ตัว หรือการใช้ยาบางประเภทซึ่งไปกระตุ้นความต้องการที่จะเสพยาเสพติด เป็นต้น การกลับไปเสพยาอีกเป็นเรื่องปกติแค่ไหน? การกลับไปเสพยาอีกครั้งถือว่าเป็นเรื่องปกติของกระบวนการเลิกยา ซึ่งจำนวนผู้เสพยา 40-60% เคยกลับไปเสพยาอีกครั้งอย่างน้อย 1 ครั้ง ซึ่งสาเหตุของการกลับไปเสพยาอีกครั้งมาจากการเปลี่ยนแปลงของวิถีประสาทของสมอง ดังนั้นในกระบวนการเลิกยาหรือสิ่งเสพติด การสอนให้ผู้เสพมีความรู้ ความเข้าใจของสาเหตุในการเสพ ปัจจัยกระตุ้น และวิธีในการจัดการความคิดของตัวเอง เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงหรือจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม …

วิธีการรับมือเมื่อคนที่เรารักกลับไปเสพยาซ้ำ Read More »

ยาไอซ์ ยาเสพติดที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อร่างกายและสุขภาพจิต เรียนรู้วิธีการช่วยเหลือคนที่คุณรักในการเข้ารับการบำบัดที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด

ยาไอซ์ ยาเสพติดยอดฮิตที่ติดแสนง่าย

ยาไอซ์ เป็นยาเสพติดที่มีผลเสียต่อทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง ใช้เพียง 1-2 ครั้งก็ติดได้ แต่สามารถบำบัดรักษาได้เช่นกัน จากข้อมูลทางสถิติของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ยาไอซ์​เป็นยาเสพติดที่มีผู้เสพติดสูงเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ซึ่งเลขาธิการ ป.ป.ส. เผยว่าในปี 2562 มีผู้เข้ารับการบำบัดจากเสพติด “ยาไอซ์” กว่า 14,000 ราย รูปพรรณของยาไอซ์ มีลักษณะเป็นก้อนผลึกใสเหมือนน้ำแข็ง ดังนั้นจึงเป็นที่มาของชื่อ ไอซ์ (Ice) เป็นยาเสพติดที่มีราคาแพงถึง กรัมละ 2,000 – 3,000 บาท ผู้เสพส่วนใหญ่จึงเป็นกลุ่มวัยรุ่นที่มีเงิน โดยจะเปิดห้องจัดปาร์ตี้เฉพาะกลุ่ม และระบาดในหมู่คนเที่ยวกลางคืนอีกด้วย จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่คุณจะเคยเห็นข่าว ดาราหรือคนที่มีชื่อเสียงถูกจับกุมเนื่องจากการเสพหรือค้ายาไอซ์ และยังมีข่าวเน็ตไอดอลผู้หญิงที่ถูกจับ ที่ให้เหตุผลว่าเสพยาไอซ์เพราะอยากผอม ยาไอซ์ เริ่มเข้ามาระบาดในประเทศไทย โดยการลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งยังสามารถสังเคราะห์โดยมีสารตั้งต้นที่หาง่าย เช่น อีเฟดรีน ซูโดอีเฟดรีน (สารตั้งต้นของ เมทแอมเฟตามีน) เป็นต้น ดังนั้นจึงมีผู้ลักลอบสังเคราะห์ยาไอซ์เพื่อเสพและจำหน่ายเป็นจำนวนมาก แม้เพียงค้นหาใน ทวิตเตอร์ โดยใช้ #น้ำแข็ง ก็จะพบการซื้อขายยาเสพติดประเภทนี้อย่างเปิดเผย  อย่างไรก็ตาม ผู้จำหน่ายยาไอซ์ได้คิดกลยุทธ์ด้านราคา …

ยาไอซ์ ยาเสพติดยอดฮิตที่ติดแสนง่าย Read More »

มาลบภาพจำผิดๆเกี่ยวกับการเสพติดและทำความเข้าใจข้อเท็จจริงของการเสพติดเพื่อช่วยเหลือผู้เสพติดและคนที่เรารัก

6 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการเสพติด: ความจริงที่ต้องได้รับการเปิดเผย

การเสพติดส่งผลเสียต่อคนไทยนับล้าน แต่การที่ผู้คนไม่เข้าใจเกี่ยวกับการเสพติด ทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาการและพฤติกรรมของผู้เสพติด ผลการศึกษาในปี 2017 โดย สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ เผยว่า มีคนจำนวนกว่า 29.5 ล้านคนทั่วโลก กำลังเผชิญกับความทุกข์จากผลกระทบที่มีต้นเหตุจากการเสพติด เนื่องด้วย คนในปัจจุบันยังตีตราผู้ที่มี พฤติกรรมและอาการการเสพติด ว่าเป็นคนไม่ดี และพวกเขายังมักไม่ได้รับการยอมรับจากคนในสังคม นั้นส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดในหลายๆ เรื่องเกี่ยวกับการเสพติด คนส่วนมากมักมีภาพของคนที่ติดสิ่งเสพติด ว่าเป็นคนที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ อาจเป็นคนเร่ร่อน หรือคนยากจนที่ใช้สิ่งเสพติด ซึ่งภาพเหล่านี้มาจากการเสพสื่อที่นำเสนอภาพอคตินี้ให้กับคนในสังคม แต่ความเป็นจริงก็คือผู้ที่เสพติดส่วนมากใช้ชีวิตได้ปกติ ดูเหมือนคนปกติ เพียงแต่พวกเขากำลังต่อสู้กับสิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิตใจแต่มักไม่มีใครมองเห็น การเสพติด เป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนที่จะต้องอาศัยการทำความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อที่จะช่วยเหลือผู้เสพติดในการบำบัดรักษาเพื่อกลับมามีชีวิตปกติสุขอีกครั้งได้ บทความนี้ได้รวบรวม ความเชื่อผิดๆหรืออคติที่พบได้บ่อย และข้อเท็จจริง มานำเสนอเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ “ภาวะเสพติด” ความเชื่อที่ 1: การเสพติดเกิดจากการเลือกที่จะเสพสิ่งเสพติดเอง  ข้อเท็จจริง: คนจำนวนมากมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ว่าการเสพติดมาจากการเลือกหรือตัดสินใจที่จะไปเสพสิ่งเสพติดของผู้เสพเอง แต่อันที่จริงแล้ว การเสพติดเป็นโรคเรื้อรังทางสมองชนิดหนึ่งคล้ายกับโรคมะเร็งซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าคนคนนั้นจะอยากเป็นโรคนี้หรือไม่ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่คนเหล่านั้นจะเลือกได้ จริงอยู่ว่าการเริ่มต้นนำสารเสพติดเข้าสู่ร่างกายเกิดจากการตัดสินใจของบุคคลนั้นเอง แต่หลังจากที่สารเสพติดเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีภายในสมอง ซึ่งกระตุ้นความอยากและไม่สามารถหยุดเสพได้ ทำให้ต้องพึ่งพาสารเสพติดเพื่อดำเนินชีวิตต่อไปได้ ดังนั้นการใช้สารเสพติดอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้เป็นสิ่งที่ผู้เสพติดสามารถเลือกได้แต่อย่างใด บางคนอาจมีเรื่องของพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น พ่อ หรือ ปู่ …

6 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการเสพติด: ความจริงที่ต้องได้รับการเปิดเผย Read More »

ประกาศ

ณ ปัจจุบัน ศูนย์ของเรา ได้ยุติการให้บริการบำบัดภาคภาษาไทย

เดอะดอว์นขอขอบคุณทุกความไว้วางใจมา ณ ที่นี้

ให้เราช่วยคุณเริ่มต้นการเดินทางสู่สุขภาวะที่ดีตั้งแต่วันนี้

โทร: 083 204 8384