หยุดการสนับสนุนให้ผู้เสพติด กระทำเสพติดต่อไปเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ครอบครัวสามารถทำได้

5 สิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อช่วยให้คนที่เรารักต่อสู้กับการเสพติด

เมื่อเรารู้ว่าคนในครอบครัวของเรากำลังเผชิญปัญหาและความทุกข์ทรมาณจากภาวะเสพติด การเข้าช่วยเหลือเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างเร่งด่วน อย่างไรก็ดี วิธีการที่เราจะใช้ในการเข้าพูดคุยกับเขา เพื่อนำเขาเข้ารับการบำบัดเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ดังนั้น การใช้วิธีการที่ถูกต้องในการเข้าหา โดยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง บทความนี้จะช่วยทำให้คุณเข้าใจถึงวิธีการในการโน้มน้าวผู้เสพติดให้เข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี

1.ยอมรับว่ามีการเสพติดเกิดขึ้น

ขั้นแรกที่จะช่วยเหลือผู้เสพติดในการเลิกยาและสิ่งเสพติดได้ คือ การยอมรับว่าคนที่เรารักมีพฤติกรรมเสพติด ซึ่งพฤติกรรมนี้อาจแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนต่อบุคคลภายนอก แต่กลับกันคนในครอบครัว ปฏิเสธที่จะยอมรับความจริงในข้อนี้ รวมถึงการมีความสัมพันธ์ที่บกพร่องในครอบครัว (Co-dependent relationship)

อย่างไรก็ตาม การยอมรับว่ามีการเสพติดขึ้นอยู่กับว่า คนที่เรารักมีอาการเสพติดอยู่ในขั้นไหน ซึ่งอาจเป็นเรื่องยาก หากผู้เสพติดเริ่มทำตัวออกห่างอันเนื่องมากจาก รูปแบบชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อนใหม่ที่เขาให้ความสนิทสนมด้วย หรือการแยกตัวอยู่คนเดียวของผู้เสพติด ทำให้ส่งผลต่อความยากในการประเมินสถานการณ์

การพูดคุยกับคนใกล้ชิด หรือคนในครอบครัวของผู้เสพติดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม อันเนื่องจากสารเสพติด เป็นข้อมูลที่สำคัญ เช่น การเสพติดเกิดขึ้นแบบทันทีทันใด หรือค่อยเป็นค่อยไป ยิ่งเรายอมรับว่าคนที่เรารักเสพติดเร็วแค่ไหน ยิ่งสิ่งผลดีต่อการรักษามากขึ้นเท่านั้น

2. หยุดการสนับสนุนที่ส่งผลให้ผู้เสพติดเสพติดต่อไป

เพื่อที่จะช่วยผู้เสพติดให้เลิกยาและสิ่งเสพติดได้ บุคคลใกล้ชิด หรือสมาชิกในครอบครัวจะต้องยอมรับว่า ตนเองอาจมีส่วนช่วยทำให้ผู้เสพติดมีพฤติกรรมในการเสพติดต่อไป แม้ว่าการทำความเข้าใจจะใช้เวลา และรับการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ​ ดังนั้นการยอมรับว่า ตัวเราอาจมีส่วนช่วยให้คนที่เรารักเสพติด จะสามารถสร้างความระมัดระวัง และช่วยเหลือผู้เสพติดได้ ตัวอย่าง พฤติกรรมที่เป็นการช่วยสนับสนุนผู้เสพติดให้เสพติดต่อไป ได้แก่

  • การให้เงินผู้เสพติดซึ่งอาจจะนำไปใช้ในการซื้อยาเสพติด
  • ไม่จริงจัง หรือไม่สนใจหากผู้เสพติดกลับไปใช้สารเสพติดอีก หลังจากที่สัญญาว่าจะหยุด
  • แก้ตัวแทนผู้เสพติด
  • ทำหน้าที่ ที่ผู้เสพติดจะต้องรับผิดชอบแทน
  • การประกันตัวผู้เสพติดออกจากคุก

เราอาจรู้สึกว่าสิ่งที่เราทำ คือการช่วยเหลือคนที่เรารัก แท้จริงแล้วผลกลับเป็นไปในทางตรงข้าม คุณกำลังส่งเสริมให้เขามีพฤติกรรมในการเสพติดต่อไป และกำลังสร้างความสัมพันธ์แบบพึ่งพาซึ่งกันและกันอยู่

3. การสื่อสารกับผู้เสพติดอย่างมีประสิทธิภาพ

การพูดคุยเกี่ยวกับพฤติกรรมการเสพติดเป็นเรื่องที่อ่อนไหวมาก ซึ่งในช่วงต้นของการเสพติด ผู้เสพติดมักไม่ยอมรับว่าเขากำลังมีพฤติกรรมในการเสพติด หรือรู้สึกอายกับพฤติกรรมของตนเอง จึงไม่อยากที่จะพูดถึง ต่อมาอาจเริ่มยอมรับว่าตัวเองกำลังเสพติด เนื่องจากความต้องการสารเสพติดที่มีมากขึ้น แต่ยังคงคิดว่าตัวเองสามารถควบคุมปริมาณในการใช้สารเสพติดได้ และไม่ยอมรับว่าพฤติกรรมการเสพติดมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด และชีวิตของตนเองอย่างไร

ในการที่จะเข้าพูดคุยกับผู้เสพติด สิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาก็คือ ระดับการเสพติด และความสัมพันธ์กับผู้เสพติด เช่น แม้ว่าพ่อกับแม่จะมีความเป็นห่วง และกังวลต่อพฤติกรรมการเสพติดของลูกที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นเพียงใดก็ตาม การเข้าพูดคุยกับลูกเกี่ยวกับปัญหาการเสพติดอาจจะต้องทำโดยคนอื่นซึ่งมีอายุใกล้เคียงกัน หรือคนที่มีความเป็นผู้ปกครองน้อยกว่า 

สำหรับผู้ที่มีภาวะเสพติดอย่างหนัก การอาศัยความร่วมมือของคนในครอบครัวและผู้เชี่ยวชาญเป็นเรื่องจำเป็นในการแทรกแซงเข้าพูดคุยให้ผู้เสพติดเข้าทำการบำบัดรักษา ซึ่งจากสถิติพบว่าผู้เสพติดจำนวน 90% ที่ได้รับการแทรกแซงหรือคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ตัดสินใจเข้าบำบัดในศูนย์บำบัดยาเสพติด

4. การเตรียมความพร้อม

การเข้าพูดคุยกับผู้เสพติดเกี่ยวกับพฤติกรรมการเสพติดของพวกเขาเป็นเรื่องใหญ่ การเตรียมตัวที่ดีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ สิ่งแรกที่เราจะต้องเตรียมตัวก็คือ การรับมือกับปฏิกิริยาโต้ตอบ เช่นอารมณ์โกรธ อาย หรือการปฏิเสธ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่พบได้โดยปกติ อย่างไรก็ตามแม้ว่าผู้เสพติดจะมีปฏิริยาต่อต้าน ก็ไม่ได้หมายความว่าความพยายามของเราไม่ส่งผลต่อเขาในการกลับไปคิดทบทวนเกี่ยวกับพฤติกรรมการเสพติด และการพิจารณาเพื่อเข้าทำการบำบัดรักษาในศูนย์บำบัดยาเสพติด

ช่วงเวลาของการเสพติด ตลอดไปจนการบำบัดรักษาอาการเสพติด คนในครอบครัวอาจได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากพฤติกรรมของผู้เสพติดเช่น การผลักไสเราออกไป หรือการกระทำที่เป็นการทำร้ายจิตใจ อย่างไรก็ดีการพยายามนึกถึงความรัก และความทรงจำดีๆของเราต่อตัวผู้เสพติด เพื่อที่เราจะสามารถช่วยเหลือเขา ให้เขาสามารถกลับมาควบคุมสติของตัวเองและพยายามที่จะเป็นคนที่ดีขึ้นจะช่วยสร้างประโยชน์ให้กับบุคคลทุกฝ่าย ในการเข้าพูดคุยกับผู้เสพติด สิ่งที่จะต้องตระหนักก็คือ เราจะต้องไม่กล่าวโทษ หรือตำหนิผู้เสพติดแม้ว่าเราอาจรู้สึกเจ็บปวดจากพฤติกรรมของเขาในอดีตก็ตาม เพราะสุดท้ายแล้วเราต้องการให้เขากลับมาเป็นปกติและมีชีวิตที่ดีอีกครั้ง

5. การได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง

กุญแจสำคัญอีกดอก ที่จะเป็นตัวช่วยให้การช่วยเหลือเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ การได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในการช่วยเหลือผู้เสพติดจากผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัด ผู้ที่จะเข้าพูดคุยเพื่อโน้มน้าวให้ผู้เสพติดเข้าทำการบำบัดรักษา จำเป็นที่จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเสพติด โดยญาติไม่ควรที่จะกล่าวโทษ หรือตำหนิผู้เสพติด ในขณะที่พยายามที่จะแสดงความเข้าอกเข้าใจความทุกข์ของพวกเขา 

เราแนะนำให้ญาติพาผู้เสพติดเข้ารับการบำบัดรักษาแบบอยู่ประจำ เพราะการแยกตัวผู้เสพติดออกจากสิ่งกระตุ้น การมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลขณะดีท๊อกซ์ (ล้างพิษยา หรือสุรา) และการสร้างบรรยากาศในการบำบัดรักษายาเสพติด จะส่งผลในการเลิกเสพติดในระยะยาว

การช่วยผู้เสพติดในการบำบัดรักษาที่ ศูนย์บำบัดยาเสพติดเดอะดอว์น เชียงใหม่

ศูนย์บำบัดยาเสพติดเดอะดอว์น เชียงใหม่ ให้การรักษาผู้ที่ประสบปัญหาติดยาเสพติด ด้วยวิธีการรักษาแบบองค์รวม

เดอะดอว์น ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ท่ามกลางธรรมชาติที่งดงาม และห่างไกลจากสิ่งกระตุ้นที่พบเจอในชีวิตประจำวัน ผู้เชี่ยวชาญของเราใช้จิตบำบัดร่วมกับวิธีการบำบัดรักษาทางเลือกอื่นๆ เช่นการทำสมาธิ ศิลปะบำบัด โยคะ และการออกกำลังกาย เพื่อที่จะให้ทางเลือกสำหรับผู้เข้าทำการบำบัดรักษาแบบเฉพาะตัว ที่เดอะดอว์น เรามีโปรแกรมการรักษาที่มีความยืดหยุ่น เพื่อให้ผู้เข้าทำการรักษาแต่ละบุคคลสามารถปรับแผนการรักษาให้เหมาะสมกับเขามากที่สุด 

สามารถติดต่อ เดอะดอว์นได้วันนี้ เพื่อขอรับข้อมูลในการบำบัดรักษาการเสพติด

ประกาศ

ณ ปัจจุบัน ศูนย์ของเรา ได้ยุติการให้บริการบำบัดภาคภาษาไทย

เดอะดอว์นขอขอบคุณทุกความไว้วางใจมา ณ ที่นี้

ให้เราช่วยคุณเริ่มต้นการเดินทางสู่สุขภาวะที่ดีตั้งแต่วันนี้

โทร: 083 204 8384