บาดแผลทางใจในวัยเด็กที่สร้างผลกระทบต่อพฤติกรรมในวัยผู้ใหญ่

บาดแผลทางใจในวัยเด็ก สาเหตุ, อาการ และวิธีการบำบัดรักษาที่จะช่วยให้เราเดินก้าวไปข้างหน้าได้

สถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำจัดกัดความของ “บาดแผลทางใจในวัยเด็ก” ว่า “ประสบการณ์ อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ในวัยเด็ก ที่สร้างความเจ็บปวดทางอารมณ์ ก่อให้เกิดความทุกข์อย่างแสนสาหัส และนำมาซึ่งผลต่อสุขภาพกายและใจในระยะยาว”

การต้องพบเจอกับเหตุการณ์ที่ยากลำบาก เป็นเรื่องปกติที่เด็กทุกคนจะต้องเจอ เพื่อให้พวกเขาสามารถที่จะเรียนรู้ในการรับมือ และพัฒนาจิตใจให้แข็งแกร่ง ในการเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม หากเด็กคนไหนต้องเจอกับเหตุการณ์ที่ทำให้พวกเขารู้สึกหวาดกลัว และรู้สึกไม่ปลอดภัยต่อชีวิตของพวกเขา แม้จะเพียงแค่ครั้งเดียว หรือ เกิดขึ้นหลายๆครั้ง เหตุการณ์เช่นนี้ อาจนำมาซึ่งบาดแผลทางใจ เด็กที่ต้องเผชิญกับความรู้สึกหวาดกลัว จะรู้สึกสูญเสียความสามารถในการควบคุม และจัดการกับชีวิต ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ อาจเกิดจากในบ้าน หรือในสังคมที่เขาอยู่ก็ได้

ความหวาดกลัวที่เกิดขึ้นอาจมาจาก พ่อแม่ เพื่อน ครู หรือจากปัจจัยต่างๆภายนอก ไม่ว่าจะเป็น ภัยธรรมชาติ (สึนามิ), อุบัติเหตุ (รถชน), การใช้ชีวิตในพื้นที่เสี่ยงอันตราย ซึ่งล้วนแล้วแต่สามารถสร้างบาดแผลทางใจต่อเด็กได้ทั้งสิ้น

นอกจากนี้ ความเข้าใจระหว่างความสัมพันธ์ของการเสพติด และบาดแผลทางใจ ก็เริ่มได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย โดย Dr.Gabor Meta ผู้เชี่ยวชาญด้านการเสพติดชื่อดังของโลก ได้กล่าวไว้ว่า เด็กที่มีระดับคะแนน บาดแผลทางใจ (Adverse childhood experience : ACE) เท่ากับ 6 จะมีโอกาสมากกว่าคนทั่วไป ถึง 46 เท่าในการมีความเสี่ยงที่จะมีพฤติกรรมเสพติด นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย หรือการตายก่อนเวลาอันควรด้วย 

10 สาเหตุหลักของการเกิดบาดแผลทางใจในวัยเด็ก

10 เหตุการณ์ ที่เป็นสาเหตุของบาดแผลทางใจของเด็กมากที่สุด ที่เด็กน่าจะเคยพบเจอ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อจิตใจที่ไม่ได้ทำการบำบัดรักษา จะนำมาซึ่งผลในด้านลบต่อบุคคลนั้นๆ 

  1. การโตมากับผู้ปกครอง หรือคนเลี้ยงที่มีปัญหาการเสพติด หรือใช้ยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์อย่างยาวนาน
  2. การโตมาในบ้านที่ผู้ปกครอง หรือคนเลี้ยง ติดคุก
  3. การโตมาในบ้านที่ผู้ปกครองมีปัญหาด้านสุขภาพจิต เช่น โรคจิตเภท หรือโรคซึมเศร้า
  4. การเห็นแม่โดนทำร้ายร่างกายโดยพ่อ
  5. การได้รับการทำร้ายทางความรู้สึก อันเนื่องจากผู้ปกครองไม่ใส่ใจดูแลจิตใจเด็ก เพราะทำงานหนัก, มีปัญหาส่วนตัว, สนใจแต่ตัวเอง และการถูกผู้ปกครองดูถูก หรือถูกดุด่าเป็นประจำ ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกหวาดกลัว
  6. การถูกล่วงละเมิดทางเพศจากผู้ปกครอง, สมาชิกในครอบครัว, เด็กวัยเดียวกัน หรือคนที่มีอำนาจเหนือกว่า
  7. การถูกทำร้ายร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นจากที่บ้าน โดยผู้ปกครองที่ใช้วิธีการทำร้ายร่างกายในการสอนลูก หรือจากนอกบ้าน โดยคนที่มีอำนาจเหนือกว่าเด็ก
  8. การสูญเสียผู้ดูแลหลัก ไม่ว่าจะเป็น การตาย การหย่าร้าง หรือการถูกทอดทิ้ง
  9. การเติบโตมาโดยไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ ซึ่งเกิดจากการที่พ่อแม่ไม่สนใจที่จะตอบสนองต่อความต้องการ และความรู้สึกของลูก
  10. การเติบโตโดยไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ทางร่างกาย ส่งผลให้พวกเขาไม่ได้รับประทานอาหาร ไม่มีเสื้อผ้าใส่ ไม่มีคนดูแลเรื่องความสะอาด หรือความอบอุ่นหากอยู่ในสภาพอากาศที่หนาวเย็น

อย่างไรก็ตาม จาก 10 ข้อข้างต้น ยังไม่ครอบคลุมถึง บางเหตุการณ์ที่อาจส่งผลต่อจิตใจของเด็กเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่ต้องเผชิญภัยพิบัติ หรือได้รับผลกระทบกระเทือนทางจิตใจจากสงคราม เป็นต้น

สาเหตุที่ไม่ชัดเจนนักของการเกิดบาดแผลทางใจ

มีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนักเกี่ยวกับการเกิดบาดแผลทางใจในวัยเด็ก ว่าจะต้องมาจากการถูกทำร้ายทางร่างกายเท่านั้น ที่จริงแล้วไม่ว่าการกระทำใดก็ตาม ที่สร้างความรู้สึกโดดเดี่ยว อ่อนแอ หรือทำให้รู้สึกหวาดกลัว ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อจิตใจล้วนแล้วแต่สามารถสร้างบาดแผลทางใจให้กับเด็กได้ทั้งสิ้น บาดแผลทางใจ ไม่เพียงเกิดจากเหตุการณ์จริง แต่สามารถเกิดจากการรับรู้ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของคนคนนั้นอีกด้วย ซึ่งเป็นที่มาว่าเพราะเหตุใดทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ที่ผ่านประสบการณ์แบบเดียวกันจึงตอบสนองต่อเหตุการณ์แตกต่างกัน ซึ่งบางคนไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลยจากเหตุการณ์ แต่ในขณะที่บางคนได้รับผลกระทบทางใจจนเกิดเป็น ความเครียดหลังเหตุสะเทือนขวัญ (PTSD)

ประสบการณ์ที่เราไม่คาดหวังหรือไม่อยากให้เกิดขึ้น สามารถสร้างบาดแผลทางใจให้กับเราได้ โดยเฉพาะเด็กที่ไม่มีความอำนาจที่จะหยุดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามมีหลายๆเหตุการณ์ที่อาจดูไม่รุนแรงนัก แต่สามารถสร้างผลกระทบทางใจที่รุนแรงต่อเด็กได้ในระยะยาว

เหตุการณ์ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม ได้แก่

  • ความยากจน
  • การต้องเปลี่ยนโรงเรียนอย่างกะทันหัน
  • การมีพี่น้องที่เจ็บป่วย
  • ต้องได้รับการผ่าตัด
  • การต้องเห็นพ่อแม่ได้รับบาดเจ็บ

หรือ เหตุการณ์ที่สร้างความบอบช้ำทางอารมณ์ ได้แก่

  • การถูกล้อเลียน และทำให้อายที่โรงเรียน
  • การถูกรังแก
  • การถูกพ่อแม่ ตำหนิต่อหน้าคนอื่น และทำให้รู้สึกอับอายอยู่เป็นประจำ
  • ต้องดูแลพ่อแม่
  • ต้องดูแลน้อง

อาการของบาดแผลทางใจในวัยเด็ก

อาการของบาดแผลทางใจในวัยเด็กมีความรุนแรงแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก ; การมีอาการบางอาการที่แสดงให้เห็นไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นสัญญาณที่ชัดเจนที่บอกว่าเด็กคนนั้นกำลังมีบาดแผลในใจ ผู้ปกครองที่สงสัยว่าลูกของตัวเองกำลังมีบาดแผลทางใจ ควรจะนำลูกของท่านเข้าทำการวินิจฉัยโดยผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการบำบัดเยียวยาและรักษาบาดแผลทางใจในวัยเด็ก

ผลกระทบของบาดแผลทางใจเด็กต่อพัฒนาการของเด็ก

บาดแผลทางใจในวัยเด็กจะสร้างผลกระทบต่อชีวิตของบุคคลนั้นๆในระยะยาว หากไม่ทำการเยียวยารักษาอย่างเหมาะสม ความเจ็บปวดทางจิตใจ และความเครียดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างกายภาพทางสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลกระทบต่อ อินซูล่า (Insular) ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ลึกเข้าไปในเปลือกสมอง อินซูล่า มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมอารมณ์ และการตระหนักรู้ในตนเอง

พัฒนาการทางสมองของผู้มีบาดแผลทางใจในวัยเด็ก

การพัฒนาของสมองคนเราเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่แรกเกิดจนถึงช่วงวัยรุ่น การประสบเหตุการณ์สะเทือนขวัญและมีบาดแผลทางใจในช่วงนี้ จะมีผลกระทบต่อการพัฒนาของสมอง จากการศึกษาเปรียบเทียบพบว่า อาการที่แสดงออกอันเนื่องจากบาดแผลทางใจในช่วงวัยเด็ก และวัยรุ่นมีความแตกต่างกัน คนที่ประสบเหตุการณ์สะเทือนขวัญในช่วงวัยเด็กจะไม่แสดงออกถึงบาดแผลทางใจอย่างชัดเจน แต่จะมีอาการ เช่น การแยกตัว ภาวะซึมเศร้า และการโทษตัวเอง ต่างกับคนที่ประสบเหตุการณ์สะเทือนขวัญในช่วยวัยรุ่นที่มักมีอาการที่แสดงออกให้เห็นเป็นพฤติกรรม เช่น มีนิสัยก้าวร้าว หุนหันพลันแล่น ชอบเสี่ยง ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด และการก่อคดีอาชญากรรม

การบำบัดบาดแผลทางใจในวัยเด็ก

การรักษาอาการจากบาดแผลทางใจในวัยเด็กสามารถทำได้แบบไป-กลับ หรือ อยู่ประจำที่ศูนย์บำบัด การทำงานผ่านความทรงจำในวัยเด็กที่สร้างความเจ็บปวด มักทำให้เกิดความทุกข์ใจขึ้น ดังนั้น การเข้ารับการรักษาที่ศูนย์บำบัดผู้เข้ารับการรักษาจะได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจุดมุ่งหมายของการบำบัด ไม่ใช่การลบความทรงจำที่เจ็บปวด แต่เป็นการลดทอนหรือขจัดความทรงจำทางอารมณ์ที่มีอยู่อย่างมากให้ลดลง เพื่อลดความเจ็บปวดทางใจที่เกิดขึ้น

มีการวิจัย และพัฒนารูปแบบในการรักษาบาดแผลทางใจที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งวิธีการรักษาที่นำมาใช้อย่างแพร่หลาย ได้แก่:

Trauma-focused cognitive behavioral therapy (TF-CBT)

TF-CBT เป็นการบำบัดระยะสั้นที่ได้รับการรับรองผลในการช่วยลดบาดแผลทางใจ และ อาการของ PTSD ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก ตามหลักการของ CBT

TF-CBT ได้ถูกนำมาใช้ในการบำบัดผู้ป่วยซึมเศร้าและได้ผลสำเร็จมากกว่า 50 ปี โมเดลนี้ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถสร้าง เครื่องมือในการจัดการกับความคิดและความรู้สึกที่เป็นลบที่เกิดขึ้นจากหลายๆสถานการณ์ได้ และยังช่วยให้เด็กสามารถจัดการกับสิ่งเร้าที่มากระตุ้นถึงความทรงจำที่เจ็บปวดได้อีกด้วย

Eye movement desensitisation and reprocessing (EMDR)

EMDR เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงที่ช่วยให้ผู้มีบาดแผลทางใจสามารถประมวลผลความทรงจำได้อย่างเหมาะสม ซึ่งทำโดย การกระตุ้นดวงตาทั้งสองข้าง (Bi-lateral stimulation) การเคลื่อนไหวของดวงตา หรือการกระตุ้นด้วยการสัมผัส (Tactile stimulation) จะช่วยเคลื่อนย้ายความทรงจำที่เจ็บปวด ซึ่งติดอยู่ในส่วนหน้าของจิตใจ และนำไปรวมเข้ากับความทรงจำระยะยาว 

EMDR เป็นวิธีการรักษาที่รวดเร็ว ซึ่งทำเพียง 8 ครั้งก็เพียงพอที่จะลดอาการบาดเจ็บทางจิตใจ และอาการของ PTSD ได้เป็นอย่างมาก

Trauma release exercise (TRE)

TRE เป็นการออกกำลังกายที่จะช่วยให้ร่างกายคลายกล้ามเนื้อที่ตึงเครียดอันเนื่องมาจากความเครียด และความเจ็บปวดจากบาดแผลทางใจ การออกกำลังกายที่ถูกวิธีจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวอย่างเป็นธรรมชาติ เนื่องจากการสั่นสะเทือน ทำให้ร่างกายกลับสู่ภาวะสมดุล

Transcranial magnetic stimulation (TMS) 

เหมาะสำหรับคนที่มีอาการ ซึมเศร้า หรือ วิตกกังวล ที่มาจาก PTSD เพราะ TMS เป็นการรักษาความสมดุลของสมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์

การรักษาด้วย TMS เป็นการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นไปยังสมองส่วนที่เกี่ยวของกับสารสื่อประสาท เพื่อช่วยปรับความสมดุลของการสื่อสารระหว่างสมองส่วนต่างๆ โดยไม่ต้องใช้ยาและการผ่าตัด TMS ได้รับการรับรองโดยองค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา

การรักษาบาดแผลทางใจแบบอยู่ประจำที่ ศูนย์สุขภาพจิต เดอะดอว์น เชียงใหม่

ศูนย์สุขภาพจิต เดอะดอว์น เชียงใหม่ ให้การรักษาผู้ที่ประสบปัญหาบาดแผลทางใจในวัยเด็ก

เดอะดอว์น เราเป็นศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพจิต เอกชน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการบำบัดรักษาบาดแผลทางใจ และ PTSD รวมถึงการเยียวยาการเสพติด โรคซึมเศร้า และโรคทางจิตเวชอื่นๆ โดยทีมนักจิตวิทยาคลีนิก

ศูนย์ของเราตั้งอยู่นอกตัวเมืองเชียงใหม่ ติดแม่น้ำปิง บรรยากาศภายในศูนย์เงียบสงบ ห่างไกลจากผู้คน สถานที่ และปัจจัยต่างๆ ที่มีส่วนกระตุ้นปัญหาที่คุณประสบอยู่  ซึ่งเอื้อต่อการตอบสนองของการรักษาของคุณ ไม่เพียงเท่านี้ เรายังมีกิจกรรมพัฒนาสุขภาวะเช่น โยคะ, การทำสมาธิ และฟิตเนส 

ติดต่อแผนกแรกรับของเราวันนี้ เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนสู่การเข้ารับการรักษาที่ศูนย์สุขภาพจิตของเรา

ประกาศ

ณ ปัจจุบัน ศูนย์ของเรา ได้ยุติการให้บริการบำบัดภาคภาษาไทย

เดอะดอว์นขอขอบคุณทุกความไว้วางใจมา ณ ที่นี้

ให้เราช่วยคุณเริ่มต้นการเดินทางสู่สุขภาวะที่ดีตั้งแต่วันนี้

โทร: 083 204 8384