การเสพติดเป็นหนึ่งในโรคร้ายภายในครอบครัว

ทำไมการเสพติดถูกเรียกว่า เป็นโรคร้ายของครอบครัว?

การเสพติดเป็นโรคร้ายที่มีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อผู้เสพติดทั้งทางร่างกาย และจิตใจ จากอาการอยากยา จะผลักดันให้ผู้เสพติดทำทุกวิถีทางเพื่อได้ยาเสพติดมา มีทั้งพฤติกรรมโน้มน้าวชักจูง กดดัน ก้าวร้าว และการโกหกคนใกล้ชิด รวมทั้งการขโมยเงินหรือของในบ้าน สิ่งเหล่านี้ทำลายความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว และสถานะทางการเงิน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของคนทั้งบ้าน จึงเป็นที่มาของคำว่า การติดยาเสพติดเป็นโรคร้ายของครอบครัวนั่นเอง

เรามักจะกล่าวโทษผู้เสพติดว่าเป็นต้นเหตุของปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดี บ่อยครั้งที่คนในครอบครัวเองก็มีส่วนที่ทำให้การเสพติดดำเนินต่อไป อันเนื่องมาจากความสามารถของผู้เสพติดในการโน้มน้าวชักจูง จนทำให้คนในครอบครัวไม่สามารถที่จะปฏิเสธต่อสิ่งที่พวกเขาร้องขอได้

พฤติกรรมการโกหกเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้คนในครอบครัวไม่สามารถที่จะแยกแยะได้ว่า เรื่องไหนเป็นเรื่องจริง หรือเรื่องไหนเป็นเรื่องโกหก เช่น ผู้เสพติดอาจมาขอเงินเพื่อนำไปซื้อของใช้ที่จำเป็น หรือนำไปจ่ายค่าเช่าที่พักอาศัย แต่กลับนำเงินนั้นไปซื้อยาเสพติด 

ความสัมพันธ์ในครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นผู้เสพติด เรียกว่า ความสัมพันธ์แบบพึ่งพา (Codependent Relationship) สิ่งที่มักพบเห็นได้ทั่วไปของครอบครัวที่มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาก็คือ คนในครอบครัวพยายามที่จะเอาใจผู้เสพติด พวกเขาต้องการได้รับความสนใจจากตัวผู้เสพติด 

โดยส่วนใหญ่แล้วผู้เสพติดจะให้ความสนใจแต่สิ่งที่เขาได้ประโยชน์ เช่น การได้เงินเพื่อเอาไปซื้อยาเสพติด และเนื่องจากการเสพติดกินเวลาหลายปี ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับครอบครัวจึงมีความรุนแรง และยากที่จะแก้ไข พลังงานและเวลาของคนในครอบครัว จึงหมดไปกับความพยายามที่จะช่วยเหลือผู้เสพติดให้เลิกสารเสพติด แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนไม่มีเวลานำไปพัฒนาความสัมพันธ์ที่มีความหมายระหว่างบุคคลในครอบครัวเลย

โดยส่วนมากคนในครอบครัวของผู้เสพติดมักมีความเครียดเป็นอย่างมาก อันเนื่องมาจาก ความกังวลในตัวผู้เสพติด เช่น ไม่รู้ว่าตอนนี้เขาอยู่ที่ไหน หรือไม่รู้ว่าเขายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ด้วยภาวะความเครียด และความวิตกกังวลที่สะสมมาเป็นระยะเวลานาน ส่งผลต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของคนในครอบครัว จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ครอบครัวที่มีผู้ติดสิ่งเสพติด จะมีภาวะของโรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้า

ครอบครัวได้รับผลกระทบอย่างไรจากการเสพติด

หากคนในครอบครัวมีพฤติกรรมการเสพติด สมาชิกคนนั้นมักจะสร้างผลกระทบต่อครอบครัว และ ทำร้ายจิตใจคนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็น พ่อแม่ พี่ น้อง สามี ภรรยา ลูก หรือ ใครก็ตามที่อยู่ใกล้ชิด การเสพติด ก่อให้เกิดความเครียด การทะเลาะเบาะแว้ง การสื่อสารที่ไม่เข้าใจกัน และสร้างผลกระทบทางลบมากมายต่อครอบครัว

เนื่องจาก ผู้เสพติดมีพฤติกรรมที่ไม่สามารถคาดเดาได้ คำพูดของผู้เสพติดที่ไม่สามารถเชื่อถือได้ พฤติกรรมผิดปกติและมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความไม่มั่นคงของหน้าที่การงาน สิ่งเหล่านี้ทำให้คนในครอบครัวต้องรับผิดชอบบางอย่างแทนผู้เสพติด ก่อให้เกิดความเครียด และอารมณ์ทางด้านลบมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกโกรธ การกล่าวโทษ ความทุกข์ใจ และความกลัว เป็นต้น ไม่เพียงเท่านี้ พฤติกรรมการโกหก ที่ทำลายความไว้เนื้อเชื่อใจของคนในครอบครัว ก็ส่งผลกระทบต่อความเป็นครอบครัวในหลายๆ ด้านเช่นกัน

คนในครอบครัวมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสพติดอย่างไร

ทุกคนในครอบครัวมีหน้าที่ของตัวเองที่ต้องรับผิดชอบ เพื่อที่จะสร้างครอบครัวที่มีความอบอุ่น และ มั่นคง แต่หากคนใดคนหนึ่งในครอบครัวไม่ทำหน้าที่ของตนเอง เนื่องจากติดยาเสพติด ครอบครัวที่เคยมีความอบอุ่น และมั่นคงก็จะได้รับความกระทบกระเทือน

บทบาทต่างๆ ของคนในครอบครัวที่มีผู้เสพติด ประกอบด้วย

  • ผู้ให้ท้าย (Enabler)

บุคคลนี้มักมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้เสพติด และมีพฤติกรรมที่ช่วยสนับสนุนให้ผู้เสพติด เสพติดต่อไป โดยการปกป้องเขาจากผลกระทบอันเนื่องจากการกระทำของเขา ตัวอย่างเช่น การให้เงินใช้ทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจว่า เขาจะเอาเงินไปทำอะไร รวมถึงการแก้ตัวหรือโกหกแทน และปฏิเสธที่จะยอมรับว่าคนที่เรารักมีพฤติกรรมเสพติด เป็นการสนับสนุนให้ผู้เสพติด ใช้ยาเสพติดต่อไป

  • ฮีโร่ (Hero)

พี่คนโตของครอบครัวมักรับบทนี้ เขามักจะเข้ามาจัดการและดูแลทุกอย่างในบ้าน อันเนื่องจากผลกระทบจากพฤติกรรมของผู้เสพติด ไม่ว่าจะเป็น การทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองแทน คนกลุ่มนี้มักมีความต้องการที่จะสร้างครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ และพยายามอย่างยิ่งที่จะรักษาความสมบูรณ์แบบของครอบครัว

  • แพะรับบาป (Scapegoat)

บุคคลนี้ มักจะเป็นเด็กมีปัญหาของครอบครัว ชอบสร้างปัญหา แหกกฎ โต้เถียง และอื่นๆ แต่เขากล้าพูดกล้าแสดงออกในเรื่องที่ครอบครัวพยายามปกปิดหรือไม่ยอมรับ เลยถูกลงโทษจากคนในครอบครัวมากที่สุด ไม่ว่าเขาเป็นจำเลยตัวจริงหรือไม่

  • มาสคอต/ตัวฮา (Mascot)

บุคคลนี้มักจะพยายามใช้อารมณ์ขัน เพื่อจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะช่วยทำให้ทุกคนรู้สึกดีขึ้น

  • เด็กที่ถูกลืม (Lost Child)

บุคคลนี้มักจะเป็นคนที่เงียบที่สุดในบ้าน เขามักจะแยกตัวเองจากสมาชิกคนอื่นๆ จนคนในครอบครัวลืมให้ความสนใจในตัวเขา เพราะมัวแต่ทุ่มเทเวลาให้กับผู้เสพติด ไม่เพียงเท่านี้ พวกเขามีปัญหาในการเข้าสังคม และพยายามที่จะหาทางพ้นความทุกข์จากปัญหาที่มีที่บ้าน

การเสพติดส่งผลกระทบต่อเด็ก หรือผู้เป็นลูกอย่างไรบ้าง

ลูกของผู้เสพติดจะได้รับผลกระทบอย่างมากจากการเสพติด ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อพัฒนาการตั้งแต่วัยเด็ก จนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ นอกจากนี้ผลกระทบอื่นๆ ที่ลูกของผู้เสพติดจะได้รับ มีดังต่อไปนี้

  • ความวิตกกังวล
  • ความรู้สึกซึมเศร้า
  • ความรู้สึกผิด
  • มีความพึงพอใจในตัวเองต่ำ (Low-self esteem) และมองตัวเองในด้านลบ (Poor self-image)
  • รู้สึกเหงา
  • กลัวการถูกทอดทิ้ง
  • รู้สึกสิ้นหวัง

การเสพติดในแม่ที่ตั้งครรภ์ส่งผลกระทบในด้านลบต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ เมื่อเด็กเกิดมาก็จะมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ ส่วนเด็กที่อาศัยอยู่กับญาติที่มีพฤติกรรมเสพติด ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะมีปัญหาในด้านพัฒนาการทางอารมณ์ และพฤติกรรมที่สร้างปัญหา เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กทั่วไปด้วย

อะไรคือความแตกต่างระหว่างการช่วยเหลือ และการส่งเสริมให้ผู้เสพติดเสพติดต่อไป

เมื่อสมาชิกคนใดคนหนึ่งในครอบครัวติดยาเสพติด เป็นเรื่องปกติที่คนในครอบครัวจะหาทางช่วยเหลือ แม้ว่าพวกเขาจะมีเจตนาที่ดี แต่บ่อยครั้งการช่วยเหลือที่ไม่ถูกวิธี ก็กลับกลายเป็นส่งเสริมให้ผู้เสพติดเสพติดต่อไป สิ่งที่คนส่วนมากเริ่มทำคือการควบคุมปริมาณการเสพ โดยการกำหนดข้อจำกัดต่างๆ เป็นต้น

การที่คนในครอบครัวหรือเพื่อนของผู้เสพติด ปกป้องพวกเขาจากผลของการกระทำที่ผู้เสพติดควรจะได้รับ การทำเช่นนี้ไม่เพียง ทำให้ผู้เสพติดไม่สามารถเลิกเสพยาเสพติด แต่ ยังส่งผลให้ผู้สนับสนุนเองสูญเสียความนับถือในตัวเอง เนื่องจากความคิดที่ว่า การที่คนที่เขารักต้องเสพยาเสพติด มีสาเหตุจากพวกเขา มากกว่ายาเสพติด และในส่วนของตัวผู้เสพติดเองก็หมดความนับถือในตัวผู้ช่วยเหลือ เพราะคิดว่าผู้ช่วยเหลือเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาต้องทนทุกข์ทรมานกับการเสพติดนี้ต่อไป นั่นเอง

สัญญาณของพฤติกรรมที่จะสนับสนุนให้มีการเสพติดอย่างต่อเนื่องจากบุคคลในครอบครัว ได้แก่

  • ปฏิเสธเกี่ยวกับพฤติกรรมการเสพติด
  • มีข้ออ้างแทนผู้เสพติด
  • อนุญาตให้ใช้สารเสพติด
  • หนีปัญหา
  • ทำสิ่งต่างๆ ที่เป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้เสพติดแทน
  • เก็บความรู้สึก
  • ปกป้องภาพลักษณ์ของครอบครัว
  • ไม่คำนึงถึงความรุนแรงของสถานการณ์ 
  • โทษคนอื่น

เราจะช่วยคนที่เรารักจากการเสพติดได้อย่างไร

คนในครอบครัวสามารถช่วยเหลือคนที่เรารัก ให้หยุดพฤติกรรมการเสพติดได้ โดยการรู้เท่าทันพฤติกรรมไหนที่สนับสนุนให้ผู้เสพติดเสพติดต่อไป และวิธีการอื่นๆ ดังต่อไปนี้

ครอบครัวบำบัด คืออะไร

ครอบครัวบำบัด คือ การบำบัดโดยความร่วมมือของ คนในครอบครัว เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ผู้เสพติดกลับไปใช้สารเสพติดอีก และลดความเสี่ยงของการติดสิ่งเสพติดเพิ่มเติมของคนในครอบครัว ซึ่งในระหว่างการทำครอบครัวบำบัด เรามักที่จะค้นพบปัญหาอื่นๆเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็น ปัญหาทักษะการเลี้ยงลูก ความขัดแย้งในครอบครัว โรคซึมเศร้า และการใช้ความรุนแรง

ครอบครัวบำบัด และการบำบัดสารเสพติด เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำควบคู่กันไป เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของการบำบัดรักษา การทำครอบครัวบำบัด เปิดโอกาสให้คนในครอบครัวได้พูดคุย หารือถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการเยียวยาในตัวเองอยู่แล้ว นอกจากนี้คนในครอบครัวจะได้ข้อมูลความรู้มากขึ้น เกี่ยวกับการเสพติด และวิธีการบำบัดรักษาอีกด้วย

บำบัดรักษายาเสพติดที่ ศูนย์บำบัดยาเสพติดเอกชนเชียงใหม่ เดอะดอว์น

เดอะดอว์น ศูนย์บำบัดยาเสพติด ช่วยให้ครอบครัวเข้าใจถึงผู้เสพติดและช่วยยับยั้งต้นเหตุของการเสพติดของคนในครอบครัว

หากคนที่คุณรักพร้อมที่จะเข้าทำการบำบัดรักษายาเสพติด สิ่งหนึ่ง ที่คนในครอบครัวจะสามารถช่วยเหลือก็คือ การหาข้อมูลว่า ศูนย์บำบัดยาเสพติดที่เราเลือก มีการทำครอบครัวบำบัดด้วยหรือไม่ เนื่องจากครอบครัวบำบัดจะช่วยในการเยียวยาบาดแผลทางใจ และช่วยให้ทุกคนในครอบครัว สามารถลดอารมณ์ทางด้านลบ

ที่ เดอะดอว์น ศูนย์บำบัดยาเสพติดเอกชน เราเล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำครอบครัวบำบัด เป็นอย่างมาก จึงเป็นที่มาที่ทำให้เราออกแบบหลักสูตรการรักษาที่รวมครอบครัวบำบัดเข้าไปด้วย หากคุณสนใจในการเข้ารับการบำบัดที่ศูนย์บำบัดเดอะดอว์นเชียงใหม่ ติดต่อแผนกแรกรับของเราวันนี้ เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนสู่การเข้ารับการรักษา

ประกาศ

ณ ปัจจุบัน ศูนย์ของเรา ได้ยุติการให้บริการบำบัดภาคภาษาไทย

เดอะดอว์นขอขอบคุณทุกความไว้วางใจมา ณ ที่นี้

ให้เราช่วยคุณเริ่มต้นการเดินทางสู่สุขภาวะที่ดีตั้งแต่วันนี้

โทร: 083 204 8384