เรียนรู้ 5 ขั้นตอนในช่วยเหลือเพื่อให้คนที่คุณรักเข้ารับการบำบัดยาเสพติด

5 ขั้นตอนเพื่อช่วยเหลือคนที่คุณรักให้เข้ารับการบำบัด

หลายๆ คน คงอาจเคยเห็นฉากของการไกล่เกลี่ยระหว่างคนในครอบครัวที่มีผู้เสพติดให้เข้ารับการบำบัดจากภาพยนตร์ต่างประเทศมาบ้างแล้ว ซึ่งการแทรกแซงหรือไกล่เกลี่ยในภาษาอังกฤษ คือคำว่า “Intervention” กระบวนการแทรกแซงก็คือ การที่คนในครอบครัว เพื่อนสนิทของผู้เสพติด หรือผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต รวมตัวกันเพื่อเข้าพูดคุยอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมากับผู้เสพติด หรือผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต เพื่อโน้มน้าวให้พวกเขาเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานบำบัด ซึ่งการแทรกแซงที่ประสบผลสำเร็จโดยส่วนมากจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ช่วยไกล่เกลี่ยพูดคุย

เป้าหมายหลักของการแทรกแซงคือ การทำให้ผู้เสพติดยอมเข้ารับการบำบัดในสถานบำบัด และอีกหนึ่งปัจจัยเชิงบวกของการทำ การแทรกแซงหรือไกล่เกลี่ยให้กับครอบครัวนั้นคือ ช่วยให้สุขภาพจิตของคนในครอบครัวดีขึ้นและพร้อมที่จะเปิดรับด้วยความสัตย์และเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงปัญหาภาวะเสพติดของคนที่เรารัก การแทรกแซงนั้นทำโดยผู้เชี่ยวชาญที่จะต้องรับฟังปัญหาเหล่านี้ก่อนการเข้าไกล่เกลี่ย

การแทรกแซงที่จะประสบความสำเร็จได้ จำเป็นอย่างมากที่จะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการช่วยเหลือ พวกเขารู้ดีว่าจะต้องทำอย่างไร และจะคอยแนะนำขั้นตอน กระบวนการ สิ่งที่ควรทำ และ ไม่ควรทำ ร่วมวางแผนการแทรกแซง ไปจนถึงการซักซ้อมก่อนเข้าทำการแทรกแซงกับคนในครอบครัวและผู้เกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญด้านการแทรกแซงจะให้ข้อมูลเพื่อให้คนในครอบครัวและผู้เกี่ยวข้องเข้าใจว่า การเข้าพูดคุยในครั้งนี้ พวกเขาจะต้องเปิดใจ แสดงความรัก ความจริงใจ ความเข้าใจ และพร้อมที่จะสนับสนุนผู้เสพติดในการเลิกสิ่งเสพติด มากกว่าการพูดคุยในเชิงตำหนิ หรือแสดงความโกรธต่อพฤติกรรมของผู้เสพติด

ผู้เชี่ยวชาญด้านการแทรกแซงจะแนะนำวิธีในการพูดคุยกับผู้เสพติด ในเชิงสร้างความเข้าใจเรื่องของผลกระทบที่เกิดจากการเสพติด และให้ข้อมูลในการเข้ารับการบำบัดรักษาอย่างถูกต้อง เนื่องจาก การพูดคุยกับผู้เสพติดเกี่ยวกับอาการเสพติดเป็นสิ่งที่เปราะบาง หากทำด้วยแนวทางที่ไม่ถูกต้อง อาจส่งผลให้ผู้เสพติด พยายามหลีกหนี และยากที่จะช่วยเหลือเขาได้ต่อไป

การแทรกแซงสามารถช่วยเหลือผู้เสพติดได้จริงหรือไม่

คำตอบสั้นๆ ก็คือ การแทรกแซงสามารถช่วยเหลือผู้เสพติดได้ และส่วนมากของกระบวนการแทรกแซงโดยผู้เชี่ยวชาญมักจะประสบความสำเร็จ

สถานการณ์ระหว่างกระบวนการนี้มักเต็มไปด้วยความตึงเครียด การพูดถึงการเสพติด หรือ อาการป่วยที่ส่งผลกระทบด้านลบกับจิตใจของผู้เสพติดหรือผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เนื่องจากสิ่งเสพติดหรืออาการป่วยส่งผลให้พวกเขามีอาการต่อต้านหรือดื้อ ไม่ยอมรับว่าพวกเขากำลังเสพติด หรือป่วย พวกเขามักไม่ยอมรับฟังเหตุและผล แม้ว่าคำพูดที่ได้รับฟังอาจเต็มไปด้วยความหวังดีและเป็นห่วงก็ตาม ดังนั้น การมีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้แนะนำวิธีการที่ถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

สำหรับผู้เสพติด หรือ ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะที่แย่มากๆแล้ว คนกลุ่มนี้มักเปิดใจและพร้อมที่จะเข้ารับการบำบัดรักษา แต่อย่างไรก็ตามโอกาสที่พวกเขาจะเลิกเสพติดได้โดยเด็ดขาดด้วยตัวเองมีโอกาสน้อยมาก เนื่องจากสารเสพติดได้ทำลายสมองและสติสัมปชัญญะ ซึ่งกระบวนแทรกแซงโดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยช่วยเหลือกรณีนี้ มีโอกาสช่วยให้ผู้เสพติดเข้าทำการรักษาในศูนย์บำบัดยาเสพติด และ เลิกสิ่งเสพติดได้อย่างยั่งยืน

จุดประสงค์ของการแทรกแซงคืออะไร

การแทรกแซงมีจุดประสงค์เพื่อ เจรจาพูดคุยกับผู้เสพติดเพื่อนำพวกเขาเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานบำบัดโดยได้คำชี้แนะ จากผู้เชี่ยวชาญ การแทรกแซงมักทำไปพร้อมกับคนในครอบครัว ผู้ซึ่งมีความห่วงใยและได้รับผลกระทบโดยตรงจากพฤติกรรมการเสพติดมากที่สุด ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้คนในครอบครัว หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องทำการเข้าพูดคุย แบบเปิดใจกับผู้เสพติด โดยสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัย เต็มไปด้วยความรักความห่วงใยและปรารถนาดีต่อผู้เสพติดในการเลิกสิ่งเสพติด เพื่อกลับมามีชีวิตปกติสุขอีกครั้ง

การแทรกแซงที่จะประสบความสำเร็จ จำเป็นอย่างมากที่จะมีบุคคลที่สามซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญคอยแนะนำวิธีการที่ถูกต้อง เนื่องจากโดยส่วนมากแล้วผู้เสพติด ที่ได้รับอิทธิพลจากการใช้สารเสพติด พวกเค้าจะมีวิธีโน้มน้าวคนในครอบครัวหรือคนใกล้ชิด ให้คล้อยตามเขา และปล่อยให้พวกเค้าเสพสารเสพติดต่อไป ความสงสารนี้เองทำให้คนในครอบครัวไม่สามารถช่วยเหลือให้ผู้เสพติดเลิกสิ่งเสพติดนั้นได้ และบ่อยครั้งยังเป็นการทำให้การเสพติดนั้นดำเนินต่อไปโดยที่พวกเขาไม่รู้ตัว ผู้เชี่ยวชาญด้านการแทรกแซงเข้าใจพฤติกรรมนี้เป็นอย่างดี เนื่องจากพวกเขาอาจเคยเป็นผู้เสพติดมาก่อน หรือ เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมแบบมืออาชีพ และมีประสบการณ์โดยตรงกับการแทรกแซงมาเป็นจำนวนมาก

กระบวนการของการแทรกแซงเป็นอย่างไร?

1. การเตรียมตัว และการซักซ้อม

ขั้นตอนแรก ผู้เชี่ยวชาญจะทำการพูดคุยกับคนในครอบครัว หรือ เพื่อนของผู้เสพติด เพื่อทำความเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และทำการประเมินการช่วยเหลือ หลังจากนั้น ผู้เชี่ยวชาญ จะรวบรวมกลุ่มคน ซึ่งประกอบไปด้วยคนในครอบครัว เพื่อน เพื่อนร่วมงาน หรือ หัวหน้างาน เพื่อให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับการเสพติด ผลกระทบต่อสุขภาพ และวิธีการแทรกแซงที่ถูกต้อง เพื่อให้คนกลุ่มนี้สามารถเข้าเจรจาพูดคุยและโน้มน้าวผู้เสพติดเพื่อเข้าทำการรักษาได้สำเร็จ

ผู้เสพติดมักมองไม่เห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมการเสพติดของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นต่อตนเอง หรือคนรอบตัว การทำให้พวกเขาเห็นกระทบที่เกิดขึ้นชัดเจนขึ้น ผ่านการเล่าประสบการณ์ของคนที่รักเขา ถึงความเจ็บปวดที่ได้เห็นคนที่เขารักมีพฤติกรรมที่เกิดจากการเสพติด รวมไปถึงแผนการบำบัดรักษา เพื่อช่วยให้เขาเข้าใจ และยอมเข้ารับการบำบัดรักษาต่อไป อย่างไรก็ตาม คำพูดทั้งหมด จะถูกร่าง และตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ และซักซ้อมกันภายในกลุ่มก่อนที่จะมีการลงมือทำจริง

2. เลือกสถานที่และเวลาในการแทรกแซงที่เหมาะสม

กฎพื้นฐานของการแทรกแซงก็คือ สถานที่ที่จะใช้ในการแทรกแซงจะต้องเป็นที่ที่ผู้เสพติดรู้สึกคุ้นเคย และไม่รู้สึกน่ากลัวสำหรับพวกเขา เพื่อเพิ่มโอกาสในการแทรกแซงที่ประสบความสำเร็จ เวลาที่ควรเข้าแทรกแซงก็ควรจะเป็นเวลาที่ผู้เสพติดไม่อยู่ในอาการมึนเมา หรือเพิ่งสร่างจากการมึนเมา ซึ่งการแทรกแซงโดยทั่วไปมักใช้เวลาประมาณ 30 ถึง 90 นาที แล้วแต่กรณี อย่างไรก็ตาม ผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการแทรกแซงทุกคนจะต้องไปถึงสถานที่ก่อนเวลาเพื่อทำการเตรียมตัวและซักซ้อมก่อนทำการแทรกแซง

3. เตรียมใจยอมรับกับผลที่จะเกิดขึ้น

ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ก็คือ การที่ผู้เสพติดยอมรับข้อเสนอในการเข้าบำบัดรักษาด้วยความเต็มใจ ครอบครัวอาจเตรียมรถ หรือ ตั๋วเครื่องบินไว้ เพื่อนำตัวผู้เสพติดเข้าทำการบำบัดรักษาได้ทันที อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไม่สามารถคาดการณ์ได้เสมอไป ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และตัวผู้เสพติดคนนั้นๆ ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว ผู้เสพติด มักรู้สึกประหลาดใจ และตกใจ กับการเข้าแทรกแซงของคนในครอบครัว ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจะเป็นคนช่วยแนะนำวิธีการอย่างมีสติ เพื่อจัดการให้สถานการณ์อยู่ในความสงบ สร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย เพื่อให้เกิดความสำเร็จในการเข้าแทรกแซง ไม่ว่าสถานการณ์จะอยู่ในภาวะตึงเครียด หรือมีความวุ่นวาย ดังนั้น การมีนักแทรกแซงมืออาชีพคอยให้คำปรึกษาจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น

4. การบอกถึงผลกระทบที่ชัดเจน

ในการเจรจากับผู้เสพติด การบอกถึงผลกระทบที่ชัดเจนหากผู้เสพติดไม่เข้าทำการรักษา หรือ รักษาไม่ประสบความสำเร็จ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก คนในครอบครัว หรือ ผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการแทรกแซงจะต้องพูดคุยอย่างเปิดเผยถึงผลกระทบที่พวกเขาจะได้รับ เช่น การที่จะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ การที่จะต้องแยกลูกของผู้เสพติดออกจากเขา หรือ การที่จะไม่ให้อาศัยอยู่ในบ้านต่อไป เป็นต้น ไม่เพียงแต่คำพูดที่หนักแน่นและชัดเจน คนในครอบครัวจะต้องรักษาคำพูด และทำให้ผู้เสพติดได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้น หากพวกเขาไม่ทำหรือทำไม่สำเร็จสิ่งนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญมากต่อการเลิกยาเสพติดได้สำเร็จและยั่งยืน

5. การบำบัดรักษา

อย่างที่ทราบกันดีว่า เป้าหมายของการแทรกแซงคือ การให้ผู้เสพติดเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานบำบัด ซึ่งการเลือกสถานบำบัดก่อนที่จะเข้าทำการแทรกแซงเป็นสิ่งที่สำคัญ ครอบครัวควรหาข้อมูล และเลือกศูนย์บำบัดที่ตอบโจทย์ความต้องการของครอบครัว และ มีเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในการนำตัวผู้เสพติดเข้ารับการบำบัด

เลิกพฤติกรรมเสพติดที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด เดอะดอว์น เชียงใหม่

การเข้ารับการบำบัดรักษาในศูนย์บำบัด ผู้เสพติดจะรู้สึกผ่อนคลาย และสงบ เนื่องจากได้นำตัวเองออกมาจากสิ่งแวดล้อมเดิมๆ มาอยู่ในสถานที่สงบ ปราศจากสิ่งกระตุ้นรบกวน ซึ่งเป็นปัจจัยในการทำให้พวกเขาอยากกลับไปเสพสิ่งเสพติดอีกครั้ง ผู้เสพติดจะสามารถเลิกพฤติกรรมเก่าๆ ที่ไม่ดี รวมถึงการหยุดการติดต่อกับกลุ่มเพื่อนเดิมๆ ที่ชักจูงให้พวกเขาเสพสิ่งเสพติด และเป็นโอกาสในการสร้างสิ่งดีๆ สิ่งใหม่ๆ ให้กับชีวิตอีกด้วย

การบำบัดแบบกลุ่ม

โปรแกรมการบำบัดในศูนย์บำบัดส่วนมากแล้วเป็นโปรแกรมที่มีระยะเวลา 28 วัน ซึ่งจะเป็นการบำบัดแบบกลุ่ม ควบคู่ไปกับการทำกิจกรรมต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้เสพติดมีกิจกรรมทำตลอดทั้งวัน เบี่ยงเบนความสนใจในการเสพยาเสพติด และส่งเสริมสุขภาวะที่ดี ซึ่งการบำบัดแบบกลุ่มนี้ ทำให้ผู้เสพติดไม่ต้องอยู่คนเดียว และเปิดโอกาสให้พวกเขาแบ่งปันประสบการณ์กับผู้เสพติดรายอื่นๆ ที่อาจมีประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกัน โดยมีนักจิตบำบัด หรือนักจิตวิทยาให้คำปรึกษาคอยดูแล และจัดการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ทุกคนสบายใจ และปลอดภัยในการพูดคุย

การบำบัดแบบตัวต่อตัว

การบำบัดแบบเฉพาะบุคคลจะช่วยทำให้ผู้เสพติดได้รับการดูแลโดยผู้ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ผู้ให้คำปรึกษาจะประเมินอาการของผู้เสพติดแต่ละบุคคลและวางแผนการบำบัดรักษาแบบเฉพาะสำหรับพวกเขาแต่ละคน โดยตลอดระยะเวลาการบำบัด ผู้เสพติดจะได้รับการดูแลจากผู้ให้คำปรึกษาตลอดโปรแกรม และหากผู้เสพติดอนุญาต ผู้ให้คำปรึกษาก็สามารถที่จะพูดคุยกับครอบครัวของพวกเขาเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เสพติด เพื่อนำมาซึ่งความเข้าใจที่มากขึ้น

กลุ่มสนับสนุนการเลิกสิ่งเสพติด

การมีกลุ่มสนับสนุนในการเลิกสิ่งเสพติดนอกโปรแกรมการบำบัดเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งกลุ่มสนับสนุนนี้ จะทำการจัดขึ้น เพื่อให้ผู้เสพติดและอาสาสมัคร เข้าพบปะเพื่อพูดคุย แบ่งปันเรื่องราวเป็นประจำทุกสัปดาห์โดยมักจัดขึ้นภายนอกศูนย์บำบัด โดยศูนย์บำบัดจะมีข้อมูลของการจัดพบปะพูดคุยนี้ และเป็นผู้นำผู้เสพติดเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นประจำ ซึ่งอาสาสมัครที่โดยส่วนมากแล้วเป็นคนที่สามารถเลิกสิ่งเสพติดได้สำเร็จ พวกเขาจะให้เบอร์ติดต่อ เพื่อให้ผู้เสพติดได้ติดต่อพูดคุย เพื่อช่วยเป็นกำลังใจ และผู้สนับสนุนให้กับผู้เสพติดในการเลิกเสพติดได้อย่างประสบความสำเร็จ

ประโยชน์ที่จะได้รับจากศูนย์บำบัดยาเสพติด

การได้เข้ามาอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่ห่างไกลจากสิ่งเร้าที่จะทำให้ผู้เสพติดกลับไปเสพติดอีกครั้ง นอกจากนี้ ศูนย์บำบัดยังช่วยควบคุมดูแลผู้เสพติดที่มีอาการรุนแรง ไม่ให้ออกนอกสถานบำบัด และให้การดูแลผู้เสพติดตลอด 24 ชั่วโมง การอยู่ในศูนย์บำบัด ผู้เสพติดจะได้สร้างเพื่อนใหม่ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่จะคอยสนับสนุนกันและกันเพื่อเป้าหมายในการเลิกสิ่งเสพติดได้สำเร็จ โดยการเข้ากลุ่มจะทำให้พวกเขาได้แบ่งปันเรื่องราว ประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ซึ่งผู้เสพติดจำนวนมากอยู่ในจุดที่ชีวิตตกต่ำ ไม่ว่าจะเป็น ผ่านการหย่าร้าง มีภาวะซึมเศร้า เหนื่อยล้าจากการทำงาน หรือ อยู่ในภาวะที่ไม่สามารถจัดการชีวิตของตัวเองได้แล้ว การได้พูดคุยกับคนที่มีความเข้าอกเข้าใจ จะทำให้พวกเขารู้สึกดีขึ้น และมีกำลังใจในการใชัชีวิตต่อไป

การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในชีวิตเกิดขึ้นระหว่างการบำบัด พวกเขาจะมีความสุขมากขึ้น มีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น เนื่องจากผู้ที่เสพติดมักจะผ่านชีวิตที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย ตึงเครียด และชีวิตที่เต็มไปด้วยสิ่งที่ต้องปิดบัง การมีคนเข้าอกเข้าใจปัญหาของเขา จะช่วยทำให้เขาสามารถกลับมามีชีวิตปกติได้อีกครั้ง เนื่องจาก ไม่เพียงแต่พวกเขาต้องการเลิกสิ่งเสพติดให้สำเร็จเพื่อตัวเอง พวกเขายังมีเป้าหมายที่จะเลิกเพื่อที่พวกเขารักด้วย

เดินทางสู่การเลิกยาเสพติดที่ยั่งยืน กับศูนย์บำบัดยาเสพติด เดอะดอว์น เชียงใหม่

การสนับสนุนจากกลุ่มและผู้เชี่ยวชาญจากเดอะดอว์น ศูนย์บำบัดยาเสพติด เชียงใหม่

การเลิกยาเสพติดไม่ใช่เรื่องง่าย และผู้เสพติดจำนวนมากมักรู้สึกว่าพวกเขาคงไม่สามารถทำได้ อย่างไรก็ตาม ที่เดอะดอว์น เชียงใหม่ พวกเขาจะได้เรียนรู้ว่า พวกเขาสามารถที่จะเลิกสิ่งเสพติดได้ โดยการได้ลองใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ ได้รับผิดชอบกับชีวิตของตัวเอง นี่เองไม่เพียงแต่ทำให้ชีวิตของพวกเขาค่อยๆ ดีขึ้น แต่ความสัมพันธ์กับครอบครัว และคนที่พวกเขารักก็จะค่อยๆ ดีขึ้นด้วย การเลิกยาเสพติดอาจเริ่มต้นได้จากการเข้าแทรกแซงโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้เขาตัดสินใจและยินยอมเข้ารับการบำบัดในศูนย์บำบัดที่ไม่เพียงแต่เป็นการช่วยผู้เสพติดเองเท่านั้น แต่เป็นการช่วยทุกคนในครอบครัวให้มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นด้วย 

ศูนย์บำบัดยาเสพติด เดอะดอว์น ตั้งอยู่ที่ จ.เชียงใหม่ เราเป็นสถานบำบัดยาเสพติดที่รับรองโดยกระทรวงสาธารณสุข ใช้เทคนิคจิตบำบัดบำบัดที่ได้ล่าสุดจากตะวันตก  และยังให้การบำบัดรักษากับผู้มีปัญหาด้านสิ่งเสพติด โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคอารมณ์สองขั้ว โรคทางด้านพฤติกรรมต่างๆ และโรคบาดแผลทางใจและความเครียดหลังเหตุสะเทือนขวัญ (PTSD) ติดต่อเราวันนี้ เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในการเข้ารับการบำบัดกับผู้เชี่ยวชาญของเรา 

ประกาศ

ณ ปัจจุบัน ศูนย์ของเรา ได้ยุติการให้บริการบำบัดภาคภาษาไทย

เดอะดอว์นขอขอบคุณทุกความไว้วางใจมา ณ ที่นี้

ให้เราช่วยคุณเริ่มต้นการเดินทางสู่สุขภาวะที่ดีตั้งแต่วันนี้

โทร: 083 204 8384