ผลกระทบของบาดแผลในจิตใจในวัยเด็กอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อสุขภาพทางจิตในวัยผู้ใหญ่ ทำความเข้าใจประสบการณ์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของเราวันนี้

ผลกระทบของบาดแผลในใจในวัยเด็กในผู้ใหญ่

ประสบการณ์ที่ดีในวัยเด็ก จะกลายเป็นความทรงจำที่ดีที่จะคงอยู่กับเราตลอดไป และช่วยเราให้ก้าวข้ามผ่านอุปสรรค และความยากลำบากต่างๆ ในชีวิตเมื่อเราเติบโตขึ้น อย่างไรก็ดี เนื่องจาก เด็กมีความสามารถในการจดจำเรื่องราวต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งหากเด็กคนไหน มีประสบการณ์ที่เลวร้าย ก็จะส่งผลอย่างยิ่งต่อทิศทางในการดำเนินชีวิตของพวกเขา ประสบการณ์ที่เลวร้าย สามารถสร้างบาดแผลทางใจให้กับคนคนหนึ่ง ซึ่งบาดแผลนั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของคนนั้น ซึ่งต้องอาศัยการบำบัดทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง (PTSD) ในการช่วยเหลือให้พวกเขากลับมาดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขอีกครั้ง

อะไรคือบาดแผลทางใจในวัยเด็ก (Traumatic childhood)

The National Institute of Mental Health ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า บาดแผลทางใจในวัยเด็ก คือ “ประสบการณ์ที่ได้รับจากเหตุการณ์ที่สร้างความเจ็บปวด และความทุกข์ทางใจต่อเด็ก ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจของเด็กคนนั้น” ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ ได้แก่

การถูกละเมิดในวัยเด็ก (Childhood abuse)

เด็กคนหนึ่งต้องการการดูแลเอาใจใส่ และ การสนับสนุนจากคนในครอบครัว รวมไปถึงบุคคลรอบตัวของพวกเขา หากเด็กคนนั้นไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ และสนับสนุนที่เหมาะสม ก็จะส่งผลกระทบทำให้เกิด ความบาดเจ็บทั้งทางร่างกาย และจิตใจ คำว่า “ถูกละเมิด (abuse)” ได้แก่ การทำร้ายทางจิตใจ ร่างกาย และ การล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเด็กคนนั้นในระยะยาว

บาดแผลในใจที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมในวัยเด็ก

สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการพัฒนาด้านอารมณ์ของเด็กเป็นอย่างมาก หากเด็กเห็นเหตุการณ์ที่จะก่อให้เกิดบาดแผลทางใจกับคนรอบตัว พวกเขาก็จะสามารถรู้สึกได้ถึงความเจ็บปวดนั้นด้วยเช่นกัน สิ่งแวดล้อมที่ไม่มั่นคง เช่น มีภาวะความเครียดสูง มีการใช้ยาเสพติด มีการใช้ความรุนแรง (โดยเฉพาะกับแม่) หรือ มีคนในครอบครัวที่มีอาการทางจิต ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเด็กคนนั้นในทางลบ นอกจากนี้ เหตุการณ์ที่มีผลต่อจิตใจต่อเด็ก เช่น พ่อแม่แยกทางกัน พ่อแม่หย่าร้างกัน หรือคนในครอบครัวติดคุก ก็สามารถสร้างบาดแผลในใจให้กับพวกเขาได้เช่นกัน

การถูกทอดทิ้ง

หากผู้ปกครองของเด็กไม่สามารถที่จะดูแล หรือ ตอบสนองต่อความต้องการขั้นพื้นฐานของเด็กได้ หรือแย่กว่านั้น คือ การที่เด็กคนนั้นถูกทอดทิ้ง ก็จะส่งผลถึงพัฒนาการด้านจิตใจของพวกเขาเป็นอย่างมาก

บาดแผลในใจส่งผลอย่างไรกับเด็ก?

ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง (Post-traumatic stress disorder) เป็นผลกระทบระยะยาวอีกรูปแบบหนึ่งจากเหตุการณ์ที่ได้ยกตัวอย่างไปข้างต้น ซึ่งการแสดงออกทางอาการสามารถเกิดได้หลายรูปแบบ

จริงอยู่ที่ความทุกข์ และ บาดแผลในใจ อาจไม่สร้างผลกระทบระยะยาวเสมอไป และในหลายๆ กรณีที่เด็กสามารถเยียวยาตัวเองได้อยากรวดเร็วจากเหตุการณ์ที่ดูเหมือนจะสร้างความเจ็บปวดทางจิตใจ หรือ ร่างกายต่อพวกเขา ในบางราย ประสบการณ์ที่สร้างความเจ็บปวด ก็แสดงอาการให้เห็นเพียงช่วงสัปดาห์ หรือ เดือนเท่านั้น ไม่ได้พัฒนาไปจนเป็นภาวะของการป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง (PTSD)

แต่อย่างไรก็ตามภาวะ PTSD ที่เกิดจากบาดแผลทางใจในวัยเด็ก สามารถเกิดขึ้นบ่อยมากกว่าที่เราคาดคิดไว้ เด็กที่มีบาดแผลทางใจ มักจะไม่เชื่อใจบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากความเจ็บปวดทางจิตใจจากประสบการณ์ที่พวกเขาได้รับ บางคนมีพฤติกรรมต่อต้านสังคมซึ่งเกิดมาจากการแสดงออกทางอารมณ์ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

อีกอาการหนึ่งที่พบได้บ่อยครั้งคือ การย้อนนึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ในหัวของพวกเขาเอง ซึ่งนำไปสู่พฤติรรมการหลีกหนี เพื่อที่จะป้องกันตัวเองจากการนึกถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่เคยเกิดขึ้น เด็กจำนวนมากมีพฤติกรรมที่ระมัดระวัง และ ไวต่อการหลีกหนีปัจจัยต่างๆ ที่จะทำให้พวกเขาหวนคิดถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น

อาการอื่นๆ จาก บาดแผลทางใจในวัยเด็ก ได้แก่:

  • หวาดกลัว วิตกกังวล รวมไปถึงรู้สึกว่าตัวเองโดดเดี่ยว ซึ่งสามารถนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้
  • โกรธ ก้าวร้าว และ มีพฤติกรรมที่ทำลายตัวเอง
  • มีความมองเห็นคุณค่าในตัวเองต่ำ (Low self-esteem)
  • ไม่อยากทานอาหาร
  • นอนไม่หลับ หรือ ไม่มีสมาธิในการทำการบ้านได้
  • มีความกังวลค่อนข้างสูง หรือ กลายเป็นคนที่ดูเศร้า หงุดหงิด หรือ โกรธ
  • สุขภาพไม่ดี เช่น มีอาการปวดหัว และ ปวดท้อง

หากไม่ได้รับการบำบัดรักษา โดยเฉพาะอาการที่อาจนำไปสู่ภาวะทางจิต อาการเหล่านี้ก็จะยังคงอยู่กับพวกเขาไปจนโตเป็นผู้ใหญ่

เหตุการณ์ที่มีผลกระทบทางใจมีผลอย่างไรกับสมอง?

การพัฒนาของสมองเกิดขึ้นในช่วงที่เราเป็นเด็ก ดังนั้น สภาพแวดล้อมที่มั่นคง และสนุนสนับต่อการพัฒนาภายในเพื่อสร้างความสมดุลจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง หากพวกเขาไม่มีสภาพแวดล้อมที่ดีที่จะช่วยให้สมองพัฒนาได้ดี ก็จะสร้างผลกระทบเป็นอย่างมากต่อชีวิตของบุคคลนั้นๆ

ปัญหาการเรียนรู้ และ การจดจำ, ปัญหาการเข้าสังคม, ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ซึ่งเกิดจากผลกระทบของการพัฒนาทางด้านสมอง อันเนื่องจากบาดแผลในใจในวัยเด็ก ปัญหาในการควบคุมตัวเอง ซึ่งส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมอื่นๆ ล่วนแล้วแต่มาจากภาวะของการป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง (PTSD) เนื่องจากบาดแผลทางใจในวัยเด็กแทบทั้งสิ้น

ปัญหาด้านอารมณ์และสุขภาพจิต เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อยครั้งในผู้ใหญ่ซึ่งไม่ได้รับการสนับสนุนด้านพัฒนาการที่ดีในวัยเด็ก ปัญหาความสามารถในการวางแผนที่ต่ำ ไม่สามารถลำดับความสำคัญก่อนหลังได้ ตามมาด้วยปัญหาการผลัดวันประกันพรุ่ง ปัญหาดังกล่าวนี้ล้วนแล้วแต่เป็นผลกระทบทางอ้อมจากบาดแผลในใจในวัยเด็กแทบทั้งสิ้น

อย่างไรก็ดี ปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น อาจไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นผลกระทบอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบทางจิตใจ (หรือผลกระทบยังคงมีอยู่) แต่จะต้องมีการวินิจฉัยจากข้อมูลส่วนตัวในอดีตอย่างละเอียดโดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรอง ก่อนที่จะพิจารณาวิธีการบำบัดรักษาที่เหมาะสมต่อไป

อาการจากบาดแผลทางใจในวัยเด็ก ในผู้ใหญ่

เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่สร้างความเจ็บปวดทางใจให้กับเรา เรามักจะมีวิธีการในหลากหลายรูปแบบเพื่อช่วยปกป้องร่างกาย และ จิตใจของเราจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ประโยชน์ในระยะสั้นก็คือ ความสามารถในการจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ในระยะสั้น แต่ผลเสียที่ตามมาก็คือ ผลข้างเคียงที่ก่อให้เกิดผลเสียกับตัวเรา
4 วิธีการต่อไปนี้ เป็นวิธีที่คนจำนวนมากใช้ในการจัดการกับความเจ็บปวดในใจ ซึ่งอาจช่วยทำให้คุณเข้าใจอาการของคนที่มีบาดแผลในชีวิตมากยิ่งขึ้น

1. แสดงออกโดยการหลีกหนี
คุณอาจรู้สึกว่าโลกใบนี้ไม่ปลอดภัยในบางครั้ง แต่สำหรับบางคนอาจเกิดความรู้สึกที่ท่วมท้น จนอยากหลบซ่อนจากสิ่งภายนอกที่ดูเหมือนไม่ปลอดภัยสำหรับพวกเค้า พวกเขาพยายามที่จะหลีกหนีจากภัยอันตรายที่พวกเขาไม่สามารถจัดการได้ ด้วยความคิดนี้ทำให้พวกเขามีพฤติกรรมหลีกหนี สาเหตุเหล่านี้อาจจะเกิดจาก การที่พวกเขาไม่ได้รับการปกป้อง หรือถูกทอดทิ้งในวัยเด็ก พวกเขาเรียนรู้ที่จะเมินเฉยหรือไม่แสดงออกเมื่อเผชิญกับอารมณ์กลัวและโกรธที่ปะทุขึ้นมา โดยที่ใช้วิธีการนี้เพื่อปกป้องตัวเองจากความเสี่ยง และความผิดหวัง

2. มองว่าตัวเองเป็นเหยื่อ
คนที่เคยถูกละเมิดในวัยเด็กจำนวนมาก มีความคิดว่า พวกเขาคู่ควรกับการถูกกระทำเช่นนั้น การที่พวกเขาคิดลบ และพูดจาในเชิงลบอยู่เสมอๆ ส่งผลต่อสมอง และการรับรู้โลกรอบๆ ตัวของพวกเขา ทำให้พวกเขาลืมไปว่า อันที่จริงแล้ว พวกเขามีทางเลือกและความสามารถที่จะนำพาชีวิตไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง สิ่งสำคัญที่พวกเขา โดยเฉพาะผู้ใหญ่ จะต้องตระหนักรู้ก็คือ การตัดสินใจ และ การกระทำของตัวเราเองเป็นตัวกำหนดชีวิตของเรา

3. ดื้อเงียบ (Passive-Aggressive)
ความโกรธเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน แต่ถ้าเด็กคนไหนที่รู้สึกโกรธบ่อยๆ ทำให้เขารู้สึกว่า อารมณ์โกรธนี้ไม่ดีกับพวกเขา พวกเขาก็จะเรียนรู้ในการกดความโกรธของตัวเองไว้ อย่างไรก็ตามอารมณ์โกรธที่ไม่ได้ถูกระบาย หรือ จัดการอย่างถูกต้อง ไม่ได้หายไปไหน แต่จะแสดงออกมาในรูปแบบอื่นๆ

4. ไม่เป็นตัวของตัวเอง
การที่เด็กไม่ได้รับความสนใจ หรือ ดูแลเอาใจใส่ วิธีหนึ่งเด็กจำนวนมากใช้ในการที่จะได้มาซึ่ง ความสนใจ และ การดูแลเอาใจใส่ที่พวกเขาต้องการก็คือ การพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองให้เป็นในรูปแบบที่พ่อแม่พึงพอใจ อย่างไรก็ตาม การทำเช่นนั้น ทำให้เด็กคนหนึ่งสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง เป็นเรื่องปกติที่เราจะพยายามปรับตัวเองเพื่อเข้าสังคม แต่ถ้าเราขาดความเป็นตัวของตัวเอง ชีวิตของเราก็จะเป็นชีวิตที่คนอื่นอยากให้เราเป็น ซึ่งไม่ใช่ชีวิตที่เราต้องการอย่างแท้จริง

รูปแบบการจัดการข้างต้น อาจทำให้พวกเขาสามารถผ่านความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นไปได้เพียงชั่วคราว อย่างไรก็ตาม การที่เราไม่กลับมาค้นหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อทำการแก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งฝั่งลึก และยากต่อการเยียวยารักษาในอนาคต วิธีการดังกล่าวยังมีผลกระทบต่อความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างสมดุล และ มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบตัวได้อย่างปกติ อันเนื่องจากพวกเขาพยายามที่ปกป้องตัวเองจากโลกแห่งความเป็นจริงที่น่ากลัวสำหรับพวกเขา

แม้ว่าการหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาและความเจ็บปวดอาจเป็นวิธีที่ดูปลอดภัย แต่การเยียวยาที่แท้จริงเริ่มต้นจากกลับมาสำรวจสาเหตุของปัญหา และ จัดการกับด้วยความใส่ใจ โชคดีก็คือ สำหรับคนที่มีบาดแผลในวัยเด็ก พวกเขาสามารถได้รับการช่วยเหลือ และบำบัด เพื่อให้พวกเขาสามารถหลับมามีชีวิตที่สมดุล และ สงบสุขอีกครั้งหนึ่ง

บาดแผลทางใจในวัยเด็กสามารถบำบัดได้อย่างไร?

การบรรเทาผลกระทบจากบาดแผลทางใจในวัยเด็กมีวิธีที่คล้ายคลึงกันทั้งในผู้ใหญ่ และเด็ก ซึ่งจะต้องเป็นวิธีที่ละเอียดอ่อน และ สร้างความไว้วางใจ สิ่งที่สำคัญก็คือ การสนับสนุนให้ผู้ได้รับผลกระทบพูดถึงความรู้สึกของพวกเขา และสร้างความเชื่อมั่นว่า พวกเขาจะปลอดภัย การสร้างกิจวัตรประจำวันให้กับพวกเขาก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้พวกเขารู้สึกมั่นคงได้ จากการมีสิ่งที่ต้องทำชัดเจน และแน่นนอนในทุกๆวัน

ผู้ที่ได้รับผลกระทบจะมีคำถาม ที่คุณจะต้องเตรียมตัวที่จะตอบอย่างตรงไปตรงมา ถ้าคุณสามารถที่จะตอบคำถามเหล่านั้นได้ คุณก็จะทำให้พวกเขารู้สึกว่าพวกเขาไม่ได้อยู่คนเดียว และมีคนที่พร้อมจะเผชิญหน้ากับความกลัวไปกับพวกเขา จิตบำบัดสามารถทำได้ในรูปแบบของ การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioural Therapy) ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยปรับการรับรู้ของเขาต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสมดุลขึ้น นอกจากนี้ยังจะช่วยให้เขาปรับพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้นอีกด้วย

จิตบำบัดแบบอีเอ็มดีอาร์ (Eye movement desensitization and reprocessing : EMDR) เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการบำบัดที่มีประสิทธิภาพที่จะช่วยลดแรงกระตุ้นในเชิงลบ ด้วยวิธีการให้คนไข้ได้ดูรูปภาพที่กระตุ้นพวกเขาต่อความเครียดและความกลัวที่มีอยู่ ในขณะเดียวกันก็ใช้เทคนิคเพื่อช่วยป้องกันการตอบสนองทางอารมณ์ที่จะเกิดขึ้นไปพร้อมๆ กัน ด้วยการทำแบบเดิมซ้ำๆ และด้วยเงื่อนไขดังกล่าว ผู้ป่วยก็จะลดผลกระทบที่ได้รับจากสิ่งเร้าที่เคยมีผลต่อเขาลง

อย่างไรก็ตาม วิธีที่จะเลือกมาใช้ในการบำบัด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปมีชีวิตที่ปกติสุขได้อีกครั้ง ก็ขึ้นอยู่กับอายุ และปัจจัยอื่นๆ ด้วย ในหลายๆ กรณี การใช้ยาในการบำบัดก็สามารถช่วยลดความกังวลและทำให้สภาพภายในของผู้ป่วยกลับมามีความสมดุลได้อีกครั้งหนึ่ง

การเยียวยาบาดแผลทางใจโดยมืออาชีพ เพื่อวันพรุ่งนี้ที่สดใสขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญที่ ศูนย์สุขภาพจิต เดอะดอว์น พร้อมให้คำแนะนำและความช่วยเหลือเพื่อการรักษาผู้ประสบปัญหาสุขภาพจิตโดยมีต้นเหตุมาจากบาดแผลทางจิตใจในวัยเด็ก

ศูนย์สุขภาพจิต เดอะดอว์น เชียงใหม่ มีวิธีการรักษาแบบองค์รวมสำหรับคนที่ต้องการความช่วยเหลือในการก้าวข้าม ผลกระทบระยะยาวจากบาดแผลในใจจากวัยเด็ก เราออกแบบแผนการบำบัดเพื่อคุณโดยเฉพาะ และให้การดูแลตลอด 24 ชั่วโมง มุ่งเน้นในการบำบัดด้วยเทคนิคทางจิตวิทยาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะช่วยให้คุณหรือคนที่คุณรักอยู่กับอดีตได้อย่างสมดุลและมีความหวังกับอนาคตที่สดใสอีกครั้ง

การบำบัดในขั้นต้นจะเริ่มต้นด้วยการสัมภาษณ์ วินิจฉัยเพื่อระบุหาสาเหตุของปัญหา และ อาการที่คุณกำลังประสบอยู่ นักจิตบำบัดของเรามีความชำนาญในการรักษากับผลกระทบอันเนื่องจากหลายภาวะของโรค ซึ่งอาจมีอาการทางจิตเวช 2 ประเภทหรือมากกว่านั้น ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน

ด้วยความซับซ้อนที่เกิดขึ้น ผู้เข้ารับการรักษาจึงต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ และการดูแลแบบ เข้าถึงรายบุคคลเพื่อที่จะสามารถเยียวยารักษาอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ติดต่อเราวันนี้ เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการในการที่ผู้เชี่ยวชาญของเราจะใช้ในการบำบัดเพื่อช่วยเหลือคุณ หรือ คนที่คุณรัก ในการก้ามข้ามอดีตที่เจ็บปวด เพื่อที่จะสามารถกลับมามีอนาคตที่สดใส มั่นคง และ มีความสุขในชีวิตมากยิ่งขึ้น

ประกาศ

ณ ปัจจุบัน ศูนย์ของเรา ได้ยุติการให้บริการบำบัดภาคภาษาไทย

เดอะดอว์นขอขอบคุณทุกความไว้วางใจมา ณ ที่นี้

ให้เราช่วยคุณเริ่มต้นการเดินทางสู่สุขภาวะที่ดีตั้งแต่วันนี้

โทร: 083 204 8384