เรียนรู้การช่วยเหลือคุณที่รักเมื่อเค้ากลับไปเสพติดอีกครั้งหลังเข้ารับการบำบัด

วิธีการรับมือเมื่อคนที่เรารักกลับไปเสพยาซ้ำ

การรับมือกับการกลับไปเสพยาอีกครั้ง หลังจากที่ผ่านการบำบัดรักษา เป็นความท้าทายทั้งต่อตัวผู้เสพยาและคนที่อยู่รอบข้าง อย่างไรก็ตาม แทนที่จะมองว่าการกลับไปเสพยาเป็นความล้มเหลว เราควรเรียนรู้ว่าทำไมการกลับไปเสพยาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเลิกยา เพื่อสร้างกำลังใจให้กับทั้งผู้เสพยาและตัวเราเองที่เป็นคนในครอบครัว

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้เสพยา คุณคงมีประสบการ์ณตรงกับการพัฒนาของการเสพติดของคนที่คุณรัก หลายๆคนอาจเคยพยายามเกลี้ยกล่อมให้คนที่คุณรักซึ่งเป็นผู้เสพยาเข้าทำการบำบัดรักษาและคอยอยู่เคียงข้างและให้กำลังใจพวกเขาตลอดเส้นทางการเลิกยา

ในระยะฟื้นฟูหลังผ่านกระบวนการบำบัด หากคนที่เรารักมีพฤติกรรมผิดปกติที่ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจไม่ว่าจะเป็น เขาไม่โทรหาคุณบ่อยเหมือนที่เคยทำ เขาดูท่าทางมีความลับหรือสัญญาณอะไรก็ตามที่ทำให้คุณรู้สึกว่า คนที่คุณรักกลับไปเสพยาอีกครั้ง นำมาซึ่งความกังวลใจและความเครียดเป็นอย่างมากให้กับตัวคุณรวมถึงคนในครอบครัว

แม้ว่าการกลับไปเสพยาอีกครั้งเป็นเรื่องที่ไม่น่ายินดีเท่าไรนัก แต่ก็ไม่ใช่จุดจบหรือความล้มเหลวของการเลิกยา การทำความเข้าใจถึงสาเหตุของการกลับไปเสพยาอีกครั้ง จะช่วยให้คุณผลักดันคนที่คุณรักกลับเข้าบำบัดและเลิกยาเสพติดได้อย่างยั่งยืน

การกลับไปเสพยาอีกครั้งคืออะไร

การที่จะบอกว่า คนคนหนึ่งกลับไปเสพยาอีกครั้งสามารถบอกได้จากอะไร ดูเหมือนเป็นเรื่องยากในการตัดสิน หากเพื่อนของคุณแค่ดื่มเบียร์แก้วเดียวหลังจากเลิกเหล้าได้มาสักระยะหนึ่ง เรียกว่ากลับไปติดเหล้าอีกหรือไม่ หรือหากน้องชายของคุณ ยอมรับว่าเขาได้ซื้อยาเสพติดมาเพื่อที่จะเสพอีกครั้ง แต่คิดได้จึงทิ้งยานั้นโดยไม่ได้เสพยา แบบนี้เรียกว่ากลับไปเสพยาอีกครั้งได้หรือไม่

การกลับไปเสพยาอีกครั้ง คือการกลับไปใช้สารเสพติดนั้นๆ อีกครั้งโดยผ่านการคิดและไตร่ตรองอย่างดีด้วยสติที่มี แต่การพลั้งเผลอไปเสพยาโดยขาดสติ หรือไม่ตั้งใจ เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์โดยไม่รู้ตัว หรือการใช้ยาบางประเภทซึ่งไปกระตุ้นความต้องการที่จะเสพยาเสพติด เป็นต้น

การกลับไปเสพยาอีกเป็นเรื่องปกติแค่ไหน?

การกลับไปเสพยาอีกครั้งถือว่าเป็นเรื่องปกติของกระบวนการเลิกยา ซึ่งจำนวนผู้เสพยา 40-60% เคยกลับไปเสพยาอีกครั้งอย่างน้อย 1 ครั้ง ซึ่งสาเหตุของการกลับไปเสพยาอีกครั้งมาจากการเปลี่ยนแปลงของวิถีประสาทของสมอง

ดังนั้นในกระบวนการเลิกยาหรือสิ่งเสพติด การสอนให้ผู้เสพมีความรู้ ความเข้าใจของสาเหตุในการเสพ ปัจจัยกระตุ้น และวิธีในการจัดการความคิดของตัวเอง เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงหรือจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม ทักษะในการจัดการกับปัจจัยกระตุ้นที่จะนำพวกเขากลับไปเสพยาอีกครั้ง ต้องอาศัยเวลาและการฝึกฝน จึงไม่แปลกที่การกลับไปเสพยาอีกครั้งจะเกิดขึ้นได้

อะไรคือปัจจัยกระตุ้นในการกลับไปใช้ยาอีกครั้ง

มีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อการกลับไปใช้ยาอีกครั้ง แต่ปัจจัยที่พบส่วนมากได้แก่

  • ความเครียด
  • ความรู้สึกด้านลบและระดับอารมณ์
  • การมีปฏิสัมพันธ์กับคน หรือสถานที่เก่าๆที่ข้องเกี่ยวกับการเสพยา
  • งานเลี้ยง และเทศกาล
  • การได้เห็นหรือสัมผัสกับสิ่งต่างๆ ที่กระตุ้นการเสพยา
  • ความเบื่อ

แม้ว่าปัจจัยที่มีผลกระตุ้นทำให้กลับไปเสพยาอีกนั้นจะสามารถพบเจอได้ในชีวิตประจำวันซึ่งยากที่ผู้เสพยาจะหลีกเลี่ยงได้ แต่การเรียนรู้ที่จะจัดการกับมันเป็นทักษะที่สำคัญที่ต้องได้รับการเรียนรู้และฝึกฝน สิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อช่วยเหลือผู้เสพยาเสพติดก็คือ การให้กำลังใจ หมั่นสอบถามสารทุกข์สุกดิบ เป็นผู้ฟังที่ดี รวมไปถึงการสนับสนุนให้ผู้เสพยามีกิจกรรมอื่นๆเพื่อที่จะเบี่ยงเบนความสนใจจากปัจจัยกระตุ้นหรือพัฒนาทักษะในการจัดการกับสิ่งเสพติดให้ดีขึ้น เป็นสิ่งที่เราควรทำ

สัญญาณที่กำลังบอกว่ามีการกลับไปใช้ยาอีก

ผู้เชี่ยวชาญแบ่งการกลับไปใช้ยาอีกครั้งเป็น 3 ระดับได้แก่ ระดับอารมณ์ ระดับจิตใจ และระดับพฤติกรรม การมีความรู้ความเข้าใจถึงสัญญาณของการกลับไปใช้ยาในระดับต่างๆ จะช่วยทำให้เราสามารถช่วยเหลือคนที่เรารักกลับเข้าไปทำการบำบัดได้ทันท่วงที

สัญญาณที่บอกว่ามีการกลับไปใช้ยาอีก ด้านความรู้สึก ได้แก่

  • การแยกตัวจากครอบครัวและเพื่อน
  • การปิดบังความรู้สึก
  • การผิดนัดกับนักจิตบำบัดที่เคยรักษา ไม่ติดต่อกับเพื่อนที่เคยร่วมบำบัด
  • ดูไม่สะอาดสะอ้าน
  • กินอาหารน้อยหรือมีปัญหาด้านการนอนหลับ

การพัฒนาระดับจิตใจ

ความต้องการกลับไปเสพยาอีกมีผลต่ออารมณ์ ส่งผลให้ความสามารถในการดูแลตัวเองลดลง หากไม่ได้รับการจัดการก็จะส่งผลต่อจิตใจ ผู้เสพติดจะเริ่มมีความคิดวนเวียนเกี่ยวกับการกลับไปใช้สารเสพติดหรือดื่มเหล้ามากขึ้น เขาจะเริ่มต่อสู้กับจิตใจของตัวเองระหว่าง การเลิกและการกลับไปเสพอีก บางครั้งพวกเขาอาจอะลุ่มอล่วยให้กับตัวเองโดยการต่อรองว่าจะดื่มแค่แก้วเดียวเพื่อเข้าสังคม

การพัฒนาระดับพฤติกรรม

การต่อรองกับตัวเองในลักษณะนี้เป็นเรื่องปกติของผู้ที่พยายามเลิกยา สิ่งที่สำคัญที่จะต้องตระหนักไว้ก็คือ สิ่งไหนคือความเสี่ยงที่มีอันตรายต่อการกลับไปเสพยาอีก หากสิ่งที่เกิดขึ้นในระดับจิตใจนี้ไม่ได้รับการจัดการก็จะนำไปสู่การลงมือกระทำนั่นคือ ระดับพฤติกรรม โดยการกลับไปเสพยาอีกนั่นเอง

อะไรคือสิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อคนที่เรารักกลับไปเสพยาอีก

การกลับไปเสพยา อาจนำไปสู่พฤติกรรมที่ทำร้ายจิตใจคนรอบตัว รวมถึงอารมณ์หลากหลายที่เกิดขึ้นกับตัวผู้เสพยา อย่างไรก็ตามเราก็ไม่ควรให้สิ่งที่เกิดขึ้น มาขัดขวางการสนับสนุนและให้กำลังใจคนที่เรารักในการเลิกยา

สิ่งที่ไม่ควรทำหากพบว่าคนที่เรารักกลับไปเสพยาอีก ได้แก่

  • อย่าสิ้นหวัง – การกลับไปเสพยาเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการเลิกยา และหลายๆคนสามารถทำสำเร็จมาแล้ว
  • อย่าว่ากล่าวหรือตำหนิ- การกล่าวโทษหรือทำให้เขารู้สึกผิด ไม่ช่วยให้เขากลับมาเลิกยาได้
  • อย่าปลอบใจ – ความรู้สึกผิดหรือความรู้สึกวิตกกังวลที่เกิดขึ้นกับตัวผู้เสพยาหลังจากกลับไปใช้ยาอีกครั้งอาจเกิดขึ้นได้ และความรู้สึกนี้เป็นความรู้สึกที่ทรงพลังในการที่จะทำให้เขากลับไปบำบัดรักษาอีกครั้ง ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องเข้าไปปลอบใจหรือทำให้เขารู้สึกดีขึ้น
  • อย่าบังคับ – เราควรให้เวลากับผู้เสพยาได้คิดและตัดสินใจที่จะเลือกวิธีในการบำบัดเพื่อเลิกยาเสพยาด้วยตัวของเขาเอง

เราจะช่วยให้คนที่กลับไปเสพยากลับมาบำบัดรักษาได้อย่างไร

เมื่อเรารู้ว่าคนที่เรารักกลับไปเสพยาอีก ความรู้สึกเป็นห่วงคนที่เรารักและต้องการที่จะพาเขาเข้าไปรับการบำบัดยาคงเป็นความรู้สึกปกติที่เกิดขึ้นกับหลายๆครอบครัว อย่างไรก็ตาม การเลิกสารเสพติดอย่างได้ผลและมีประสิทธิภาพจะต้องมาจากความต้องการของผู้เสพติดเอง และเขาจะต้องตัดสินใจที่จะเข้าทำการบำบัดด้วยตัวของเขาเอง

สิ่งที่เราทำได้คือ การรับฟัง และให้กำลังใจเมื่อผู้เสพติดพยายามทำสิ่งที่ดีต่อตนเอง เราสามารถที่จะสนับสนุนให้เขาดูแลตัวเอง เช่น ชักชวนเขาทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ที่จะมีผลดีต่อตัวของเขาไม่ว่าจะเป็น การออกกำลังกาย การออกไปเปิดหูเปิดตานอกบ้านหรือ สร้างไลฟ์สไตล์ที่ห่างไกลยาเสพติดให้กับเขา

อีกหนึ่งสิ่งที่เราสามารถทำได้นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นก็คือ การสนับสนุนให้เขาเข้าพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญหรือกลุ่มที่ให้การสนับสนุนในการเลิกยาเสพติด 

การเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ เดอะดอว์น

ศูนย์บำบัดยาเสพติด เดอะดอว์น เชียงใหม่ ช่วยเหลือผู้เข้ารับบำบัดไม่ให้กลับไปติดซ้ำ

ที่เดอะดอว์น ศูนย์บำบัดยาเสพติด เอกชน ผู้เข้ารับการบำบัดกับเราจะได้รับการดูแลอย่างดีจากผู้เชี่ยวชาญ ทีมงานนักจิตวิทยาของเราทุกคนจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งยังผ่านการฝึกอบรมเฉพาะทางอย่างมากมาย

หลักสูตรการบำบัดที่ออกแบบให้เหมาะสมกับผู้เข้ารับการบำบัดแต่ละราย จะช่วยให้ผู้ที่มารับการรักษามีเครื่องมือในการจัดการกับปัจจัยกระตุ้น และดำเนินชีวิตหลังเลิกยาเสพติดได้อย่างมีความสุข

ที่เดอะดอว์น เรามีมีทีมงานทางการแพทย์ที่สามารถทำการดีท็อกซ์ยาเสพติด และถอนพิษ สุรา เป็นผู้ให้การดูแลเพื่อรับประกันความปลอดภัยและความสบายใจของคุณตลอดกระบวนการบำบัด 

ศูนย์บำบัดของเรา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงนอกตัวเมืองเชียงใหม่ รายล้อมไปด้วยสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม บรรยากาศที่สงบจะช่วยทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย ห่างไกลจากปัจจัยกระตุ้นเดิมๆในชีวิตประจำวัน ช่วยให้คุณสามารถมีสมาธิในการบำบัดเพื่อเลิกสิ่งเสพติดได้อย่างยั่งยืน

ติดต่อแผนกแรกรับของเราวันนี้ เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนสู่การเข้ารับการบำบัดที่ศูนย์บำบัดของเรา

ประกาศ

ณ ปัจจุบัน ศูนย์ของเรา ได้ยุติการให้บริการบำบัดภาคภาษาไทย

เดอะดอว์นขอขอบคุณทุกความไว้วางใจมา ณ ที่นี้

ให้เราช่วยคุณเริ่มต้นการเดินทางสู่สุขภาวะที่ดีตั้งแต่วันนี้

โทร: 083 204 8384