มาลบภาพจำผิดๆเกี่ยวกับการเสพติดและทำความเข้าใจข้อเท็จจริงของการเสพติดเพื่อช่วยเหลือผู้เสพติดและคนที่เรารัก

6 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการเสพติด: ความจริงที่ต้องได้รับการเปิดเผย

การเสพติดส่งผลเสียต่อคนไทยนับล้าน แต่การที่ผู้คนไม่เข้าใจเกี่ยวกับการเสพติด ทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาการและพฤติกรรมของผู้เสพติด

ผลการศึกษาในปี 2017 โดย สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ เผยว่า มีคนจำนวนกว่า 29.5 ล้านคนทั่วโลก กำลังเผชิญกับความทุกข์จากผลกระทบที่มีต้นเหตุจากการเสพติด เนื่องด้วย คนในปัจจุบันยังตีตราผู้ที่มี พฤติกรรมและอาการการเสพติด ว่าเป็นคนไม่ดี และพวกเขายังมักไม่ได้รับการยอมรับจากคนในสังคม นั้นส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดในหลายๆ เรื่องเกี่ยวกับการเสพติด

คนส่วนมากมักมีภาพของคนที่ติดสิ่งเสพติด ว่าเป็นคนที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ อาจเป็นคนเร่ร่อน หรือคนยากจนที่ใช้สิ่งเสพติด ซึ่งภาพเหล่านี้มาจากการเสพสื่อที่นำเสนอภาพอคตินี้ให้กับคนในสังคม แต่ความเป็นจริงก็คือผู้ที่เสพติดส่วนมากใช้ชีวิตได้ปกติ ดูเหมือนคนปกติ เพียงแต่พวกเขากำลังต่อสู้กับสิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิตใจแต่มักไม่มีใครมองเห็น

การเสพติด เป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนที่จะต้องอาศัยการทำความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อที่จะช่วยเหลือผู้เสพติดในการบำบัดรักษาเพื่อกลับมามีชีวิตปกติสุขอีกครั้งได้ บทความนี้ได้รวบรวม ความเชื่อผิดๆหรืออคติที่พบได้บ่อย และข้อเท็จจริง มานำเสนอเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ “ภาวะเสพติด”

ความเชื่อที่ 1: การเสพติดเกิดจากการเลือกที่จะเสพสิ่งเสพติดเอง 

ข้อเท็จจริง: คนจำนวนมากมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ว่าการเสพติดมาจากการเลือกหรือตัดสินใจที่จะไปเสพสิ่งเสพติดของผู้เสพเอง แต่อันที่จริงแล้ว การเสพติดเป็นโรคเรื้อรังทางสมองชนิดหนึ่งคล้ายกับโรคมะเร็งซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าคนคนนั้นจะอยากเป็นโรคนี้หรือไม่ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่คนเหล่านั้นจะเลือกได้

จริงอยู่ว่าการเริ่มต้นนำสารเสพติดเข้าสู่ร่างกายเกิดจากการตัดสินใจของบุคคลนั้นเอง แต่หลังจากที่สารเสพติดเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีภายในสมอง ซึ่งกระตุ้นความอยากและไม่สามารถหยุดเสพได้ ทำให้ต้องพึ่งพาสารเสพติดเพื่อดำเนินชีวิตต่อไปได้ ดังนั้นการใช้สารเสพติดอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้เป็นสิ่งที่ผู้เสพติดสามารถเลือกได้แต่อย่างใด

บางคนอาจมีเรื่องของพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น พ่อ หรือ ปู่ มีภาวะเสพติด และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆมาส่งเสริมให้เกิดการเสพติด

ความเชื่อที่ 2 : การที่ไม่สามารถเลิกสิ่งเสพติดได้เป็นเพราะความอ่อนแอทางจิตใจ 

ข้อเท็จจริง : สารเสพติดส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองสั่งการให้ผู้เสพต้องพึ่งพาสารเสพติดไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นแม้ว่าพวกเขามีความต้องการที่จะเลิก พวกเขาก็ไม่สามารถที่จะเลิกได้ ซึ่งการล้มเลวในการเลิกสิ่งเสพติด ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความอ่อนแอทางจิตใจ

ความเชื่อที่ 3 : การเสพติดมีเพียงยาเสพติด และแอลกอฮอล์เท่านั้น

ข้อเท็จจริง : คนส่วนมากพบเห็นการเสพติดในรูปแบบของ ยาเสพติด และ แอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของรูปแบบการเสพติดเท่านั้น แต่คุณรู้หรือไม่ ว่ามีการเสพติดอีกหนึ่งรูปแบบ ที่เรียกว่า การเสพติดทางพฤติกรรม ซึ่งผู้เสพติดจะต้องพึ่งพาความรู้สึกของการทำกิจกรรมหรือพฤติกรรมนั้นๆ ไม่สามารถที่จะควบคุมตัวเองให้หยุดได้ เช่น การเสพติดการพนัน การติดเกมส์ การเสพติดเซ็กส์ หรือแม้แต่การกินที่มากเกินไป

นอกจากนี้ การพนัน ยังเป็นการเสพติดด้านพฤติกรรมที่พบเห็นได้เยอะในปัจจุบัน การพนันบอลออนไลน์ เป็นการพนันที่มีเม็ดเงินหมุนเวียนมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งคนส่วนมากเล่นเพื่อความบันเทิงหรือเชียร์ทีมโปรดเท่านั้น แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่เล่นการพนันจนกลายเป็นผู้เสพติดอยู่ในคนกลุ่มนี้เช่นกัน ดังนั้นการเสพติดทางพฤติกรรมก็มีผลกระทบที่รุนแรงไม่น้อยไปกว่าการเสพติดยาเสพติด หรือแอลกอฮอล์เลย 

ความเชื่อที่ 4 : เราสามารถแยกแยะผู้เสพติดได้อย่างง่ายดาย

ข้อเท็จจริง : แม้ว่าเราจะมีภาพของคนที่เสพติดในหัวอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น ภาพของคนเร่ร่อนที่ติดยา คนใช้แรงงานที่เมาเหล้าหรือติดยาเสพติด นักเลง เด็กมีปัญหาติดเที่ยว แต่ความจริงก็คือ การเสพติดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่เลือก รูปร่างหน้าตา เชื้อชาติ ฐานะ หน้าที่การงาน อายุ หรือ เพศ พวกเขาจะดูเป็นคนปกติธรรมดา อาจจะเป็น แม่ค้า นายหน้าค้าหุ้น หรือคนดังในวงการบันเทิงก็มีโอกาสเป็นผู้เสพติดได้

ความเชื่อที่ 5 : คนเราไม่สามารถติดยาที่แพทย์จ่าย

ข้อเท็จจริง : ถึงแม้ว่ายานั้นจะถูกจ่ายให้โดยแพทย์ แต่ก็มีความอันตรายไม่แพ้ยาที่ผิดกฎหมายเลย บ่อยครั้งก็ทำให้เราไม่ระวังการใช้ยาเนื่องจาก รู้สึกว่าแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้จ่ายให้ 

แม้ว่าแพทย์จะเป็นผู้สั่งยานั้นๆ ให้คนไข้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ยานั้นจะสามารถใช้ได้และปลอดภัยกับทุกคน ในปี 2015 สำนักงานดูแลการใช้สารเสพติดและการบริการด้านสุขภาพจิต (SAMHSA) ได้เปิดเผยข้อมูลว่า ชาวอเมริกันที่มีอายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไป จำนวนกว่า 18.9 ล้านคน มีปัญหาเสพติดและปัญหาสุขภาพจิตอันเนื่องมาจากการใช้ยาที่แพทย์เป็นผู้สั่งให้ และหลายคนหันมาเริ่มต้นใช้ยาที่ผิดกฎหมาย จากการใช้ยาตามใบสั่งแพทย์

ความเชื่อที่ 6 : ถ้าคุณเสพติดแล้ว คุณก็จะเสพติดตลอดไป

ข้อเท็จจริง : ข่าวดีก็คือ การเสพติด เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ ซึ่งการบำบัดรักษาสามารถทำได้ที่ศูนย์บำบัดยาเสพติดไม่ว่าจะเป็นแบบอยู่ประจำ หรือ แบบไป-กลับ การบำบัดภายในศูนย์จะใช้จิตบำบัดในการรักษา เช่น การพูดคุยกับนักจิตวิทยา ควบคู่ไปกับ การทำกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาวะ การออกกำลังกาย การทำสมาธิ หรือการทำศิลปะบำบัด

จริงอยู่ที่ผู้เสพสิ่งเสพติดเป็นระยะเวลานาน แม้ว่าเข้าทำการบำบัดรักษา ก็มีโอกาสที่จะกลับไปเสพติดอีก แต่อย่างไรก็ตามมีหลักฐานว่าคนจำนวนมากที่เข้ารับการบำบัดโดยวิธีรักษาแบบองค์รวมก็สามารถหายขาดได้จากภาวะเสพติด

เลิกสิ่งเสพติด ที่ศูนย์บำบัดยาเสพติดเอกชน เดอะดอว์น เชียงใหม่

เลิกยาเสพติด ที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด เดอะดอว์น เชียงใหม่ เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น

เดอะดอว์น เป็นศูนย์บำบัดยาเสพติดและแอลกอฮอล์ แบบอยู่ประจำ พร้อมทั้งมีหลักสูตรรักษาฟื้นฟูสุขภาพจิต สำหรับผู้มีปัญหาภาวะสุขภาพจิตร่วมด้วย ศูนย์ของเราตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำปิง เงียบสงบ ห่างไกลจากปัจจัยกระตุ้นหรือสิ่งแวดล้อมเดิมๆที่ทำให้คุณเกิดความอยากเสพ เรามีแผนการบำบัดรักษาภาวะเสพติดที่ทันสมัยและดูแลอย่างรอบด้าน ผู้เข้ารับบำบัดรักษากับเรา จะได้รับการวางแผนการรักษารายบุคคลโดยเฉพาะ พร้อมทั้งการให้คำแนะนำแก่ครอบครัวของผู้เข้ารับการบำบัดจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คุณแก้ปัญหาต้นตอของการเสพติดที่แท้จริงได้

ติดต่อแผนกแรกรับของเราวันนี้ เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนสู่การเข้ารับการบำบัดที่ศูนย์บำบัดของเรา

ประกาศ

ณ ปัจจุบัน ศูนย์ของเรา ได้ยุติการให้บริการบำบัดภาคภาษาไทย

เดอะดอว์นขอขอบคุณทุกความไว้วางใจมา ณ ที่นี้

ให้เราช่วยคุณเริ่มต้นการเดินทางสู่สุขภาวะที่ดีตั้งแต่วันนี้

โทร: 083 204 8384