เรียนรู้ 5 ประเภทของปัญหาการดื่มเหล้า เพื่อสำรวจตัวเราว่าติดเหล้าหรือไม่

ปัญหาการดื่มเหล้า 5 ประเภท…ดื่มแค่ไหนที่เรียกได้ว่า “ติดเหล้า”

คุณคิดมาตลอดว่าการดื่มของคุณไม่เป็นปัญหา เพราะคุณไม่ได้ดื่มแบบ “คนติดเหล้า” ที่จริงแล้ว คุณอาจไม่รู้ว่า การติดเหล้านั้นมีหลายรูปแบบ

หากคุณกำลังรู้สึกว่า การดื่มเหล้าของคุณไม่เป็นปัญหาใดๆ เพียงเพราะคุณไม่ได้ดื่มแบบเดียวกับคนติดเหล้าคุณก็อาจกำลังเข้าใจผิดอยู่ก็เป็นได้ เนื่องจากการติดเหล้านั้นสามารถแสดงออกได้หลายรูปแบบ ซึ่งมักจะไม่ตรงกับความคิดของคนทั่วไปที่มีต่ออาการของคนติดเหล้า

ในขณะที่คุณกำลังพยายามหาเหตุผลในการดื่มของคุณ ทั้งต่อตัวเองหรือผู้อื่น คุณอาจพบว่าตัวเองกำลังพูดทำนองนี้

ใช่แล้ว ฉันชอบดื่ม แต่ก็ไม่กระทบกับการทำงานของฉันนี่นา

ฉันก็ดื่มแค่สองสามแก้วตอนกลางคืนเพื่อผ่อนคลาย ไม่ได้ดื่มหัวราน้ำเหมือนพวกติดเหล้าสักหน่อย

ฉันรู้ว่าฉันดื่มหนัก แต่ก็แค่วันหยุดสุดสัปดาห์เท่านั้นนะ แล้วก็ไม่ได้ดื่มจนเมาพับเสียเมื่อไร

คนจำนวนมากที่มีปัญหาการดื่มเหล้า มักไม่ยอมรับความจริงเกี่ยวกับความหนักหนาสาหัสของสถานการณ์ตัวเอง บางคนอาจปฏิเสธว่า การดื่มเหล้าของตัวเองไม่ได้เป็นปัญหาใดๆ บางคนก็อาจยอมรับว่า ตัวเองควรลดปริมาณการดื่มลงบ้าง แต่ก็ยังยืนยันว่า ตัวเองไม่ได้เป็นคนขี้เหล้าแต่อย่างใด

ส่วนหนึ่งของการไม่ยอมรับความจริงนี้ มาจากความคิดผิดๆ ที่พบกันทั่วไป เกี่ยวกับลักษณะหรืออาการของการติดเหล้า แต่การศึกษาวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ชี้ว่า การติดเหล้านั้นมีรูปแบบที่แตกต่างกันถึง 5 ประเภท แสดงให้เห็นว่า อาการติดเหล้านั้นอาจแสดงออกมาในรูปแบบแตกต่างกัน ซึ่งอาจไม่เป็นที่สังเกตเห็นเลยก็เป็นได้ การทำความเข้าใจกับการแสดงออกของอาการติดเหล้าในรูปแบบที่แตกต่างกัน จึงเป็นย่างก้าวแรกที่สำคัญที่สุดในการประเมินว่า คุณหรือคนที่คุณรัก อาจกำลังมีปัญหากับการดื่มเหล้าหรือเปล่า

ประเภทที่ 1: การดื่มเหล้าเพื่อความสนุกสนานของคนวัยหนุ่มสาว

ในกลุ่มคนหนุ่มสาว (young adult subtype) มักเข้าใจผิดกันได้ง่ายมากว่า ว่าการดื่มเหล้าเป็นเพียงแค่ความสนุกสนานของวัยเยาว์แต่การดื่มประเภทนี้เป็นประเภทที่พบได้มากที่สุดในกลุ่มที่มีปัญหาการดื่มเหล้า หรือราว 32 เปอร์เซ็นต์ของการใช้แอลกอฮอล์ในทางที่ผิด

กลุ่มคนหนุ่มสาวจะเริ่มแสดงให้เห็นปัญหาการดื่มแบบบังคับตัวเองไม่ได้ ในช่วงต้นของวัยเลขสอง โดยมีแนวโน้มที่จะแสดงออกมาในรูปของการดื่มแบบหัวราน้ำในแต่ละคราวที่ดื่ม มากกว่าการดื่มเป็นประจำทุกวัน และโดยทั่วไปแล้ว นักดื่มในกลุ่มนี้มักรายงานถึงผลเสียจากการดื่มมากเกินไปของตัวเองแค่ 2-3 เรื่อง ได้แก่อาการเมาค้างหรืออาการของการขาดสุรากะทันหัน และเป็นกลุ่มที่ตระหนักได้น้อยที่สุดว่า ตัวเองมีปัญหาในการดื่ม

ประเภทที่ 2: การดื่มสุราแบบต่อต้านสังคมในกลุ่มหนุ่มสาว

เป็นการดื่มแบบผิดๆ อีกประเภทหนึ่งในกลุ่มคนหนุ่มสาว (young antisocial subtype) โดยกลุ่มดื่มแบบต่อต้านสังคมจะเริ่มดื่มในช่วงวัยรุ่นตอนกลาง และเมื่ออายุ 18 ก็จะเริ่มมีปัญหาในการดื่ม นักดื่มในกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะสูบบุหรี่และกัญชาด้วย และอาจรู้สึกว่าความเมามายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการผ่อนคลาย มากกว่าครึ่งของนักดื่มกลุ่มนี้มีบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (antisocial personality disorder) ร่วมกับการติดเหล้า และ/หรือมีครอบครัวที่มีประวัติติดเหล้ามาก่อน ลักษณะการดื่มประเภทนี้มีอยู่ราว 21 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่มีปัญหาติดเหล้า และราวหนึ่งในสามจะเข้ารับการรักษา

บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคมคืออะไร

โรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (antisocial personality disorder) เป็นภาวะทางจิตอย่างหนึ่งซึ่งทำให้คนๆ นั้นมีปัญหาในการแยกแยะความผิดถูก ซึ่งอาจแสดงออกมาในรูปแบบของความหุนหันพลันแล่น ความก้าวร้าว และพฤติกรรมรุนแรง รวมถึงการโกหก การบังคับผู้อื่น และการต่อต้าน ผู้ที่มีอาการผิดปกติแบบนี้ มักมีความรู้สึกผิดหรือเสียใจในการกระทำของตัวเองเพียงเล็กน้อย โรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคมมักจะเชื่อมโยงกับการใช้สารเสพติดต่างๆ เนื่องจากคนที่มีอาการผิดปกตินี้ มักแสวงหาวิธีต่างๆ ที่จะรับมือกับอาการของตัวเอง

ประเภทที่ 3: นักดื่มเหล้าศักยภาพสูง

นักดื่มประเภทนี้ (functional subtype)มักจะบอกปัดความวิตกใดๆ ก็ตามเกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มของตนเอง ด้วยคำพูดประมาณว่า การดื่มของตนเองไม่กระทบกับการทำงาน ชีวิตครอบครัว หรืองานอดิเรก แต่การที่คนกลุ่มนี้สามารถดื่มค็อกเทลติดๆ กัน 6 แก้วในตอนกลางคืน แล้วยังสามารถตื่นไปเข้าคลาสออกกำลังกายได้ตอนตีห้าครึ่ง ก็ไม่ได้เป็นการพิสูจน์แต่อย่างใดว่า พวกเขาไม่ได้ติดเหล้า นักดื่มประเภทนี้มักพบในกลุ่มวัยกลางคนที่มีการศึกษาดี ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและครอบครัว แต่ก็ยังคงดื่มเหล้าอย่างน้อยวันละ 5 แก้วหรือมากกว่านั้น แทบจะวันเว้นวัน นักดื่มประเภทนี้มักจะสามารถปิดปังหรือกลบเกลื่อนความทุกข์หรือความวิตกกังวลของตนเองเอาไว้ได้ ซึ่งทำให้มีการส่งสัญญาณผิดๆ ถึงความมั่นคงและความเป็นปกติของการดื่มของตัวเอง นักดื่มประเภทนี้มีอยู่ราว 19 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่มีปัญหาการดื่ม

ประเภทที่ 4: นักดื่มที่มีสมาชิกในครอบครัวติดสุรา

นักดื่มในกลุ่มที่มีสมาชิกในครอบครัวติดสุรา (intermediate familial subtype) โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นกลุ่มวัยกลางคน และราว 50 เปอร์เซ็นต์ จะมีญาติที่ติดสุราด้วยเช่นกัน ส่วนใหญ่มักเริ่มการดื่มในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย และเริ่มมีปัญหาการดื่มในวัยเลข 3 นักดื่มในกลุ่มนี้มักจะมีความผิดปกติทางจิตใจอย่างอื่นร่วมด้วยด้วย เช่น โรคซึมเศร้า หรือไบโพลาร์ ส่วนหนึ่งของอาการเสพติดเกิดจากการพยายามรับมือกับอาการผิดปกติทางจิตใจเหล่านี้ นักดื่มกลุ่มนี้มักจะสูบบุหรี่ด้วย และราว 20 เปอร์เซ็นต์ยังมีการใช้กัญชาหรือโคเคนร่วมด้วย กลุ่มนี้มีอยู่ราว 19 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มผู้ที่มีอาการติดสุรา

ประเภทที่ 5: กลุ่มที่ติดสุราเรื้อรังอย่างรุนแรง

ถึงแม้อาการติดสุราชนิดนี้ (chronic severe subtype)จะพบได้น้อยที่สุด นั่นคือราว 9 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่มีอาการติดสุราทั้งหมด แต่กลับเป็นชนิดที่คนทั่วไปมักเข้าใจกันว่า เป็นอาการบ่งชี้ของผู้ที่ติดสุรา นักดื่มกลุ่มนี้มักจะมีความเชื่อมโยงทางพันธุกรรมหรือทางครอบครัวกับโรคพิษสุราเรื้อรัง และมักจะเริ่มดื่มตั้งแต่อายุยังน้อย นักดื่มกลุ่มนี้ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในวัยกลางคนและเป็นผู้ชาย มักมีอาการผิดปกติทางจิตใจอย่างอื่นร่วมด้วย รวมทั้งการติดสารเสพติดอย่างอื่น การดื่มสุราของคนเหล่านี้จะสุดโต่ง จนทำให้ไม่สามารถทำงานทำการได้ หรือไม่สามารถรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัวไว้ได้ จนนำมาซึ่งการหย่าร้าง จากงานวิจัยในต่างประเทศพบว่า กลุ่มนักดื่มที่ติดสุราเรื้อรังอย่างรุนแรงเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มจะเข้ารับการรักษามากที่สุด โดยมีราวสองในสามที่เข้ารับการบำบัดสุรา

การติดสุราและผลกระทบในระยะยาว

ไม่ว่ามีการศึกษาชิ้นใหม่ๆ หลายชิ้นที่จำแนกประเภทการใช้สุราในทางที่ผิดเพิ่มขึ้น รวมถึงคนที่เสี่ยงกับอาการบาดเจ็บเนื่องจากสุราอย่างเช่น การจมน้ำ การขับรถขณะมึนเมา หรือการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ปลอดภัย หรือผู้ที่มีปัญหากับการลดการดื่มหรือผู้ที่อาจพบกับผลกระทบในเชิงลบที่ร้ายแรงจากการดื่ม แต่ก็พบว่า สำหรับคนกลุ่มนี้มันยากยิ่งที่จะเลิกเหล้า

ข้อคิดสำคัญจากการศึกษาทั้งหมดนี้ก็คือ การติดสุรามีอยู่หลายรูปแบบ และเกิดขึ้นในกลุ่มคนอายุน้อย ได้มากเท่ากับผู้ใหญ่วัยกลางคน แต่การสามารถซ่อนหรือกลบเกลื่อนปัญหาการดื่มของตัวเองทำให้คนที่ติดเหล้าไม่ตระหนักถึงปัญหา หรือปฏิเสธการเข้ารับการบำบัดเหล้า จึงทำให้พวกเขาเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบทางสุขภาพในระยะยาวจากการดื่มสุราในทางที่ผิด

ผลกระทบทางสุขภาพในระยะยาวที่เกิดจากการดื่มสุราในทางที่ผิด

  • โรคตับ
  • ตับอ่อนอักเสบ
  • มะเร็ง
  • สูญเสียความจำ
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • การเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจ

ผลกระทบทางสุขภาพเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ ที่ดื่มสุรามากกว่าคำแนะนำของหน่วยงานด้านสุขภาพ ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะสามารถทำงานได้ตามปกติ หรือไม่มีประวัติการใช้สุราในทางที่ผิดก็ตาม

สิ่งที่ต้องตระหนักอย่างยิ่งก็คือ การดื่มสุรามากจนเกินไป หรือบ่อยเกินไป ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณอย่างแน่นอน แต่หากคุณพยายามที่จะเลิกเหล้า และพบว่ามันยากกว่าที่คุณคาด หรือหากคุณพบว่า คุณกำลังพยายามหาข้อแก้ต่างให้กับการดื่มของคุณ นี่ก็อาจถึงเวลาที่คุณควรติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพูดคุยถึงพฤติกรรมการดื่มของคุณ และประเมินว่าคุณอาจมีอาการติดสุราประเภทใดประเภทหนึ่งหรือไม่

เลิกเหล้าได้ที่ เดอะดอว์น เชียงใหม่

ศูนย์บำบัดเหล้า เอกชน เดอะดอว์น เชียงใหม่ ช่วยคุณเลิกเหล้า สู่เส้นทางแห่งชีวิตใบใหม่

ศูนย์บำบัดเหล้า เอกชน เดอะดอวน์ เชียงใหม่ มีหลักสูตรการรักษาสำหรับผู้ที่มีปัญหาติดเหล้า และมีปัญหาทางสุขภาพจิตอื่นๆ ร่วมด้วย แต่ละองค์ประกอบของหลักสูตรการรักษาของเรา ตั้งแต่เทคนิคจิตบำบัดที่มีประสิทธิภาพไปจนถึงกิจกรรมการฟื้นฟูที่หลากหลายล้วนออกแบบมาเพื่อให้ได้ผลดีที่สุดสำหรับผู้เข้ารับการบำบัดทุกคน

ที่ เดอะดอว์น คุณจะได้พบกับทีมงานผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาคลินิก ที่จะช่วยวิเคราะห์และเจาะลึกไปยังต้นตอของปัญหาของการเสพติดของคุณ เรามีบริการถอนพิษสุราภายในศูนย์ซึ่งดูแลโดยทีมพยาบาลที่มากประสบการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง คุณจึงมั่นใจได้ว่า คุณสามารถเลิกเหล้าได้ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เพื่อที่คุณจะได้มีสมาธิกับการบำบัด 

หากคุณสนใจในการเข้ารับการบำบัดที่ศูนย์บำบัด เดอะดอว์น เชียงใหม่ ติดต่อแผนกแรกรับของเราวันนี้ เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนสู่การเข้ารับบำบัดที่ศูนย์ของเรา

ประกาศ

ณ ปัจจุบัน ศูนย์ของเรา ได้ยุติการให้บริการบำบัดภาคภาษาไทย

เดอะดอว์นขอขอบคุณทุกความไว้วางใจมา ณ ที่นี้

ให้เราช่วยคุณเริ่มต้นการเดินทางสู่สุขภาวะที่ดีตั้งแต่วันนี้

โทร: 083 204 8384