เรียนรู้วิธีการเลิกเหล้าอย่างได้ผลด้วยวิธีการ 6 ขั้นตอนในบทความนี้

เหล้าติดได้ แต่ต้องเลิกให้เป็น ด้วย 6 ขั้นตอนสู่การ “เลิกเหล้า” อย่างได้ผล

การเอาชนะการติดเหล้าเป็นกระบวนการที่ต้องก้าวไปทีละขั้นทีละตอน และต้องให้เวลากับแต่ละขั้นตอน การทำความเข้าใจว่าในแต่ละขั้นตอนของการเลิกเหล้านั้น อาจมีบางครั้งที่คุณหยุดอยู่กับที่หรือแม้แต่ถอยหลัง สามารถช่วยให้คุณมีความคาดหวังที่สมเหตุสมผลว่า คุณจะเอาชนะการพึ่งพิงสิ่งเสพติดอย่างไร และเอาชนะมันอย่างได้ผลและยั่งยืน

สำหรับผู้ที่มีปัญหาการพึ่งพิงแอลกอฮอล์ การก้าวสู่การพึ่งพิงสิ่งเสพติดใช้เวลาในการพัฒนาขึ้นมา กระบวนการเอาชนะการเสพติดและฟื้นฟูตัวเองให้มีชีวิตที่ปกติสุขอีกครั้งก็อาจยาวนานเช่นกัน โดยนักวิจัยได้ระบุถึง 6 ขั้นตอนหลักบนเส้นทางสู่การฟื้นฟูตัวเองจากการเสพติด เพื่อให้ผู้ที่กำลังก้าวออกจากเส้นทางการเสพติดได้เห็นว่า ตัวเองกำลังอยู่ตรงไหนในขั้นตอนเหล่านั้น ซึ่งได้แก่ ระยะเมินเฉย (pre-contemplation) ระยะลังเล (contemplation) ระยะเตรียมการ (preparation) ระยะลงมือ (action) ระยะคงที่ (maintenance) และระยะหลุดพ้น (transcendence)

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้ก็คือ ไม่ว่าจะเป็นตัวคุณเองที่มีปัญหาการพึ่งพิงสิ่งเสพติด หรือเป็นปัญหาของคนที่คุณรัก กระบวนการฟื้นฟูตัวเองจากการเสพติดนั้นไม่ใช่เส้นทางที่เป็นเส้นตรงเสมอไป เป็นเรื่องปกติมากที่คุณหรือคนที่คุณรักอาจจะติดอยู่กับขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง ถอยหลังกลับไปกลับมาระหว่างแต่ละขั้นตอน หรือแม้แต่กลับไปเสพติดซ้ำและเริ่มต้นกระบวนการนี้อีกครั้ง การจัดการกับความคาดหวังของตัวเองว่าจะฟื้นฟูตัวเองจากการเสพติดได้เมื่อไร จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก จงให้เวลากับตัวเองหรือคนที่คุณรักในการก้าวไปในแต่ละขั้นตอน การยอมรับกระบวนการนี้และสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ในแต่ละขั้นตอน รวมถึงการช่วยสนับสนุนให้กำลังใจ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การฟื้นฟูจากการเสพติดประสบผลสำเร็จและยั่งยืนมีดังนี้

1. ระยะเมินเฉย (Pre-Contemplation) — “ฉันดื่มแค่ตอนออกสังสังคมเท่านั้น”

ในช่วงระยะเมินเฉย ผู้ที่มีปัญหากับการดื่มแอลกอฮอล์จะไม่ยอมรับความจริงโดยสิ้นเชิง เกี่ยวกับความรุนแรงของปัญหาตัวเอง ถึงแม้จะเห็นสัญญาณของการติดเหล้าอย่างชัดเจนก็ตาม โดยอาการของการติดเหล้าที่พบได้ก็อย่างเช่น

  • อาการสั่นเทา
  • คลื่นไส้
  • อาการบวม
  • เหงื่อออกมาก
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลง
  • สีผิวเปลี่ยนไป

ผู้ที่อยู่ในระยะเมินเฉยจะป้องกันตัวเองเกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่ม และพยายามหาเหตุผลให้ตัวเอง เปรียบเทียบนิสัยการดื่มของตัวเองกับคนอื่นแบบเข้าข้างตัวเอง และลดความรุนแรงของปัญหาด้วยการบอกว่า ตัวเองนั้นดื่มเหล้ายามออกสังคมหรือสังสรรค์หลังเลิกงาน หรือโทษว่าเป็นเพราะความเครียด ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว การติดเหล้าในระยะนี้ไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของตนเอง แต่ยังอาจทำให้เกิดปัญหาทางการเงิน ปัญหากับคนรอบตัว ปัญหาเรื่องการทำงาน หรือแม้แต่ปัญหาทางกฎหมาย

แม้จะมีผลกระทบในแง่ลบเกี่ยวกับการดื่มเหล้า แต่โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่อยู่ในขั้นตอนนี้จะต่อต้านการรักษา ซึ่งถึงแม้อาจจะต้องเข้ารับการรักษาเนื่องมาจากปัญหาการดื่มเหล้า อย่างเช่นเกิดปัญหาทางกฎหมายจนถูกคำสั่งศาลให้เลิกเหล้า พวกเขาก็มักจะกลับมาดื่มซ้ำ อย่างไรก็ตาม เพื่อนและครอบครัวสามารถมีบทบาทสำคัญ ในการช่วยชี้นำให้ผู้ที่ติดเหล้าเริ่มคิดใคร่ครวญถึงปัญหาของตัวเองในช่วงนี้ เพื่อช่วยให้พวกเขายอมรับว่าตัวเองมีปัญหาการติดเหล้าแล้ว

2. ระยะลังเล (Contemplation) — “ฉันไม่รู้ว่าจะทำยังไงดีกับพฤติกรรมการดื่มของตัวเอง”

ระยะลังเลเกิดขึ้นเมื่อคนผู้นั้นรับรู้ว่าการดื่มของตนเองเริ่มเป็นปัญหา แต่ก็ยังไม่ยอมหาวิธีที่จะจัดการกับปัญหานี้ ขั้นตอนนี้เป็นช่วงที่มีความปั่นป่วนทางอารมณ์เป็นอย่างมาก เนื่องจากการไม่ยอมรับความจริงเริ่มพ่ายแพ้แก่ความละอาย ความรู้สึกผิด และความรู้สึกซึมเศร้า คนผู้นั้นอาจพยายามที่จะหยุดหรือลดการดื่มด้วยตัวเอง และโดยปกติจะเริ่มยอมรับข้อมูลเกี่ยวกับการเอาชนะการติดเหล้ามากขึ้น สิ่งที่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งคือ การได้พูดคุยกับเพื่อนหรือครอบครัวที่คอยสนับสนุนช่วยเหลือ ขณะที่คนๆ นั้นเริ่มใคร่ครวญถึงการเสพติดของตัวเองและสิ่งที่ควรต้องทำ

3. ระยะเตรียมการ (Preparation) — “ฉันต้องการความช่วยเหลือ”

เมื่อคนๆ นั้นเริ่มยอมรับถึงปัญหาการดื่มของตนเองและเริ่มคิดที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง พวกเขาจะเข้าสู่ขั้นตอนของระยะเตรียมการ ซึ่งพวกเขาอาจยังดื่มอยู่ แต่เริ่มมีพัฒนาการที่ดีขึ้นที่จะลงมือทำ พวกเขาจะเริ่มบอกเพื่อนและครอบครัวถึงความตั้งใจของตนเองที่จะรับการรักษา

แต่สิ่งที่เพื่อนและครอบครัวต้องระวังก็คือ อย่าให้ความตื่นเต้นที่ได้เห็นพัฒนาการที่ดีนี้ ไปกระตุ้นที่จะเร่งรัดคนๆ นั้นให้เข้าสู่การรักษา ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่เสพติดย้อนกลับไปสู่ระยะลังเลได้ สิ่งสำคัญที่สุดในช่วงเวลานี้ก็คือ การใช้เวลาไปกับการวางแผนการรักษา และพิจารณาให้ดีๆ ว่าวิธีการฟื้นฟูการเสพติดแบบไหนที่จะเหมาะที่สุด ให้ตัวเลือกที่ดีที่สุดในการรักษาและการตั้งเป้าหมายแก่ผู้ที่เสพติด การก้าวผ่านขั้นตอนนี้ไปได้จะทำให้แน่ใจว่าได้ พวกเขาพร้อมอย่างเต็มที่จะที่เข้าสู่เส้นทางของการรักษา และเตรียมพร้อมสำหรับการเลิกเหล้าแบบยั่งยืน

4. ระยะลงมือทำ (Action) — “นี่อาจทำได้ยากมาก แต่ฉันก็เริ่มรู้สึกดีขึ้น”

“ระยะลงมือทำ” คือช่วงที่คนๆ นั้นเริ่มหยุดดื่มและทุ่มเททั้งกายและใจสู่การบำบัดอย่างเต็มที่ สำหรับผู้ที่ติดเหล้า นี่เป็นช่วงเวลาที่ต้องผ่านกระบวนการถอนพิษสุรา (alcohol detox) ซึ่งอาจเกิดผลกระทบที่รุนแรงต่อร่างกายได้หลายอย่าง ขั้นตอนนี้จึงควรอยู่ภายใต้การดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการถอนพิษสุราและบำบัดเหล้า เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่ติดเหล้าจะผ่านช่วงการถอนพิษสุราไปได้อย่างปลอดภัย

นอกจากอาการทางร่างกายแล้ว ในช่วงของการเลิกเหล้านี้ บางคนอาจรู้สึกสิ้นหวัง และเริ่มเข้าสู่ภาวะซึมเศร้า เนื่องมาจากปราศจากแอลกอฮอล์ที่เคยใช้เป็นกลไกการรับมือกับอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ อย่างไรก็ตาม ในการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่ติดเหล้าจะได้เรียนรู้วิธีการใหม่ๆ ที่ดีต่อตัวเองในการรับมือกับความเครียด ความโกรธ และความเศร้า ซึ่งจะช่วยจัดการกับอารมณ์ที่ต้องการใช้เหล้าเพื่อเป็นเครื่องมือในการรับมือ และเริ่มการสร้างนิยามใหม่ให้แก่ชีวิตที่ปราศจากแอลกอฮอล์

5. ระยะคงที่ (Maintenance) — “การฝึกฝนทำให้เชี่ยวชาญ”

“ระยะคงที” เป็นช่วงเวลาที่คนๆ นั้นจะเริ่มพัฒนาพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพในชีวิตประจำวันขึ้นมาอย่างจริงจัง เป็นช่วงของการฝึกฝนวิธีการรับมือใหม่ๆ ที่ได้เรียนรู้มาในระยะของการลงมือทำ และเริ่มลงตัวการใช้ชีวิตที่ปราศจากอาการมึนเมา ระยะนี้อาจยังมีความต้องการที่จะดื่มอยู่บ้าง แต่โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่อยู่ในขั้นตอนนี้จะสามารถจัดการกับความอยากนี้ได้

การพัฒนาสุขภาวะและสร้างเสริมพฤติกรรมใหม่ที่ดีต่อตัวเองเข้ามาในชีวิต อย่างเช่น การกินอาหารที่ดี และการออกกำลังกาย จะช่วยร่างกายในการฟื้นฟูจากที่เคยต้องพึ่งพิงการดื่มเหล้า ทำให้คนๆ นั้นอาจรู้สึกดีเป็นอย่างมากในช่วงระยะนี้ แต่ก็ควรเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับอารมณ์ที่ดิ่งลงในบางครั้ง การกลับไปดื่มเหล้าอีกครั้งอาจเกิดขึ้นได้ในการขั้นตอนนี้ แต่นี่ก็ไม่ได้หมายถึงความล้มเหลวของการเลิกเหล้า คุณเพียงแค่ต้องการการฝึกฝนต่อไปและปลูกฝังพฤติกรรมและกลไกการรับมือใหม่ให้แน่นยิ่งขึ้น

6. ระยะหลุดพ้น (Transcendence) — “ฉันทำได้”

ขั้นตอนสุดท้ายในเส้นทางของการฟื้นฟูตัวเองจากการเสพติดก็คือ “ระยะหลุดพ้น” เมื่อความอยากที่จะดื่มได้หายไปแล้ว และคุณได้สร้างเสริมพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเรื่องใหม่ ตอนนี้ได้ฝังรากลึกและกลายเป็นกิจวัตรไปแล้ว

การเลิกเหล้าและฟื้นฟูตัวเองอย่างยั่งยืน ที่เดอะดอว์น เชียงใหม่

ศูนย์บำบัดเหล้า เอกชน เดอะดอว์น เชียงใหม่ มีหลักสูตรบำบัดผู้ติดสุราให้สามารถจัดการและก้าวข้ามผ่านการพึ่งพาสิ่งเสพติดและมีชีวิตที่สดใสได้อีกครั้ง

ศูนย์บำบัดเหล้าเอกชน เดอะดอว์น มีทีมงานมืออาชีพที่คอยช่วยเหลือในการเอาชนะการติดเหล้า เป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยคุณหรือคนที่คุณรักให้ก้าวผ่านแต่ละขั้นตอนไปสู่การเลิกเหล้าอย่างได้ผลและยั่งยืน ศูนย์บำบัดคนติดสุราเอกชน เดอะดอว์น เชียงใหม่ มีหลักสูตรการบำบัดผู้ติดสุราที่ออกแบบมาเพื่อการฟื้นฟูที่ยั่งยืน ไม่ว่าคุณจะอยู่ในขั้นตอนใดก็ตามของการเลิกเหล้า เราจะให้เครื่องมือในการรับมือที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการรับมือกับความท้าทายของสิ่งกระตุ้นและการดับความปรารถนาที่จะดื่มเหล้าอีก พร้อมความช่วยเหลือทางการแพทย์ตลอด 24 ชั่วโมงและการดูแลจากทีมงานมืออาชีพ ที่จะทำให้การเลิกเหล้าของคุณเป็นไปอย่างปลอดภัยที่สุด

เดอะดอว์น ตั้งอยู่ริมแม่น้ำในจังหวัดเชียงใหม่อันสงบเงียบ ห่างไกลจากสิ่งเร้าและความเครียดของชีวิตประจำวัน ทีมงานของเดอะดอว์นมีความเชี่ยวชาญในการรักษาที่ผสมผสานแนวทางการรักษาแบบตะวันตกที่มีประสิทธิภาพเช่น การบำบัดความคิดและพฤติกรรม การบำบัดแบบเสริมสร้างแรงจูงใจ ควบคู่กับการดูแลสุขภาวะแบบองค์รวม ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลดี เพื่อทำให้คุณกลับออกไปด้วยความรู้สึกผ่อนคลาย ปลอดโปร่ง และพร้อมที่จะรับมือกับปัจจัยกระตุ้น โดยไม่หันกลับไปพึ่งพาแอลกอฮอล์อีก

หากคุณสนใจเข้ารับการบำบัดแบบอยู่ประจำ ที่ศูนย์บำบัด เดอะดอว์น เชียงใหม่ โทรหาเราวันนี้เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการเข้ารับบำบัดและเรียนรู้ว่า เราจะช่วยเหลือคุณได้อย่างไรบ้างบนเส้นทางการเลิกเหล้าอย่างยั่งยืน

ประกาศ

ณ ปัจจุบัน ศูนย์ของเรา ได้ยุติการให้บริการบำบัดภาคภาษาไทย

เดอะดอว์นขอขอบคุณทุกความไว้วางใจมา ณ ที่นี้

ให้เราช่วยคุณเริ่มต้นการเดินทางสู่สุขภาวะที่ดีตั้งแต่วันนี้

โทร: 083 204 8384